คลังเก็บหมวดหมู่: Tubes

Western Electric 300A (1930s)

Western Electric 300A เป็นหลอดเพาเวอร์ไตรโอดที่เป็นตัวตั้งต้นให้กับหลอดเพาเวอร์ไตรโอดยอดนิยมตลอดกาลนั่่นคือหลอด 300B หลอด Western Electric 300A ผลิตออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1933 ต่อมาก็ถูกแทนด้วยหลอด 300B ในปี 1938 คุณสมบัติเหมือนกับหลอด 300A ทุกประการ ยกเว้น Guide Pin สำหรับซ๊อกเก็ต bayonet ทำมุมกับขากริดของหลอดเป็นมุม 45 องศา โดยวิศวกรตั้งใจออกแบบให้หลอด 300B สามารถใช้เสียบแทนกับหลอด 205A ได้โดยตรง

อ่านเพิ่มเติม Western Electric 300A (1930s)

Tube Rolling with Cary CAD-805 AE

เพาเวอร์แอมป์โมโนบล๊อก Cary Audio CAD-805 Anniversary Edition ภาคเพาเวอร์เอาต์พุตเป็นเพาเวอร์ไตรโอดขนาดใหญ่ เลือกเล่นได้สองเบอร์คือ 211 และ 845 ขับด้วยด้วยหลอดเพาเวอร์ไตรโอด 300B ภาคปรี 6SN7 และภาคไดร์วของ 300B เป็น 6SN7 หลอดติดเครื่องโดยมากจะใช้หลอดผลิตใหม่ 6SN7 รัสเซีย หลอด 300 จีน และ 845 จีน ดูจากหน่วยก้านทั้งนอกทั้งไส้ในของเครื่องแล้วถ้าอัพเกรดหลอดดีๆคุณภาพเสียงน่าจะไปได้ไกล

อ่านเพิ่มเติม Tube Rolling with Cary CAD-805 AE

Marantz Model 1-10 Collector Guide

Marantz เป็นแบรนด์หนึ่งของเครื่องเสียงที่อยู่ยงมาจนถึงทุกวันนี้ ภายใต้ยี่ห้อเดียวกันนี้ผ่านการผลัดเปลี่ยนมาหลายต่อหลายครั้ง สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ Marantz ถือว่าเป็นแบรนด์ระดับท๊อป โดยยกให้เครื่องหลอด Model 1-10 ของค่ายนี้ที่ควรค่าแก่การแสวงหา

อ่านเพิ่มเติม Marantz Model 1-10 Collector Guide

6SN7GT 300B SE

300B Single Ended ตัวนี้น่าจะเป็นงานเคาะสนิม​งาน​ดี.ไอ.วาย​ ที่ทิ้งช่วงมาหลายปีด้วยกัน ก็ด้วยเหตุผลสองประการคือ ประการแรกซ้อมมือก่อนลงมือทำแอมป์โมโนบล๊อก 300B วงจร​ WE91​ ประการที่สองมีหลอด WE​300B ปีเก่าทั้งปีลึกปีไม่ลึกทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แต่กลับไม่มีแอมป์สำหรับทดลองหลอด!

อ่านเพิ่มเติม 6SN7GT 300B SE

ชอบหลอดมีแสงครับ

นอกจากเรื่องเสียงหวานๆของแอมป์หลอดแล้ว เสน่ห์ของแสงส้มๆจางๆจากไส้หลอด 2A3, 300B หรือจะสว่างโร่แบบ 211, 845 ก็ดึงดูดใจให้เราชื่นชมกับเครื่องเสียงหลอด เรียกได้ว่าเสพทั้งเสียง และแสงเลยก็ว่าได้ เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับ ว่าหลอดมันมีแสงสีอื่นบ้างมั้ย? คำตอบคือ มีครับ มีแบบทั้งที่ตั้งใจให้เกิด และไม่ได้ตั้งใจให้มันเกิด

อ่านเพิ่มเติม ชอบหลอดมีแสงครับ

แบเรียมที่ฉาบหลอด..บอกอะไรเราบ้าง

เวลาดูหลอดที่วางขายตามร้าน หรือตามเว็บไซต์ต่างๆ มักจะมีการบอกสภาพของหลอดด้วยคำบ่งลักษณะหลอดเช่น NOS (New Old Stock) หรือเก่าเก็บ, NIB (New In Box) หรือใหม่แกะกล่อง, NIB/NOS หรือใหม่แกะกล่องแต่เก่าเก็บ, USED หรือใช้งานแล้ว ก็จะมีการบอกค่าการวัดเช่น 38/25 (มักจะวัดด้วยเครื่องมือวัดยอดนิยมอย่าง TV-7), 2500 เป็นค่าโมห์, mA/V เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม แบเรียมที่ฉาบหลอด..บอกอะไรเราบ้าง

ตามรอยหลอดจิ๋วจอมพลัง EL84

หลอดเพาเวอร์เพนโทด EL84 เป็นผู้นำทั้งในแอมป์กีตาร์ และเครื่องเสียงไฮไฟคลาสสิคหลายๆรุ่น หลอด EL84 เริ่มจากการพัฒนาซีรีย์หลอดเพนโทดเอาต์พุตสำหรับงานออดิโอ สำหรับใช้งานในภาคขยายไฮไฟกำลังต่ำ เครื่องบันทึกเทป และเครื่องรับวิทยุที่ใช้ไฟ AC สิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมคือสกรีนกริดสามารถรับแรงดันสูงได้ เหมือนเพลท (ที่ 300V) ใช้งานแพร่หลายทั้งวิทยุราคาถูกๆไปจนถึงเครื่องเสียงไฮไฟราคาแพงๆ

อ่านเพิ่มเติม ตามรอยหลอดจิ๋วจอมพลัง EL84

ราชันย์หลอดเพาเวอร์ 6550 & KT88

เมื่อกำลังขับของแอมป์มีนัยในตลาดเครื่องเสียงไฮไฟ ทำให้ในยุคหนึ่งเครื่องเสียงต้องพะตัวเลขวัตต์สูงๆเพื่อให้ขายได้ง่าย แนวคิดนี้เริ่มขึ้นช่วงปี 1950 ผู้บริโภคมองหาเครื่องเสียงที่กำลังขับสูงขึ้น หรือเครื่องเสียงแยกชิ้นกันมากขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วความไวของลำโพงต่างหากที่มีความสำคัญมากกว่า หรืออาจกล่าวได้ว่าลำโพงเบสส์รีเฟล็กซ์ทั่วๆไป ก็เล่นได้ลั่นทุ่งกับเพาเวอร์แอมป์เพียง 30 วัตต์ต่อข้างแล้ว แต่ไหนก็ไหนแล้วแนวคิดที่ว่าก็ทำให้เกิดการพัฒนาสิ่งต่างๆมากมาย

อ่านเพิ่มเติม ราชันย์หลอดเพาเวอร์ 6550 & KT88

DHT หลงเสียง…ฮัม

จั่วหัวเรื่องไม่ผิดแน่นอนครับพักนึ้หลงเสียงฮัมครับ เสียงที่ไม่เป็นที่ปรารถนาของนักเล่นหลอดคือเสียงฮัม แต่มีหลอดกลุ่มหนึ่งเมื่อนำมาทำปรีแอมป์พบว่าที่ให้เสียงไพเราะน่าฟัง และหน้าตาหลอดสวยงามน่ามอง แต่หลอดกลุ่มนี้มักแถมเสียงฮัมเบาบ้างดังบ้างมาให้เสมอ เรียกได้ว่า เสียงนางฟ้า ฮัมดั่งซาตาน ก็ว่าได้ หลอดกลุ่มนี้คือหลอด Direct Heat Triode ครับ ฮัมดังบ้างเบาบ้าง แต่สุ้มเสียงที่ได้น่าสนใจครับ

อ่านเพิ่มเติม DHT หลงเสียง…ฮัม

211&845 Big Triode

นับตั้งแต่ที่มีการทดลองสร้างหลอดไตรโอดในปี 1917 General Electric หรือ GE ก็ได้เริ่มพัฒนาหลอด ‘Type U Pliotron’ เพื่อใช้ในการส่งคลื่นวิทยุทางการทหาร เรียกว่าหลอดเบอร์ CG1144  ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้มีการบรรจุระบบวิทยุรับส่งที่ใช้หลอดเบอร์นี้ลงในเครื่องบินที่แล่นบนผิวน้ำ หลังจากสงครามจบลงหลอด Type U ก็กลายมาเป็นเบอร์ UV-203 เริ่มถูกนำออกสู่ตลาดโดย RCA ในปี 1921 เป็นหลอดที่ผลิตโดย GE ถูกนำมาใช้งานกับเครื่องส่งวิทยุเอเอ็ม เป็นหลอดที่มีค่ามิวเท่ากับ 25 ไส้หลอดเป็นทังสเตนบริสุทธิ์ ในสมัยแรกหลอด 203 เป็นหลอดเครื่องส่งขนาดใหญ่ที่มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรม หลอด 203 ที่ใช้ไส้หลอดเป็นทังสเตนล้วนๆยังถูกผลิตออกมาโดยใช้เบอร์หลอดเฉพาะด้วยเช่น PG132 และ HW15

อ่านเพิ่มเติม 211&845 Big Triode