คลังเก็บหมวดหมู่: DIY Tube Amplifier

112A DHT Line Preamp

หลอด DHT (Direct Heat Triode) เบอร์ 112A เป็นหลอดที่ผมชอบน้ำเสียงเป็นการส่วนตัว เนื้อเสียง ไดนามิค รายละเอียด ความต่อเนื่องลื่นไหล โทนัลบาลานซ์ ไดนามิค อิมแพ็ค ครบเครื่องดีครับ สำหรับไลน์ปรีแอมป์ 112A ตัวนี้ผมขึ้นพร้อมกันสองตัว เลือกใช้ Line Output Transformer ของ Tango (อ่านแบบญี่ปุ่นว่า “ทังโกะ”) รุ่น NP-126 ซึ่งปัจจุบัน Tango เลิกผลิตไปแล้วทำให้ราคาหม้อแปลงรุ่นนี้เพิ่มสูงขึ้น 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม 112A DHT Line Preamp

DAC ESS Sabre32 with DHT I/V

DAC เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องเล่นซีดี หรือซีดีทรานสปอร์ตให้เป็นสัญญาณเสียงเพลง จะมีหัวใจหลักคือชิปไอซี DAC สำหรับทำหน้าที่แปลงดิจิตอลให้เป็นอนาลอก ซึ่งก็มีหลายแนวหลากสำนักทางให้เลือกใช้เบอร์ยอดนิยมได้แก่ NOS DAC, Wolfson, BB PCMxxx, ESS Sabre32 ซึ่งผมเลือกใช้เบอร์ ESS 9018 Sabre32 โดยใช้ชุดบอร์ดของ AckoDAC ในภาคดิจิตอล

อ่านเพิ่มเติม DAC ESS Sabre32 with DHT I/V

เงาเสียงในตำนาน WE 91A


ถ้าให้นึกเบอร์หลอดซิงเกิลเอ็นด์ไตรโอดมาสักสามเบอร์ เบอร์ 300B คงเป็นเบอร์แรกที่นักเล่นมิใครต่อใครก็ต้องบอกออกมาเป็นแน่ แล้วเคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมหลอดเบอร์นี้จึงเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางนัก?  ย้อนกลับไปราวๆปี ค.ศ. 1930 อเมริกันชนทั่วไปจะมีโอกาสฟังเสียงจากระบบเสียงที่ให้คุณภาพเสียงเต็มย่านจากเครื่องขยายเสียงหลอดในโรงภาพยนตร์เท่านั้น เพราะในยุคนั้นการฟังเพลงจะใช้แผ่นครั่งสปีด 78rpm เล่นผ่านฮอร์นปากแตรที่ขยายเสียงจากหัวเข็มในแบบอะคูสติคเสียงออกจะกระป๋องกระแป๋งมาก ยิ่งวิทยุกระจายเสียงในยุคนั้นคุณภาพเสียงไม่ต้องพูดถึง ดังสถานที่ใช้ฟังเพลงได้สมบูรณ์แบบที่สุดก็ต้องเป็นโรงภาพยนตร์

อ่านเพิ่มเติม เงาเสียงในตำนาน WE 91A

PSU สำหรับปรีแอมป์วินเทจ

ปรีแอมป์ของเครื่องเสียงวินเทจในยุคแรกๆมักใช้งานร่วมกับเพาเวอร์แอมป์ที่เข้าชุดกัน ตัวปรีแอมป์เองจะไม่มีภาคจ่ายไฟใดๆเลย  จะอาศัยภาคจ่ายไฟจากเพาเวอร์แอมป์ทั้งไฟจุดไส้หลอด และไฟสูงสำหรับเลี้ยงวงจร อย่างเช่น McIntosh C4  C8/C8s , Dynaco PAM-1, Heathkit WA-P2, Leak Varislope, QUAD 22, Marantz Model 1 เป็นต้น ถ้าใช้งานแบบเข้าชุดกันอย่างเช่น McIntosh C8 กับ MC-30, Dynaco PAM-1 กับ ST-70, Heatkit WA-P2 กับ W5m, QUAD 22 กับ QUAD II เป็นต้น ก็ใช้งานได้เลยไม่ต้องทำอะไรเพราะปกติจะมีจุดต่อภาคจ่ายไฟจากเพาเวอร์แอมป์มาเข้ากับปรีแอมป์ แต่ถ้าเอาเฉพาะปรีแอมป์แยกมาใช้งานต่างหากร่วมกับเพาเวอร์แอมป์อื่นจะต้องทำอย่างไร?

อ่านเพิ่มเติม PSU สำหรับปรีแอมป์วินเทจ

ทำไมแอมป์หลอดถึงคู่กับ C Oil

เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมเวลาทำแอมป์หลอด ที่มีภาคจ่ายไฟเป็นหลอดเรคติฟายจึงนิยมใช้ ตัวเก็บประจุชนิดน้ำมัน (Oil Filled Capacitor) หรือเรียกกันติดปากว่า C Oil แถมแอมป์หลอดที่ใช้ตัวเก็บประจุประเภทนี้มักจะให้สุ้มเสียงมีเนื้อ อิ่มกว่า และให้ไดนามิคเสียงได้ดีกว่า แอมป์หลอดวงจรเดียวกันที่ใช้ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโตรไลติค

อ่านเพิ่มเติม ทำไมแอมป์หลอดถึงคู่กับ C Oil

อุปกรณ์พาสซีพว์มีทิศด้วยหรือ?

อุปกรณ์ประเภทพาสซีพว์เช่น R หรือ ตัวต้านทาน, C หรือ ตัวเก็บประจุ (เฉพาะแบบไม่มีขั้ว), ฟิวส์, สายสัญญาณ ฯลฯ มันมีทิศทางการใส่ด้วยหรือ? ปกติอุปกรณ์เหล่านี้จะต่อกลับหัวกลับหางอย่างไรก็ไม่เกิดผลเสียทางไฟฟ้าแต่อย่างใด ในส่วนของสายสัญญาณ และฟิวส์ ท่านที่ใช้งานเครื่องเสียงคอมเมอร์เชียลคงทราบว่ามันมีผลมากบ้างน้อยบ้างตามซีสเต็มที่ใช้งานอยู่ แต่สำหรับท่านที่เล่นเครื่องเสียงหลอดทำเอง อาจจะยังไม่ได้สังเกตุ หรือสนใจถึงผลจากทิศทางของอุปกรณ์ จริงๆแล้วมันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องพิจารณาเวลาประกอบแอมป์หลอดขึ้นมาสักเครื่องหนึ่งครับ

อ่านเพิ่มเติม อุปกรณ์พาสซีพว์มีทิศด้วยหรือ?

เสียงของ R คาร์บอนหัวตัด

ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนคอมฯ (carbon composition หรือ CC) ถูกยกให้เป็นสุดปลายฝันของพิสุทธิ์แห่งเสียงแนวหลอด โดยได้รับการยอมรับจากนักเล่นที่อยากได้เสียงแบบแอมป์วินเทจ มันสามารถชุบชีวิตแอมป์เสียงแห้งๆให้มีชีวิตชีวาอย่างน่าฟังขึ้นได้

อ่านเพิ่มเติม เสียงของ R คาร์บอนหัวตัด

DHT หลงเสียง…ฮัม

จั่วหัวเรื่องไม่ผิดแน่นอนครับพักนึ้หลงเสียงฮัมครับ เสียงที่ไม่เป็นที่ปรารถนาของนักเล่นหลอดคือเสียงฮัม แต่มีหลอดกลุ่มหนึ่งเมื่อนำมาทำปรีแอมป์พบว่าที่ให้เสียงไพเราะน่าฟัง และหน้าตาหลอดสวยงามน่ามอง แต่หลอดกลุ่มนี้มักแถมเสียงฮัมเบาบ้างดังบ้างมาให้เสมอ เรียกได้ว่า เสียงนางฟ้า ฮัมดั่งซาตาน ก็ว่าได้ หลอดกลุ่มนี้คือหลอด Direct Heat Triode ครับ ฮัมดังบ้างเบาบ้าง แต่สุ้มเสียงที่ได้น่าสนใจครับ

อ่านเพิ่มเติม DHT หลงเสียง…ฮัม

RCA 50 คู่กัด WE300B

ในยุคเฟื่องของหลอดสนามแข่งขันของบรรดาผู้หลิตหลอดนิยมไปฟาดฟันกันนัก ก็คือโรงภาพยนตร์นั่นเอง ในสมัยก่อนเชื่อมั้ยครับว่าหลอด 2A3 นี่ใช้เป็นแอมป์โรงหนังกัน เนื่องจากว่าลำโพงสมัยก่อนออกแบบให้ใช้งานกับแอมป์หลอดจึงมีความไวสูง ทำให้ใช้แอมป์กำลังขับ 3-4 วัตต์ ก็ลั่นโรงแล้ว แต่วันดีคืนดี Western Electric ก็สร้างแอมป์หลอดที่กำลังขับทะลุ 10 วัตต์ขึ้นมา คือ Model 86 แอมป์พุชพูลกำลังขับ 15 วัตต์ และ Model 91 แอมป์ซิงเกิลเอ็นด์กำลังขับเกิน 5 วัตต์ ทั้งสองรุ่นใช้หลอด WE300B ครับ เล่นเอาค่าย RCA ระส่ำระส่ายไปพอสมควร จะนิ่งเฉยให้ Western Electric รุกอยู่ฝ่ายเดียวได้อย่างไร ทีมวิศวกร RCA ก็ทุ่มเทวิจัยหลอดออกมาเบอร์หนึ่ง เพื่อเป็นหมัดเด็ดที่จะต่อกรกับ WE300B ได้นั่นก็คือหลอดเบอร์ 50

อ่านเพิ่มเติม RCA 50 คู่กัด WE300B