Lenco L75 Heavy Platter เป็นเทิร์นระบบลูกยางขับปรับสปีดผ่านพูลเลย์ทรงกระสวย จัดว่าเป็นเทิร์นคุณภาพดีราคาประหยัด เพลตเตอร์หนักราวๆ 4 กิโลกรัม นักเล่นต่างประเทศชอบรื้อเอาเพลตเตอร์ เมนแบริ่ง มอเตอร์ และชุดลูกยางขับเพลตเตอร์ มาทำเทิร์นคุณภาพสูง โดยใช้ชุดติดตั้งอัพเกรด PTP หรือ Peter Top Plate ซึ่งมีหลายเวอร์ชันมาลงแท่นใหม่ที่มีความหนักแน่นหนา มีทั้งแท่นไม้อัดชั้น ไม้แท้ขุด หินชนวน สำหรับ Lenco L75 PTP แท่นนี้ผมใช้หินสังเคราห์ (Corian) ทำแท่นครับ
คลังเก็บหมวดหมู่: Vintage HiFi
HQD Loudspeaker System
ระบบลำโพง HQD เกิดขึ้นจากนักออกแบบระบบเสียงนาม “Mark Levinson” ในการนำเอาลำโพงที่มีนัยในยุคนั้นมาสร้างเป็นระบบลำโพงชุดขึ้นมาใหม่โดยนำเอา H=Hartley Sub-woofer, Q=QUAD ESL57 และ D=Decca Kelly Ribbon Tweeter มาประกอบกันเป็นระบบลำโพงใหม่ทั้งชุดเรียกว่า HQD Loudspeaker System
Lansing Iconic with 15 Cells Horn
Lansing Iconic ปกติจะใช้ฮอร์น 8 ช่อง H808 พอมีโอกาสได้เซ็ตอัพระบบลำโพง Cinemeccanica ที่ใช้ฮอร์น 15 ช่อง ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากๆ เลยเกิดแนวคิดว่าน่าจะเอาฮอร์น 15 ช่องของ Cinemeccanica มาใช้แท่นฮอร์น 8 ช่องของเดิม
Marantz Model 1-10 Collector Guide
Marantz เป็นแบรนด์หนึ่งของเครื่องเสียงที่อยู่ยงมาจนถึงทุกวันนี้ ภายใต้ยี่ห้อเดียวกันนี้ผ่านการผลัดเปลี่ยนมาหลายต่อหลายครั้ง สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ Marantz ถือว่าเป็นแบรนด์ระดับท๊อป โดยยกให้เครื่องหลอด Model 1-10 ของค่ายนี้ที่ควรค่าแก่การแสวงหา
EMT 930st in Ultra Hiend System
มีนักเล่นเครื่องเสียง Ultra Hi-end เพิ่งเอาเทิร์นวินเทจ EMT 930st เข้ามาในระบบ แต่อยากเล่นปรีโฟโนนอก ก็เลยต้องเตรียม MC SUT Western Electric 618B Silver กับหัวเข็ม EMT TSD15 SFL กับVdH ติดไปหน่อย เพื่อดูแนวเสียงครับ
เก็บงาน Lansing Iconic
Lansing Iconic (Replica) เป็นลำโพง Field Coil ทั้งระบบต้องมีภาคจ่ายไฟสำหรับขดฟีลด์คอยล์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ผลิตลำโพงกำหนดให้มีการต่อวงจรต้องอนุกรมขดฟีลด์คอยล์ของคอมเพรสชันไดร์เวอร์กับวูฟเฟอร์ แล้วใช้ตัวต้านทานคร่อมขดฟีลด์คอยล์ของวูฟเฟอร์เพื่อกำหนดแรงดันตกคร่อม แถมภาคจ่ายไฟทำเป็นสายพ่วงออกมาแค่สองเส้น ถ้าจะต่อวงจรตามที่ต้องการ ก็ทำให้มีสายห้อยโยงระยางหลังตู้ไม่เรียบร้อยด้านหลังตู้ ยิ่งตัวต้านทานรักษาแรงดันเกิดความร้อนสูง ไปแตะโดนไม้หลังตู้นี่เป็นรอยไหม้กันเลยทีเดียว
EMT 930st Full Upgrade
EMT 930st บางตัวซื้อมาเป็นไฟความถี่ 60 Hz ถ้าเอามาใช้งานบ้านเราต้องมีตัวสร้างแรงดันป้อนที่เป็นความถี่ 60 Hz ในฟอรัมมีการใช้อุปกรณ์ประเภท Variable Frequency Inverter มาต่อใช้งาน แต่มีตัวที่ทำขึ้นมาเฉพาะเพื่อใช้งานกับเทิร์นเทเบิล EMT 930/927 เลยนั่นก็คือ Multiconverter DU 937 110V 60Hz จาก Studiotechnik Dusch แต่ไหนก็ไหนแล้วเลยจับเปลี่ยนโทนอาร์มเป็นอาร์มกล้วยหอม EMT 997 ไปเลยดีกว่าครับ เรียกได้ว่าเป็นตัว EMT 930st ฉบับ “จัดเต็ม” เลยทีเดียว
Cinemeccanica Iconic Setup
Cinemeccanica เป็นยี่ห้อของระบบโรงภาพยนตร์สัญชาติอิตาลี จะมีทั้งเครื่องฉาย แอมป์ ไปจนถึงลำโพง ในส่วนของการนำมาใช้งานเป็นระบบเสียงภายในบ้านที่ยากหน่อยเพราะแทบจะไม่มีข้อมูลอ้างอิงใดๆได้เลย บังเอิญว่ามีเพื่อนชาวรัสเซียเสนอไดร์เวอร์ครบชุด พร้อมฮอร์น 15 ช่อง และครอสส์โอเวอร์ของ Cinemeccanica มา ในช่วงที่ผ่านมามีโอกาสได้สร้างลำโพงในสไตล์ของ Lansing Iconic โดยใช้ฮอร์น 8 ช่องกับ MG Driver พบว่าให้เสียงได้ดีมาก เลยเป็นที่มาของการเซ็ตระบบลำโพงชุดนี้
Setup 22A Replica Horn
เซ็ตอัพลำโพงฮอร์น Western Electric 22A Replica ตัวฮอร์นขึ้นรูปจากเหล็กแผ่นพ่นแดมป์ลดเรโซแนนซ์ ติดตั้งคอมเพรสชันไดร์เวอร์ Neumann วางบนขารองฮอร์นที่มีจุดสัมผัสฮอร์นน้อยที่สุด และจัดวางทั้งชุดลงบนโต๊ะที่แยกจากตู้เบสส์อย่างอิสระ เพื่อไม่ให้แรงสั่นสะเทือนจากวูฟเฟอร์เข้าถึงฮอร์น
111C CD Enhancement
ในซีสเต็มที่ใช้แหล่งกำเนิดเสียงหลายฟอร์แมตในการฟังเพลง เมื่อไปถึงจุดๆหนึ่งจะพบว่า เสียงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะให้ความไพเราะในการฟังมากกว่าเครื่องเล่นซีดีมากๆ ทำให้ซีดีกลายจุดอ่อนของระบบเสียงไปโดยปริยาย แต่เมื่อนำเอาหม้อแปลง Western Electric 111C มาต่อใช้งานกลับพบว่าไดนามิคเฮดรูมของเครื่องเล่นซีดีถูกยกระดับขึ้นมาโดยพลัน ผมของเรียกมันว่า “CD Enhancement”