ผลงานของ James Lansing ได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับลำโพงมอนิเตอร์ในยุคนั้นนั่นก็คือ Altec 604 แต่ตัว Jame Lansing เองกลับไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเมื่อก่อตั้ง JBL แต่ประการใด จนถึงฤดูใบไม้ร่วงปี 1949 James Lansing ทำงานในวันปกติที่ Los Angeles และกลับไปที่ไร่ของเขาที่ San Marcos ในวันสุดสัปดาห์ เขาเริ่มห่างเหินจากการไปเยี่ยมพี่ชายของเขา Bill Martin ซึ่งปกติจะแวะทานพายกับกาแฟก่อนเดินทางไกล ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน เป็นครั้งสุดท้ายที่เขาแวะไปเยี่ยมพี่ชายของเขาเป็นครั้งสุดท้าย และในเย็นวันนั้นเขาก็มุ่งหน้าไปที่ไร่ใน San Marcos และจบชีวิตตัวเองลง เป็นตอนจบที่ไม่สวยงามนักในยุคของ James Lansing ผู้ที่ผ่านความท้าทาย และมีพลังขับเคลื่อนต่อพัฒนาการของระบบลำโพงตลอด 24 ปี การเสียชีวิตของ James Lansing ทำให้ดูราวกับว่าเป็นจุดจบของ JBL เนื่องจากในช่วงนั้นบริษัทกำลังติดหล่มของภาระหนี้สิน, การดำเนินกิจการโดยไม่เกิดผลกำไร และผู้ที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่เป็นหน้าตาของบริษัทก็ลี้หนีหายไปสิ้น ทว่าจุดนี้กลับเป็นจัดเปลี่ยนผันของ JBL ที่ก้าวไปสู่ยุครุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมลำโพง หนึ่งในผู้ที่พลิกผันที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุด นั่นก็คือ Bill Thomas ในยุคที่ JBL บริหารโดย Bill Thomas ได้ก่อกำเนิดลำโพงวินเทจที่เป็นตำนานตลอดกาลสองตัวนั่นก็คือ JBL Hartsfield และ JBL Paragon
คลังเก็บหมวดหมู่: Speaker
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ ตอนที่ 1
อุตสาหกรรมการบันทึกเสียงในยุคแรกนั้นจะใช้การอัดเสียงร้อง เสียงดนตรี ผ่านกระบอกเปลี่ยนเสียงให้เป็นแรงสั่นเพื่อให้ปลายเข็มสร้างร่องรอยลงบนแผ่นโลหะ ซึ่งนำไปใช้ในการผลิตแผ่นครั่งต่อไป ยังไม่มีการใช้ลำโพงมอนิเตอร์ใดๆในการตรวจเช็คคุณภาพการบันทึกเลย ลำโพงมอนิเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในยุคที่สื่อบันทึกเทปแม่เหล็กเกิดขึ้นมาแล้วระยะหนึ่ง ความสำคัญของลำโพงมอนิเตอร์คือต้องสามารถรายงานคุณภาพเสียงที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างการทำการบันทึกเสียง ในยุคแรกลำโพงมอนิเตอร์มีขนาดใหญ่โตมาก จึงเกิดความพยายามลดขนาดมอนิเตอร์ให้เล็กลงโดยมี Lansing Manufacturing ของ James Lansing ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ Shearer Horn project ในปี 1934 ระบบลำโพงนี้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานสำหรับลำโพงมอนิเตอร์ให้เสียงครอบคลุมความ ถี่เสียงได้กว้าง, ถูกต้อง และแม่นยำ
มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 3
มีบทความหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับแฟน Altec VOT มากนั่นก็คือแนวทางการเล่น Altec A5 ในแบบฉบับของ Jean Hiraga ที่ถ่ายทอดประสบการณ์โดย John Stronczer ผู้ออกแบบแอมป์หลอดให้กับ Bel Canto บทความนี้มีชื่อว่า ”La Voice of the Theater Chez Nous, Taming the ALTEC A5 Classic for Domestic Use” อ่านดูแล้วน่าสนใจ และนำมาเป็นแนวทางในการปรับ Altec VOT ให้เหมาะกับแนวการฟังเพลงของเราได้อย่างเหมาะสมครับ
มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 2
พอดีมีบทความหนึ่งที่เขียนโดย Jeff Markwart และ John Tucker นั่นก็คือบทความ ALTEC “Voice of The Theater” Speakers for Hi-Fi ในวารสาร Sound Practice ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับลำโพงฮอร์นได้อย่างออกอรรถรสเลยขอนำมาเล่าให้กับผู้อ่านดังนี้ครับ
ฟังลำโพงมาหลากรุ่นหลายยี่ห้อแล้วยังไม่เข้าหู ไม่ลองเล่นระบบลำโพงฮอร์นดูล่ะ… คำแนะนำที่อาจจะฟังดูแปลกๆไปสักหน่อย หลังจากทดลองฟังลำโพงคลาสสิค Altec Lansing A7-500W-1 Magnificents สำหรับรุ่น Magnificent เป็นลำโพง Altec ลงตู้แบบเฟอร์นิเจอร์ ย่อส่วนจาก A7 “Voice of The Theater” ใช้ฮอร์น 500Hz
มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 1
ช่วงเวลาที่ได้ศึกษาการออกแบบลำโพงสำหรับฟังเพลงในบ้านหลากแบบหลายรูป ทั้งในกระแสและนอกกระแสจนพบว่ามีลำโพงแบบหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งคุณอาจจะเดาออกจากชื่อของบทความ ใช่!แล้วลำโพงฮอร์น!!! คุณอาจจะนึกขำๆในใจว่า หมอนี่พูดถึงอะไรกันเนี่ย ทั้งเก่าล้าสมัยเสียงก๊องๆแก๊งๆ และเสียงแผดๆเพี้ยนๆ ใช่ไหม?
Lowther ที่สุดของฟูลเรนจ์
สืบเนื่องจากงาน “Keep it Analog Meeting 2016” ในวินเทจสัญจร มีลำโพงที่ชื่ออาจจะไม่คุ้นหูนักเล่นวินเทจสักเท่าไหร่ นั่นก็คือลำโพงฟูลเรนจ์ “Lowther” ที่สร้างความประทับใจ และประหลาดใจไปกับไดร์เวอร์ขนาดเพียง 8 นิ้วดอกเดียว สามารถสร้างเสียงได้ครบแบบมีคุณภาพทั้งทุ้มกลางแหลม แต่ลำโพง “Lowther” กลับเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักเล่นแบบ DIY ด้วยความไวสูงมากเฉพาะไดร์เวอร์เปล่าๆก็มีความไวถึง 99.5 ดีบี ถ้าลงตู้แล้วบางแบบความไวจะสูงถึง 107 ดีบีกันเลยทีเดียว ทำให้สามารถเล่นแอมป์วัตต์ต่ำๆ อย่าง 101D, 45, 2A3 ได้เสียงดันลั่นบ้าน และไม่ยุ่งยากในการทำครอสส์โอเวอร์แบบลำโพงหลายทาง