Western Electric 300A เป็นหลอดเพาเวอร์ไตรโอดที่เป็นตัวตั้งต้นให้กับหลอดเพาเวอร์ไตรโอดยอดนิยมตลอดกาลนั่่นคือหลอด 300B หลอด Western Electric 300A ผลิตออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1933 ต่อมาก็ถูกแทนด้วยหลอด 300B ในปี 1938 คุณสมบัติเหมือนกับหลอด 300A ทุกประการ ยกเว้น Guide Pin สำหรับซ๊อกเก็ต bayonet ทำมุมกับขากริดของหลอดเป็นมุม 45 องศา โดยวิศวกรตั้งใจออกแบบให้หลอด 300B สามารถใช้เสียบแทนกับหลอด 205A ได้โดยตรง
คลังเก็บหมวดหมู่: DIY Tube Amplifier
Wurlitzer Model 771
Wurlitzer Model 771 (1937) เพาเวอร์แอมป์โมโนเดิมอยู่ในตู้เพลงระบบหยอดเหรียญ Rudolph Wurlitzer 616 ในยุค 1930 ใช้งานร่วมกับลำโพงฟีลด์คอยล์ และกลไลเล่นเลือกเล่นแผ่นเสียง
Tube Rolling with Cary CAD-805 AE
เพาเวอร์แอมป์โมโนบล๊อก Cary Audio CAD-805 Anniversary Edition ภาคเพาเวอร์เอาต์พุตเป็นเพาเวอร์ไตรโอดขนาดใหญ่ เลือกเล่นได้สองเบอร์คือ 211 และ 845 ขับด้วยด้วยหลอดเพาเวอร์ไตรโอด 300B ภาคปรี 6SN7 และภาคไดร์วของ 300B เป็น 6SN7 หลอดติดเครื่องโดยมากจะใช้หลอดผลิตใหม่ 6SN7 รัสเซีย หลอด 300 จีน และ 845 จีน ดูจากหน่วยก้านทั้งนอกทั้งไส้ในของเครื่องแล้วถ้าอัพเกรดหลอดดีๆคุณภาพเสียงน่าจะไปได้ไกล
NCW 1:1 Isolated Transformer
Isolated Transformer เป็นหม้อแปลงที่แยกขดลวดทางด้านปฐมภูมิ (Primary Section) กับด้านทุติยภูมิ (Secondary Section) การใช้งานมีทั้ง Step-Down, Step-Up และ 1:1 Isolated ตามแรงดันกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ในเครื่องเสียงวินเทจถ้ามาจากอเมริกา หรือญี่ปุ่นจะใช้แรงดันต่ำกว่าบ้านเราโดยจะเป็น 110V กับ 100V ส่วนเครื่องที่มาจากฝั่งยุโรปจะใช้ไฟ 230V เลยไม่ต้องใช้หม้อแปลง แต่…ระบบเครื่องเสียงเป็นที่ยอมรับกันว่า เมื่อเพิ่มต่อผ่านหม้อแปลงแบบ 1:1 Isolated แล้วจะให้คุณภาพของเสียงดีกว่า
Marantz Model 1-10 Collector Guide
Marantz เป็นแบรนด์หนึ่งของเครื่องเสียงที่อยู่ยงมาจนถึงทุกวันนี้ ภายใต้ยี่ห้อเดียวกันนี้ผ่านการผลัดเปลี่ยนมาหลายต่อหลายครั้ง สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ Marantz ถือว่าเป็นแบรนด์ระดับท๊อป โดยยกให้เครื่องหลอด Model 1-10 ของค่ายนี้ที่ควรค่าแก่การแสวงหา
Cinemeccanica Iconic Setup
Cinemeccanica เป็นยี่ห้อของระบบโรงภาพยนตร์สัญชาติอิตาลี จะมีทั้งเครื่องฉาย แอมป์ ไปจนถึงลำโพง ในส่วนของการนำมาใช้งานเป็นระบบเสียงภายในบ้านที่ยากหน่อยเพราะแทบจะไม่มีข้อมูลอ้างอิงใดๆได้เลย บังเอิญว่ามีเพื่อนชาวรัสเซียเสนอไดร์เวอร์ครบชุด พร้อมฮอร์น 15 ช่อง และครอสส์โอเวอร์ของ Cinemeccanica มา ในช่วงที่ผ่านมามีโอกาสได้สร้างลำโพงในสไตล์ของ Lansing Iconic โดยใช้ฮอร์น 8 ช่องกับ MG Driver พบว่าให้เสียงได้ดีมาก เลยเป็นที่มาของการเซ็ตระบบลำโพงชุดนี้
Setup 22A Replica Horn
เซ็ตอัพลำโพงฮอร์น Western Electric 22A Replica ตัวฮอร์นขึ้นรูปจากเหล็กแผ่นพ่นแดมป์ลดเรโซแนนซ์ ติดตั้งคอมเพรสชันไดร์เวอร์ Neumann วางบนขารองฮอร์นที่มีจุดสัมผัสฮอร์นน้อยที่สุด และจัดวางทั้งชุดลงบนโต๊ะที่แยกจากตู้เบสส์อย่างอิสระ เพื่อไม่ให้แรงสั่นสะเทือนจากวูฟเฟอร์เข้าถึงฮอร์น
111C CD Enhancement
ในซีสเต็มที่ใช้แหล่งกำเนิดเสียงหลายฟอร์แมตในการฟังเพลง เมื่อไปถึงจุดๆหนึ่งจะพบว่า เสียงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะให้ความไพเราะในการฟังมากกว่าเครื่องเล่นซีดีมากๆ ทำให้ซีดีกลายจุดอ่อนของระบบเสียงไปโดยปริยาย แต่เมื่อนำเอาหม้อแปลง Western Electric 111C มาต่อใช้งานกลับพบว่าไดนามิคเฮดรูมของเครื่องเล่นซีดีถูกยกระดับขึ้นมาโดยพลัน ผมของเรียกมันว่า “CD Enhancement”
6SN7GT 300B SE
300B Single Ended ตัวนี้น่าจะเป็นงานเคาะสนิมงานดี.ไอ.วาย ที่ทิ้งช่วงมาหลายปีด้วยกัน ก็ด้วยเหตุผลสองประการคือ ประการแรกซ้อมมือก่อนลงมือทำแอมป์โมโนบล๊อก 300B วงจร WE91 ประการที่สองมีหลอด WE300B ปีเก่าทั้งปีลึกปีไม่ลึกทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แต่กลับไม่มีแอมป์สำหรับทดลองหลอด!
Langevin 117A Line Preamplifier
Langevin 117A เป็นโมดูลปรีแอมป์ใช้ชื่อเรียกในแคตาล็อกว่า Program Booster หรือ Monitor Amplifier ใช้งานในปรีไมค์ร่วมกับโมดูล 116A ปกติหม้อแปลงอินพุตที่ติดมากับ Langevin 117A จะเป็น Langevin 408A ซึ่งในปรีโมดูล 117A ที่ได้มาถูกถอดทำ MC SUT แล้วแทนที่ด้วย Triad A-6J ต่อแบบ 600:600 โอห์ม หรือถ้าดูตามคู่มือจะเป็นการเซ็ตให้อัตราขยายต่ำสุด