คลังเก็บหมวดหมู่: Vintage HiFi

The Best of The Best … EMT 927st

มีคนเปรียบว่า EMT 930st คือ “โรส-รอยส์ของวินเทจเทิร์นเทเบิล” ซึ่งผมเองก็มีโอกาสได้เล่น EMT 930st หลายเครื่องหลายเวอร์ชัน ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเทิร์นเทเบิลที่ยอดเยี่ยมมากๆ ยากจะหาวินเทจเทิร์นเทเบิลตัวใดๆมาเทียบได้ โดยมากจะมากับปรีโฟโน EMT 155st ซึ่งนักเล่นไม่ค่อยนิยมใช้กันสักเท่าไหร่ มีคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่าปรีโฟโนต้องรุ่น 139st ถึงจะดีที่สุด จนกระทั่งได้มีโอกาสสัมผัสเทิร์นเทเบิลรุ่นใหญ่ของค่ายนี้นั่นก็คือ EMT 927st บอกได้คำเดียวว่า EMT 930st ที่ว่าเด็ดแล้ว 927st ชุดนี้ผมว่ามันคือ “The Best of The Best” หรือโครตเด็ดครับ

อ่านเพิ่มเติม The Best of The Best … EMT 927st

นัดล้างตาฟังปรีโฟโน EMT 139 stb

17 ก.ย 2560 มีนัดล้างตาฟังปรีโฟโน EMT 139 stb เนื่องจากครั้งก่อนปรับ EQ ผิด!! เลยต้องนัดกันมาฟังใหม่อีกรอบ ครั้งนี้นอกจากจะมีปรีโฟโน EMT 139 stb ที่จัดหลอด B739 B759 Genalex Goldlion อย่างละคู่เพื่อเปลี่ยนกับ ECC83 Telefunken หลอด Genalex Goldlion เป็นหลอดที่หาโอกาสฟังยากมาก เนื่องจากหายากสุดๆแถมยังแพงสุดๆอีกด้วย ยิ่งเซ็ตมาลงปรีโฟโน EMT 139 stb ออริจินัลที่หายากมากอีกหนึ่ง เรียกว่าเป็นปรีโฟโนที่ไม่อาจหาฟังที่ไหนได้ง่ายๆครับ

อ่านเพิ่มเติม นัดล้างตาฟังปรีโฟโน EMT 139 stb

JBL Aquarius IV

JBL S109 Aquarius IV ลำโพงสองทางใช้ Fullrange LE8T-2 ติดตั้งแบบหงายไดร์เวอร์ยิงเสียงสะท้อนผ่านตัวกระจายเสียงออกช่องว่างขนาด 1″ ตู้เบสส์เป็น Double Bass Reflect ทรงสูงสร้างเสียงเบสส์ลงได้ลึกจากไดร์วเวอร์ขนาดเพียงแปดนิ้ว ด้านหลังมีทวีตเตอร์ LE20-1 ยิงเสียงแหลมเข้าหาตัวกระจายเสียงเป็นบรรยากาศด้านหลังตู้

อ่านเพิ่มเติม JBL Aquarius IV

EMT 139 stb Party


ช่วงเย็น 7 ก.ย 2560  ผมหอบหิ้วตะกร้าใส่ปรีโฟโน EMT 139 stb ที่นักเลงวินเทจหลายท่านหมายปอง เป็นปรีโฟโนที่เรียกกันว่า “จอกศักดิ์สิทธิ์” นอกจากจะมีราคาค่าตัวสูงแล้วยังหาตัวออริจินัลยากมากๆ พร้อมอุปกรณ์ช่างหลายชิ้นคาดว่าได้ใช้แน่ เนื่องจากปรีโฟโนตัวนี้ยังไม่ได้ทดสอบการใช้งานก่อนนำมาให้ลองฟังกันที่สำนัก Fineart ปรีโฟโนตัวนี้ถูกแยกส่งแอร์เมล์จากตัวเทิร์นฯที่ถูกแพ็คส่งมาทางเรือ สมาชิกกลุ่มพอทราบว่า EMT 139 stb เลยอยากฟังสบโอกาสที่เจ้าสำนักชักชวนมาลองฟังกันที่ออฟฟิต ซึ่งมี EMT 139a Mono พร้อมภาคจ่ายไฟที่ผมฝากให้่เจ้าสำนักลองฟังอยู่พักหนึ่ง ดังนั้นจึงคิดว่ายังไงก็ทำให้มีเสียงได้แน่ ต่อให้เอาใส่ EMT 930st แล้วใช้ไม่ได้ ก็ยังมีภาคจ่ายไฟแยกให้ต่อใช้งาน

อ่านเพิ่มเติม EMT 139 stb Party

Best Matching for JBL Hartsfield

เซ็ตอัพ JBL Hartsfield คู่นี้ก็เป็นคู่ที่สามแล้วใช้ไม้อัดบางนาสต๊อกเก่าประกอบขึ้นเป็นตู้ตามแปลน ใช้คอมเพรสชันไดร์เวอร์ Jim Lansing 375 สีเทา ปากฮอร์น H5039 เลนส์สีทอง L5090  ครอสส์โอเวอร์ N400 ถ้าเทียบวงจรดูจะพบว่าเหมือนกับ N500H เลย และวูฟเฟอร์ Westrex T510-A by JBL 150-4C เสริมปลายเสียงแหลมด้วย JBL 075 และครอสส์ N7000 ในตู้ที่ทำใหม่ให้เหมือนกับ JBL C41

อ่านเพิ่มเติม Best Matching for JBL Hartsfield

Western Electric vs Japanese Vintage Hifi Style

11/06/2560 สมาชิกกลุ่มไปเยี่ยมห้องฟังคุณ Nott Tosapol ห้องแรกวางลำโพงไว้สองชุดคือ Western Electric 16A ใช้ไดร์เวอร์ฟีลด์คอลย์ WE 555 ไม่เสริมตู้เบสส์ หรือทวีตเตอร์ใดๆเลยใช้สำหรับการฟังโมโน ขับด้วยเพาเวอร์แอมป์ 101D P&C

อ่านเพิ่มเติม Western Electric vs Japanese Vintage Hifi Style

วินเทจมอนิเตอร์สารพัดนึก…RCA LC-1

ถ้ามีคนถามผมว่าลำโพงวินเทจยี่ห้อนี้รุ่นนี้เสียงดีมั้ย? ผมจะถามกลับทุกครั้งว่าใช้ฟังเพลงแบบไหน? คำตอบส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพลงแจ๊ส และเพลงร้อง ผมก็จะมีคำถามที่สองตามไปอีกว่าเป็นแจ๊สยุคไหน? เพราะลำโพงวินเทจจะให้เสียงออกมาสมบูรณ์แบบก็ต้องฟังเพลงในยุคของมัน อย่าง JBL Hartsfield ก็ต้องเป็นแจ๊สยุคเก่าเนื่องจากเบสส์ของลำโพง Hartsfield ลงได้ไม่ลึกเป็นลูกเหมือนกับลำโพง JBL รุ่นหลัง (แต่ถ้าจัด System Matching ลงตัวได้ Hartsfield จะสำแดงเดชได้สุดยอดครับ) หรืออย่าง JBL Monitor รุ่น 43xx พวกนี้ก็ไม่เหมาะกับแจ๊สยุคเก่าเนื่องจากให้เสียงกลางไม่ใหญ่ดิบแผดเหมือนลำโพง JBL รุ่นแรกๆทำให้อรรถรสการฟังเครื่องเป่าไม่สนุกเท่า เคยถามตัวเองเหมือนกันว่าแล้วมันมีมั้ยลำโพงวินเทจที่ฟังเพลงได้หลายยุคหลายสมัย???

อ่านเพิ่มเติม วินเทจมอนิเตอร์สารพัดนึก…RCA LC-1

เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 2 เพาเวอร์แอมป์

มาต่อกันกับเครื่องเสียงวินเทจที่เป็นเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งตัวเลือกมีเยอะมากหลายตัวเรียกได้ว่าหายไปจากตลาดประมูลต่างประเทศเกลี้ยง แต่ถ้าหาได้ก็เป็นเพาเวอร์แอมป์ที่น่าเล่น แม้จะไม่หวือหวาเหมือนกับตัวยอดนิยม แต่คุณค่าไม่ได้ลดลงตามกาลเวลาครับ เพาเวอร์แอมป์วินเทจที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ไม่ได้เรียงลำดับตามความนิยม มูลค่า หรือคุณภาพเสียง แต่กล่าวถึงตามลำดับที่นึกออก และยังคงมีวนเวียนในตลาดเครื่องเสียงวินเทจอยู่ครับ

อ่านเพิ่มเติม เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 2 เพาเวอร์แอมป์

เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 1 ปรีแอมป์

ข้อแตกต่างที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของเครื่องเสียงใหม่กับเครื่องเสียงวินเทจนั่นก็คือ มูลค่าของตัวเครื่องมีการแปรผันกับกาลเวลาแตกต่างกัน เครื่องเสียงใหม่มูลค่าของเครื่องจะแปรผกผันไปกับเวลาที่เพิ่มขึ้น เช่น ซื้อเครื่องใหม่ราคาหนึ่งแสนบาทฟังไปหนึ่งปี เบื่อเอาไปฝากขายราคาอาจจะเหลือแค่ครึ่งเดียว แต่เครื่องเสียงวินเทจหลายๆตัวกลับแปรฝันตามเวลาที่เพิ่มขึ้นเช่น ซื้อปรีแอมป์วินเทจราคาหนึ่งแสนบาท ฟังไปได้หนึ่งปีราคาเพิ่มขึ้นกลายเป็น 1.2 แสนบาท แต่ต้องเลือกยี่ห้อรุ่นที่นิยมเล่น และสะสมกัน หลายๆตัวยิ่งเก็บนานยิ่งเพิ่มมูลค่า ความจริงไม่ได้อยากจะชักชวนให้ท่านผู้อ่านแห่กันเข้ามาซื้อเก็บเครื่องเสียงวินเทจ จนทำให้ราคาเครื่องในปัจจุบันที่สูงอยู่แล้วจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก แต่อยากจะชักชวนนักเล่นบ้านเราเก็บเครื่องเสียงวินเทจที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในบ้านเรามากที่สุด หรือคิดว่าเป็นการลงทุนแบบฟุ่มเฟือย (Luxury Investment) อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะต่อให้บ้านเราไม่มีคนสะสม ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ก็ไล่กวาดเครื่องเสียงวินเทจเหล่านี้เข้ากรุสะสมเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว

อ่านเพิ่มเติม เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 1 ปรีแอมป์

My way Vintage System

วินเทจสัญจรได้แวะเวียนไปเยี่ยมนักเล่นท่านหนึ่งที่มีแนวทางการเล่นในแบบฉบับที่มีความเป็นตัวตนชัดเจน ไม่ยึดแนวทางการเล่นของนักเล่นวินเทจกระแสหลัก เครื่องวินเทจที่ครอบครองก็ต่างไปจากวินเทจกระแสหลัก นักเล่นท่านนี้รู้จักผ่านทางเฟซบุคมาช่วงเวลานานพอสมควร แต่กลับเพิ่งรู้ว่าเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันในสาขาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (IE) สจพ. (ปัจจุบันคือ มจพ.)  ก็อาศัยความเป็นรุ่นพี่ขอบุกไปเยี่ยมกรุรุ่นน้องกันหน่อยครับ

อ่านเพิ่มเติม My way Vintage System