Isolated Transformer เป็นหม้อแปลงที่แยกขดลวดทางด้านปฐมภูมิ (Primary Section) กับด้านทุติยภูมิ (Secondary Section) การใช้งานมีทั้ง Step-Down, Step-Up และ 1:1 Isolated ตามแรงดันกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ในเครื่องเสียงวินเทจถ้ามาจากอเมริกา หรือญี่ปุ่นจะใช้แรงดันต่ำกว่าบ้านเราโดยจะเป็น 110V กับ 100V ส่วนเครื่องที่มาจากฝั่งยุโรปจะใช้ไฟ 230V เลยไม่ต้องใช้หม้อแปลง แต่…ระบบเครื่องเสียงเป็นที่ยอมรับกันว่า เมื่อเพิ่มต่อผ่านหม้อแปลงแบบ 1:1 Isolated แล้วจะให้คุณภาพของเสียงดีกว่า
Lenco L75 Corian Plinth
Lenco L75 Heavy Platter เป็นเทิร์นระบบลูกยางขับปรับสปีดผ่านพูลเลย์ทรงกระสวย จัดว่าเป็นเทิร์นคุณภาพดีราคาประหยัด เพลตเตอร์หนักราวๆ 4 กิโลกรัม นักเล่นต่างประเทศชอบรื้อเอาเพลตเตอร์ เมนแบริ่ง มอเตอร์ และชุดลูกยางขับเพลตเตอร์ มาทำเทิร์นคุณภาพสูง โดยใช้ชุดติดตั้งอัพเกรด PTP หรือ Peter Top Plate ซึ่งมีหลายเวอร์ชันมาลงแท่นใหม่ที่มีความหนักแน่นหนา มีทั้งแท่นไม้อัดชั้น ไม้แท้ขุด หินชนวน สำหรับ Lenco L75 PTP แท่นนี้ผมใช้หินสังเคราห์ (Corian) ทำแท่นครับ
HQD Loudspeaker System
ระบบลำโพง HQD เกิดขึ้นจากนักออกแบบระบบเสียงนาม “Mark Levinson” ในการนำเอาลำโพงที่มีนัยในยุคนั้นมาสร้างเป็นระบบลำโพงชุดขึ้นมาใหม่โดยนำเอา H=Hartley Sub-woofer, Q=QUAD ESL57 และ D=Decca Kelly Ribbon Tweeter มาประกอบกันเป็นระบบลำโพงใหม่ทั้งชุดเรียกว่า HQD Loudspeaker System
Lansing Iconic with 15 Cells Horn
Lansing Iconic ปกติจะใช้ฮอร์น 8 ช่อง H808 พอมีโอกาสได้เซ็ตอัพระบบลำโพง Cinemeccanica ที่ใช้ฮอร์น 15 ช่อง ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากๆ เลยเกิดแนวคิดว่าน่าจะเอาฮอร์น 15 ช่องของ Cinemeccanica มาใช้แท่นฮอร์น 8 ช่องของเดิม
Marantz Model 1-10 Collector Guide
Marantz เป็นแบรนด์หนึ่งของเครื่องเสียงที่อยู่ยงมาจนถึงทุกวันนี้ ภายใต้ยี่ห้อเดียวกันนี้ผ่านการผลัดเปลี่ยนมาหลายต่อหลายครั้ง สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ Marantz ถือว่าเป็นแบรนด์ระดับท๊อป โดยยกให้เครื่องหลอด Model 1-10 ของค่ายนี้ที่ควรค่าแก่การแสวงหา
EMT 930st in Ultra Hiend System
มีนักเล่นเครื่องเสียง Ultra Hi-end เพิ่งเอาเทิร์นวินเทจ EMT 930st เข้ามาในระบบ แต่อยากเล่นปรีโฟโนนอก ก็เลยต้องเตรียม MC SUT Western Electric 618B Silver กับหัวเข็ม EMT TSD15 SFL กับVdH ติดไปหน่อย เพื่อดูแนวเสียงครับ
เก็บงาน Lansing Iconic
Lansing Iconic (Replica) เป็นลำโพง Field Coil ทั้งระบบต้องมีภาคจ่ายไฟสำหรับขดฟีลด์คอยล์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ผลิตลำโพงกำหนดให้มีการต่อวงจรต้องอนุกรมขดฟีลด์คอยล์ของคอมเพรสชันไดร์เวอร์กับวูฟเฟอร์ แล้วใช้ตัวต้านทานคร่อมขดฟีลด์คอยล์ของวูฟเฟอร์เพื่อกำหนดแรงดันตกคร่อม แถมภาคจ่ายไฟทำเป็นสายพ่วงออกมาแค่สองเส้น ถ้าจะต่อวงจรตามที่ต้องการ ก็ทำให้มีสายห้อยโยงระยางหลังตู้ไม่เรียบร้อยด้านหลังตู้ ยิ่งตัวต้านทานรักษาแรงดันเกิดความร้อนสูง ไปแตะโดนไม้หลังตู้นี่เป็นรอยไหม้กันเลยทีเดียว
EMT 930st Full Upgrade
EMT 930st บางตัวซื้อมาเป็นไฟความถี่ 60 Hz ถ้าเอามาใช้งานบ้านเราต้องมีตัวสร้างแรงดันป้อนที่เป็นความถี่ 60 Hz ในฟอรัมมีการใช้อุปกรณ์ประเภท Variable Frequency Inverter มาต่อใช้งาน แต่มีตัวที่ทำขึ้นมาเฉพาะเพื่อใช้งานกับเทิร์นเทเบิล EMT 930/927 เลยนั่นก็คือ Multiconverter DU 937 110V 60Hz จาก Studiotechnik Dusch แต่ไหนก็ไหนแล้วเลยจับเปลี่ยนโทนอาร์มเป็นอาร์มกล้วยหอม EMT 997 ไปเลยดีกว่าครับ เรียกได้ว่าเป็นตัว EMT 930st ฉบับ “จัดเต็ม” เลยทีเดียว
Cinemeccanica Iconic Setup
Cinemeccanica เป็นยี่ห้อของระบบโรงภาพยนตร์สัญชาติอิตาลี จะมีทั้งเครื่องฉาย แอมป์ ไปจนถึงลำโพง ในส่วนของการนำมาใช้งานเป็นระบบเสียงภายในบ้านที่ยากหน่อยเพราะแทบจะไม่มีข้อมูลอ้างอิงใดๆได้เลย บังเอิญว่ามีเพื่อนชาวรัสเซียเสนอไดร์เวอร์ครบชุด พร้อมฮอร์น 15 ช่อง และครอสส์โอเวอร์ของ Cinemeccanica มา ในช่วงที่ผ่านมามีโอกาสได้สร้างลำโพงในสไตล์ของ Lansing Iconic โดยใช้ฮอร์น 8 ช่องกับ MG Driver พบว่าให้เสียงได้ดีมาก เลยเป็นที่มาของการเซ็ตระบบลำโพงชุดนี้
Setup 22A Replica Horn
เซ็ตอัพลำโพงฮอร์น Western Electric 22A Replica ตัวฮอร์นขึ้นรูปจากเหล็กแผ่นพ่นแดมป์ลดเรโซแนนซ์ ติดตั้งคอมเพรสชันไดร์เวอร์ Neumann วางบนขารองฮอร์นที่มีจุดสัมผัสฮอร์นน้อยที่สุด และจัดวางทั้งชุดลงบนโต๊ะที่แยกจากตู้เบสส์อย่างอิสระ เพื่อไม่ให้แรงสั่นสะเทือนจากวูฟเฟอร์เข้าถึงฮอร์น