Cinemeccanica เป็นยี่ห้อของระบบโรงภาพยนตร์สัญชาติอิตาลี จะมีทั้งเครื่องฉาย แอมป์ ไปจนถึงลำโพง ในส่วนของการนำมาใช้งานเป็นระบบเสียงภายในบ้านที่ยากหน่อยเพราะแทบจะไม่มีข้อมูลอ้างอิงใดๆได้เลย บังเอิญว่ามีเพื่อนชาวรัสเซียเสนอไดร์เวอร์ครบชุด พร้อมฮอร์น 15 ช่อง และครอสส์โอเวอร์ของ Cinemeccanica มา ในช่วงที่ผ่านมามีโอกาสได้สร้างลำโพงในสไตล์ของ Lansing Iconic โดยใช้ฮอร์น 8 ช่องกับ MG Driver พบว่าให้เสียงได้ดีมาก เลยเป็นที่มาของการเซ็ตระบบลำโพงชุดนี้
คลังเก็บหมวดหมู่: Speaker
Setup 22A Replica Horn
เซ็ตอัพลำโพงฮอร์น Western Electric 22A Replica ตัวฮอร์นขึ้นรูปจากเหล็กแผ่นพ่นแดมป์ลดเรโซแนนซ์ ติดตั้งคอมเพรสชันไดร์เวอร์ Neumann วางบนขารองฮอร์นที่มีจุดสัมผัสฮอร์นน้อยที่สุด และจัดวางทั้งชุดลงบนโต๊ะที่แยกจากตู้เบสส์อย่างอิสระ เพื่อไม่ให้แรงสั่นสะเทือนจากวูฟเฟอร์เข้าถึงฮอร์น
Western Electric 22A + 7331 Bass Cabinet
Western Electric 22A เป็นฮอร์นขนาดไม่ใหญ่โตมาก เหมาะสำหรับการเซ็ตอัพเล่นเป็นระบบสเตอริโอในห้องฟังขนาด 5.5×6.5 เมตรได้สบายๆ เสียงเต็มห้องไม่อึดอัด ในภาพเป็นตัวแรกที่เริ่มพัฒนาขึ้นมาเลยจากศูนย์หน้าแปลนยึดไดร์เวอร์จะติดกับ Throat Adapter เลย เวอร์ชันหลังๆทำเป็นเกลียวทองเหลืองสำหรับติดตั้งไดร์เวอร์ที่เป็นเกลียวเดียวกับ Western Electric 555 ตัวฮอร์นขึ้นรูปจากแผ่นเหล็กมีการพัฒนาในเวอร์ชันหลังๆขึ้นมาอีกหลายตัวครับ
Lansing Iconic 812
ลำโพง Lansing Iconic System 812 ที่ผลิตขึ้นมาใหม่โดย Westernlabo สร้างขึ้นใหม่ตามแบบดั้งเดิมของ Lansing Iconic เป็นลำโพงสตูดิโอตัวแรกที่สร้างขึ้นโดย James B. Lansing ในปี 1937ซึ่งเป็นลำโพงมอนิเตอร์ขนาดกระทัดรัดมากในยุคนั้น (ขนาด 40x25x18 นิ้ว) ในยุคนั้นแม่เหล็กอัลนิโกยังไม่ถูกค้นพบ ทำให้ระบบลำโพงในยุคนั้นเป็น Field Coil หรือแม่เหล็กไฟฟ้า การใช้งานต้องจ่ายแรงดันไฟตรงให้กับขดลวดฟีลด์คอยล์ของลำโพง เพื่อให้สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา
JBL Aquarius IV
JBL S109 Aquarius IV ลำโพงสองทางใช้ Fullrange LE8T-2 ติดตั้งแบบหงายไดร์เวอร์ยิงเสียงสะท้อนผ่านตัวกระจายเสียงออกช่องว่างขนาด 1″ ตู้เบสส์เป็น Double Bass Reflect ทรงสูงสร้างเสียงเบสส์ลงได้ลึกจากไดร์วเวอร์ขนาดเพียงแปดนิ้ว ด้านหลังมีทวีตเตอร์ LE20-1 ยิงเสียงแหลมเข้าหาตัวกระจายเสียงเป็นบรรยากาศด้านหลังตู้
วินเทจมอนิเตอร์สารพัดนึก…RCA LC-1
ถ้ามีคนถามผมว่าลำโพงวินเทจยี่ห้อนี้รุ่นนี้เสียงดีมั้ย? ผมจะถามกลับทุกครั้งว่าใช้ฟังเพลงแบบไหน? คำตอบส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพลงแจ๊ส และเพลงร้อง ผมก็จะมีคำถามที่สองตามไปอีกว่าเป็นแจ๊สยุคไหน? เพราะลำโพงวินเทจจะให้เสียงออกมาสมบูรณ์แบบก็ต้องฟังเพลงในยุคของมัน อย่าง JBL Hartsfield ก็ต้องเป็นแจ๊สยุคเก่าเนื่องจากเบสส์ของลำโพง Hartsfield ลงได้ไม่ลึกเป็นลูกเหมือนกับลำโพง JBL รุ่นหลัง (แต่ถ้าจัด System Matching ลงตัวได้ Hartsfield จะสำแดงเดชได้สุดยอดครับ) หรืออย่าง JBL Monitor รุ่น 43xx พวกนี้ก็ไม่เหมาะกับแจ๊สยุคเก่าเนื่องจากให้เสียงกลางไม่ใหญ่ดิบแผดเหมือนลำโพง JBL รุ่นแรกๆทำให้อรรถรสการฟังเครื่องเป่าไม่สนุกเท่า เคยถามตัวเองเหมือนกันว่าแล้วมันมีมั้ยลำโพงวินเทจที่ฟังเพลงได้หลายยุคหลายสมัย???
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ 6
มาลองดูการเปลี่ยนแปลงของสตูดิโอมอนิเตอร์เป็นไทม์ไลน์กันบ้าง ลำโพงที่ถูกนำมาใช้เป็นมอนิเตอร์ในแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับแนวทางการฟังเพลงในแต่ละยุค ในช่วงแรกๆราวๆปี 1920-1930 ของอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงยังไม่เน้นเรื่องลำโพงมอนิเตอร์จริงๆจังๆมากนัก เนื่องจากใช้ลำโพงเพียงตรวจสอบระดับสัญญาณรบกวน และเช็คระบบทางเทคนิคเท่านั้นเอง ทำให้สตูดิโอในยุคนี้เป็นตู้ลำโพงพื้นๆง่ายๆ ลำโพงฮอร์นคุณภาพสุดยอดในยุคนั้นก็นำไปใช้งานในโรงภาพยนตร์
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ 5
หลังจากที่ Dr. Harman หมดวาระการทำงานในทีมของประธานาธิบดี Carter ในท้ายปี 1978 เขาก็หวนคืนสู่วงการตลาดออดิโออีกครั้ง ช่วงเวลาที่ผ่านมา Beatrice พบว่าค่อนข้างลำบากมากในการทำอุตสาหกรรมออดิโอ เนื่องด้วยพวกเขาขาดประสบการณ์ทางด้านการตลาดทางด้านนี้อย่างมาก ทำให้ไม่ค่อยสร้างบทบาทได้โดดเด่นมากนัก ผลประกอบการจึงไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ดั้งนั้นเมื่อ Dr. Harman เข้าทาบทาม Beatrice จึงมีความเป็นไปได้สูงในการซื้อบริษัทคืน แบรนด์หลักภายใต้ Harman International ในช่วงนั้นที่ทาง Beatrice ได้จากการซื้อบริษัทก็คือ Harman Kardon, JBL, Ortofon และ Tannoy ในปี 1980, ก็ได้ทำความตกลงร่วมกับ Dr. Harman ว่าซื้อเฉพาะ JBL คืนจาก Beatrice ส่วนแบรนด์ Harman/Kardon เดิมถูกขายให้กับบริษัทญี่ปุ่น Shin-Shirasuna ซึ่งเป็นผู้จำหน่าย OEM ของ Harman/Kardon ส่วน Tannoy และ Ortofon ถูกแยกออกมาต่างหาก ภายหลังการตกลงซื้อขาย และมีข้อเสนอด้านการเงินเพิ่มเติมในการซื้อ JBL, Dr. Harman ก็สามารถซื้อรวมกับ Harman International คืนมาด้วย หลังจากที่ขายให้กับ Beatrice เมื่อสามปีก่อน โดย Dr. Harman ได้ปรับโครงสร้าง Harman International โดยให้แบรนด์ JBL เป็นแนวหน้า เพื่อคืนสู่สังเวียนการตลาดต่อ เขาได้สร้างให้ Harman International กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ ตอนที่ 4
ในปี 1977 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งขึ้นกับ JBL เมื่อ Harman International ขายหุ้นทั้งหมดให้กับ Beatrice Foods Co. ในช่วงที่ Dr. Harman ประสบความสำเร็จในการบริหารอย่างสูงสุด ชื่อเสียงของเขาขจรไปถึงหูผู้ลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น นั่นคือ Jimmy Carter โดย Carter ได้เข้าทาบทาม Dr. Harman เข้าร่วมโดยเสนอตำแหน่งเลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง Dr. Harman ก็ตอบรับ ในการรับตำแหน่งมีข้อบังคับเรื่องการถือหุ้นอยู่ ทำให้เขาต้องขายหุ้นทั้งหมดให้กับ Beatrice ซึ่งเคยเสนอขอซื้อ Harman International ซึ่งเขาก็ได้ปฏิเสธไปแล้วครั้งหนึ่ง พอมาในปี 1977, Dr. Harman ก็ได้ติดต่อกับทาง Beatrice เพื่อขายหุ้น Harman International ซึ่งรวมถึง JBL ด้วย
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ ตอนที่ 3
ปี 1969 เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ JBL ไปแล้วครั้งหนึ่งเนื่องจากการเสียชีวิตของ Jim Lansing ในปีนี้เองที่ Bill Thomas ขาย JBL ให้กับ Jervis Corporation และเป็นปีสุดท้ายของการเป็นบริษัทอิสระ Tom Jennings, ซึ่งเป็น Vice President of Marketing ของ Thomas ได้รับมอบหมายให้หาผู้ซื้อบริษัท เขานึกถึง Dr. Sidney Harman ซึ่งเป็นแกนนำของ Jervis Corporation และมีความสนใจที่จะขยายบริษัทในตลาดเครื่องเสียงเพิ่มเติมจากตลาดอิเล็กทรอนิกส์ Jennings ได้จัดให้ทั้งสองบริษัทพบกัน และเจรจาต่อรองการซื้อบริษัท Jervis ได้สิทธิเต็ม 100% ในการเป็นเจ้าของ JBL และควบคุมบริษัทได้อย่างสมบูรณ์ Thomas ก็ไม่ถึงกับหมดบทบาทในการมีส่วนร่วมกับ JBL เขาได้นับมอบตำแหน่งจากบอร์ดบริหารของ Jervis ในตำแหน่ง Honorary Chairman of JBL