พอดีมีบทความหนึ่งที่เขียนโดย Jeff Markwart และ John Tucker นั่นก็คือบทความ ALTEC “Voice of The Theater” Speakers for Hi-Fi ในวารสาร Sound Practice ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับลำโพงฮอร์นได้อย่างออกอรรถรสเลยขอนำมาเล่าให้กับผู้อ่านดังนี้ครับ
ฟังลำโพงมาหลากรุ่นหลายยี่ห้อแล้วยังไม่เข้าหู ไม่ลองเล่นระบบลำโพงฮอร์นดูล่ะ… คำแนะนำที่อาจจะฟังดูแปลกๆไปสักหน่อย หลังจากทดลองฟังลำโพงคลาสสิค Altec Lansing A7-500W-1 Magnificents สำหรับรุ่น Magnificent เป็นลำโพง Altec ลงตู้แบบเฟอร์นิเจอร์ ย่อส่วนจาก A7 “Voice of The Theater” ใช้ฮอร์น 500Hz
อ่านเพิ่มเติม มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 2 →
ช่วงเวลาที่ได้ศึกษาการออกแบบลำโพงสำหรับฟังเพลงในบ้านหลากแบบหลายรูป ทั้งในกระแสและนอกกระแสจนพบว่ามีลำโพงแบบหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งคุณอาจจะเดาออกจากชื่อของบทความ ใช่!แล้วลำโพงฮอร์น!!! คุณอาจจะนึกขำๆในใจว่า หมอนี่พูดถึงอะไรกันเนี่ย ทั้งเก่าล้าสมัยเสียงก๊องๆแก๊งๆ และเสียงแผดๆเพี้ยนๆ ใช่ไหม?
อ่านเพิ่มเติม มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 1 →
เครื่องเสียงวินเทจที่นิยมในกลุ่มนักเล่นบ้านเรามาจากหลากหลายที่ มีทั้งอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ ฯลฯ สิ่งที่ตามมาคือระบบไฟของเครื่องวินเทจจะมีความแตกต่างกันออกไป ถ้าเป็นเครื่องจากอังกฤษ เยอรมัน ฮอลแลนด์ หรือเครื่องที่มาจากยุโรปส่วนใหญ่จะเป็นแรงดันไฟ 220-240 VAC 50Hz โดยส่วนมากสามารถเลือกแรงดันขาเข้าได้ แต่ถ้าเป็นเครื่องฝั่งอเมริกา หรือญี่ปุ่นจะใช้ระบบไฟต่างไปจากบ้านเราคือจะเป็นระบบไฟ 100-120 VAC 60Hz นอกจากแรงดันจะต่างกันแล้ว ความถี่ยังต่างกันอีกด้วยครับ ปรีแอมป์หรือเพาเวอร์แอมป์ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ หาหม้อแปลง Step Down เพื่อลดแรงดันลงมาให้เหมาะสมก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่พวกเครื่องวินเทจที่ใช้มอเตอร์ในการหมุน และใช้ฐานความถี่ไฟบ้านในการกำหนดการรักษารอบการหมุนของมอเตอร์อย่างเช่น เทิร์นเทเบิล , เครื่องเล่นเทปรีล เป็นต้น ซึ่งต้องมาหาวิธีการทำให้สามารถทำงานได้รอบถี่ถูกต้องกันหลายวิธี เช่น กลึงพูลเลย์ใหม่ หรือสร้างไฟ 110VAC 60Hz ขึ้นมาใหม่ เป็นต้น ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะหลักการเลือกใช้หม้อแปลง Step Down ให้เหมาะสมกับเครื่องเสียงวินเทจอย่างเดียวครับ
อ่านเพิ่มเติม การเลือก Step Down สำหรับเครื่องวินเทจ →
ช่วงนี้กำลังเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำเทิร์นเทเบิลที่เอาชิ้นส่วนของเครื่องเล่นแผ่นเสียงยี่ห้อ “Lenco” มาทำลงแท่นใหม่ โดยใช้ชุดแต่ง PTP 5 Kit เจ้าของแนวคิดคือ Peter Reinders เป็นนักเล่นที่ขลุกอยู่กับแผ่นไวนีลตั้งแต่จำความได้ เริ่มเล่นเทิร์นฯตัวแรกก็คือ “Lenco” ตัวเขาเองเรียนจบมาทางนักออกแบบอุตสาหกรรม ซึ่งผ่านงานออกแบบผลิตภัณฑ์มาทั้งชีวิต จนกระทั่งในปี 2005 ก็ได้มีโอกาสเริ่มต้นงานสร้างเทิร์นเทเบิลที่มีพื้นฐานมาจาก “Lenco” โดยมีแนวคิดที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพมากขึ้น จนเป็นที่มาของ PTP หรือ Peter Top Plate เวอร์ชันแรก ถือกำเนิดขึ้นในกลุ่มนักเล่นที่ชื่นชอบ “Lenco” ในฟอรัม lencoheaven.net พัฒนาต่อมาอีก 6 เวอร์ชัน แล้วทำไม??? ต้องเป็น “Lenco” และต้องเป็น Heavy Platter เท่านั้น!!!
อ่านเพิ่มเติม Lenco Heavy Platter…Why? →
แอมป์หลอดแบบวินเทจได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก และเล่นเป็นวงกว้างขึ้น เนื่องจากให้เสียงที่อบอุ่นน่าฟังกว่าแอมป์หลอดรุ่นใหม่ๆ และมีเสน่ห์ในความเป็นวินเทจอีกด้วย หากกล่าวถึงแอมป์หลอดวินเทจหนึ่งในแอมป์หลอดคลาสสิคที่เรานึกออกเป็นตัวแรกๆก็มักจะมี Dynaco ST-70 หลุดออกมาอยู่เสมอ เพาเวอร์แอมป์หลอด Dynaco ST-70 เป็นแอมป์คลาสสิคที่น่าจะมีมากที่สุดในบรรดาแอมป์หลอดไฮไฟที่สร้างขึ้นในโลกนี้ คาดว่ามีแอมป์ ST-70 มากกว่า 350,000 เครื่องที่ยังคงอยู่ ทำให้สามารถหาแอมป์ ST-70 ได้ไม่ยากนัก ซึ่งในจำนวนเครืองทั้งหมดนี้มีรุ่นที่เรียกว่า Factory Wired อยู่เพียง 5% เท่านั้น!! ในจำนวนที่ไม่มากนักของ ST-70 Factory Wire ก็มีการสมอ้างว่าเป็น Factory Wire อยู่เนืองๆ เพราะจะได้เรียกค่าตัวได้มากขึ้น หากจะลองหา ST-70 Factory Wire สักเครื่องก็มีวิธีการแยกแยะว่า ST-70 ตัวไหนเป็น Kits หรือ Factory Wired ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม Dynaco ST-70 ทำไมต้อง Factory Wire? →
“Western Electric” ชื่อที่มีมนต์ขลังทุกครั้งที่นึกถึงเสมอสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ เพราะไม่ว่าอะไรก็ตามที่พะยี่ห้อนี้ มันต้องแพงไปซะทุกชิ้นสิท่า ไม่ว่าจะเป็น หลอดสุญญากาศ, หม้อแปลงอินพุต เอาต์พุต อินเตอร์สเตจ หม้อแปลงไฟ โช๊ค, อุปกรณ์พาสซีฟว์พวกตัวต้านทานหน้าตาแปลกๆ ตัวเก็บประจุตัวเขื่องๆ หรือแม้กระทั่งเศษสายไฟ มูลค่าที่เกิดขึ้นจากความเป็น “Western Electric” นี่เอง ยิ่งเป็นเครื่องเสียงวินเทจเพาเวอร์แอมป์ ลำโพง ด้วยละก็แทบไม่ต้องคิดเลยว่ามูลค่าจะไปเป็นเท่าไหร่ครับ
อ่านเพิ่มเติม เสน่ห์เสียง Western Electric →
เรื่องนำทาง
Vintage Audio Blog by AnalogLism