เวลาดูหลอดที่วางขายตามร้าน หรือตามเว็บไซต์ต่างๆ มักจะมีการบอกสภาพของหลอดด้วยคำบ่งลักษณะหลอดเช่น NOS (New Old Stock) หรือเก่าเก็บ, NIB (New In Box) หรือใหม่แกะกล่อง, NIB/NOS หรือใหม่แกะกล่องแต่เก่าเก็บ, USED หรือใช้งานแล้ว ก็จะมีการบอกค่าการวัดเช่น 38/25 (มักจะวัดด้วยเครื่องมือวัดยอดนิยมอย่าง TV-7), 2500 เป็นค่าโมห์, mA/V เป็นต้น
เรื่องทั้งหมดโดย AnalogLism
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ 6
มาลองดูการเปลี่ยนแปลงของสตูดิโอมอนิเตอร์เป็นไทม์ไลน์กันบ้าง ลำโพงที่ถูกนำมาใช้เป็นมอนิเตอร์ในแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับแนวทางการฟังเพลงในแต่ละยุค ในช่วงแรกๆราวๆปี 1920-1930 ของอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงยังไม่เน้นเรื่องลำโพงมอนิเตอร์จริงๆจังๆมากนัก เนื่องจากใช้ลำโพงเพียงตรวจสอบระดับสัญญาณรบกวน และเช็คระบบทางเทคนิคเท่านั้นเอง ทำให้สตูดิโอในยุคนี้เป็นตู้ลำโพงพื้นๆง่ายๆ ลำโพงฮอร์นคุณภาพสุดยอดในยุคนั้นก็นำไปใช้งานในโรงภาพยนตร์
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ 5
หลังจากที่ Dr. Harman หมดวาระการทำงานในทีมของประธานาธิบดี Carter ในท้ายปี 1978 เขาก็หวนคืนสู่วงการตลาดออดิโออีกครั้ง ช่วงเวลาที่ผ่านมา Beatrice พบว่าค่อนข้างลำบากมากในการทำอุตสาหกรรมออดิโอ เนื่องด้วยพวกเขาขาดประสบการณ์ทางด้านการตลาดทางด้านนี้อย่างมาก ทำให้ไม่ค่อยสร้างบทบาทได้โดดเด่นมากนัก ผลประกอบการจึงไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ดั้งนั้นเมื่อ Dr. Harman เข้าทาบทาม Beatrice จึงมีความเป็นไปได้สูงในการซื้อบริษัทคืน แบรนด์หลักภายใต้ Harman International ในช่วงนั้นที่ทาง Beatrice ได้จากการซื้อบริษัทก็คือ Harman Kardon, JBL, Ortofon และ Tannoy ในปี 1980, ก็ได้ทำความตกลงร่วมกับ Dr. Harman ว่าซื้อเฉพาะ JBL คืนจาก Beatrice ส่วนแบรนด์ Harman/Kardon เดิมถูกขายให้กับบริษัทญี่ปุ่น Shin-Shirasuna ซึ่งเป็นผู้จำหน่าย OEM ของ Harman/Kardon ส่วน Tannoy และ Ortofon ถูกแยกออกมาต่างหาก ภายหลังการตกลงซื้อขาย และมีข้อเสนอด้านการเงินเพิ่มเติมในการซื้อ JBL, Dr. Harman ก็สามารถซื้อรวมกับ Harman International คืนมาด้วย หลังจากที่ขายให้กับ Beatrice เมื่อสามปีก่อน โดย Dr. Harman ได้ปรับโครงสร้าง Harman International โดยให้แบรนด์ JBL เป็นแนวหน้า เพื่อคืนสู่สังเวียนการตลาดต่อ เขาได้สร้างให้ Harman International กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ ตอนที่ 4
ในปี 1977 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งขึ้นกับ JBL เมื่อ Harman International ขายหุ้นทั้งหมดให้กับ Beatrice Foods Co. ในช่วงที่ Dr. Harman ประสบความสำเร็จในการบริหารอย่างสูงสุด ชื่อเสียงของเขาขจรไปถึงหูผู้ลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น นั่นคือ Jimmy Carter โดย Carter ได้เข้าทาบทาม Dr. Harman เข้าร่วมโดยเสนอตำแหน่งเลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง Dr. Harman ก็ตอบรับ ในการรับตำแหน่งมีข้อบังคับเรื่องการถือหุ้นอยู่ ทำให้เขาต้องขายหุ้นทั้งหมดให้กับ Beatrice ซึ่งเคยเสนอขอซื้อ Harman International ซึ่งเขาก็ได้ปฏิเสธไปแล้วครั้งหนึ่ง พอมาในปี 1977, Dr. Harman ก็ได้ติดต่อกับทาง Beatrice เพื่อขายหุ้น Harman International ซึ่งรวมถึง JBL ด้วย
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ ตอนที่ 3
ปี 1969 เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ JBL ไปแล้วครั้งหนึ่งเนื่องจากการเสียชีวิตของ Jim Lansing ในปีนี้เองที่ Bill Thomas ขาย JBL ให้กับ Jervis Corporation และเป็นปีสุดท้ายของการเป็นบริษัทอิสระ Tom Jennings, ซึ่งเป็น Vice President of Marketing ของ Thomas ได้รับมอบหมายให้หาผู้ซื้อบริษัท เขานึกถึง Dr. Sidney Harman ซึ่งเป็นแกนนำของ Jervis Corporation และมีความสนใจที่จะขยายบริษัทในตลาดเครื่องเสียงเพิ่มเติมจากตลาดอิเล็กทรอนิกส์ Jennings ได้จัดให้ทั้งสองบริษัทพบกัน และเจรจาต่อรองการซื้อบริษัท Jervis ได้สิทธิเต็ม 100% ในการเป็นเจ้าของ JBL และควบคุมบริษัทได้อย่างสมบูรณ์ Thomas ก็ไม่ถึงกับหมดบทบาทในการมีส่วนร่วมกับ JBL เขาได้นับมอบตำแหน่งจากบอร์ดบริหารของ Jervis ในตำแหน่ง Honorary Chairman of JBL
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ ตอนที่ 2
ผลงานของ James Lansing ได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับลำโพงมอนิเตอร์ในยุคนั้นนั่นก็คือ Altec 604 แต่ตัว Jame Lansing เองกลับไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเมื่อก่อตั้ง JBL แต่ประการใด จนถึงฤดูใบไม้ร่วงปี 1949 James Lansing ทำงานในวันปกติที่ Los Angeles และกลับไปที่ไร่ของเขาที่ San Marcos ในวันสุดสัปดาห์ เขาเริ่มห่างเหินจากการไปเยี่ยมพี่ชายของเขา Bill Martin ซึ่งปกติจะแวะทานพายกับกาแฟก่อนเดินทางไกล ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน เป็นครั้งสุดท้ายที่เขาแวะไปเยี่ยมพี่ชายของเขาเป็นครั้งสุดท้าย และในเย็นวันนั้นเขาก็มุ่งหน้าไปที่ไร่ใน San Marcos และจบชีวิตตัวเองลง เป็นตอนจบที่ไม่สวยงามนักในยุคของ James Lansing ผู้ที่ผ่านความท้าทาย และมีพลังขับเคลื่อนต่อพัฒนาการของระบบลำโพงตลอด 24 ปี การเสียชีวิตของ James Lansing ทำให้ดูราวกับว่าเป็นจุดจบของ JBL เนื่องจากในช่วงนั้นบริษัทกำลังติดหล่มของภาระหนี้สิน, การดำเนินกิจการโดยไม่เกิดผลกำไร และผู้ที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่เป็นหน้าตาของบริษัทก็ลี้หนีหายไปสิ้น ทว่าจุดนี้กลับเป็นจัดเปลี่ยนผันของ JBL ที่ก้าวไปสู่ยุครุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมลำโพง หนึ่งในผู้ที่พลิกผันที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุด นั่นก็คือ Bill Thomas ในยุคที่ JBL บริหารโดย Bill Thomas ได้ก่อกำเนิดลำโพงวินเทจที่เป็นตำนานตลอดกาลสองตัวนั่นก็คือ JBL Hartsfield และ JBL Paragon
วัฒนาการของวินเทจมอนิเตอร์ ตอนที่ 1
อุตสาหกรรมการบันทึกเสียงในยุคแรกนั้นจะใช้การอัดเสียงร้อง เสียงดนตรี ผ่านกระบอกเปลี่ยนเสียงให้เป็นแรงสั่นเพื่อให้ปลายเข็มสร้างร่องรอยลงบนแผ่นโลหะ ซึ่งนำไปใช้ในการผลิตแผ่นครั่งต่อไป ยังไม่มีการใช้ลำโพงมอนิเตอร์ใดๆในการตรวจเช็คคุณภาพการบันทึกเลย ลำโพงมอนิเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในยุคที่สื่อบันทึกเทปแม่เหล็กเกิดขึ้นมาแล้วระยะหนึ่ง ความสำคัญของลำโพงมอนิเตอร์คือต้องสามารถรายงานคุณภาพเสียงที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างการทำการบันทึกเสียง ในยุคแรกลำโพงมอนิเตอร์มีขนาดใหญ่โตมาก จึงเกิดความพยายามลดขนาดมอนิเตอร์ให้เล็กลงโดยมี Lansing Manufacturing ของ James Lansing ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ Shearer Horn project ในปี 1934 ระบบลำโพงนี้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานสำหรับลำโพงมอนิเตอร์ให้เสียงครอบคลุมความ ถี่เสียงได้กว้าง, ถูกต้อง และแม่นยำ
PSU สำหรับปรีแอมป์วินเทจ
ปรีแอมป์ของเครื่องเสียงวินเทจในยุคแรกๆมักใช้งานร่วมกับเพาเวอร์แอมป์ที่เข้าชุดกัน ตัวปรีแอมป์เองจะไม่มีภาคจ่ายไฟใดๆเลย จะอาศัยภาคจ่ายไฟจากเพาเวอร์แอมป์ทั้งไฟจุดไส้หลอด และไฟสูงสำหรับเลี้ยงวงจร อย่างเช่น McIntosh C4 C8/C8s , Dynaco PAM-1, Heathkit WA-P2, Leak Varislope, QUAD 22, Marantz Model 1 เป็นต้น ถ้าใช้งานแบบเข้าชุดกันอย่างเช่น McIntosh C8 กับ MC-30, Dynaco PAM-1 กับ ST-70, Heatkit WA-P2 กับ W5m, QUAD 22 กับ QUAD II เป็นต้น ก็ใช้งานได้เลยไม่ต้องทำอะไรเพราะปกติจะมีจุดต่อภาคจ่ายไฟจากเพาเวอร์แอมป์มาเข้ากับปรีแอมป์ แต่ถ้าเอาเฉพาะปรีแอมป์แยกมาใช้งานต่างหากร่วมกับเพาเวอร์แอมป์อื่นจะต้องทำอย่างไร?
มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 3
มีบทความหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับแฟน Altec VOT มากนั่นก็คือแนวทางการเล่น Altec A5 ในแบบฉบับของ Jean Hiraga ที่ถ่ายทอดประสบการณ์โดย John Stronczer ผู้ออกแบบแอมป์หลอดให้กับ Bel Canto บทความนี้มีชื่อว่า ”La Voice of the Theater Chez Nous, Taming the ALTEC A5 Classic for Domestic Use” อ่านดูแล้วน่าสนใจ และนำมาเป็นแนวทางในการปรับ Altec VOT ให้เหมาะกับแนวการฟังเพลงของเราได้อย่างเหมาะสมครับ
มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 2
พอดีมีบทความหนึ่งที่เขียนโดย Jeff Markwart และ John Tucker นั่นก็คือบทความ ALTEC “Voice of The Theater” Speakers for Hi-Fi ในวารสาร Sound Practice ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับลำโพงฮอร์นได้อย่างออกอรรถรสเลยขอนำมาเล่าให้กับผู้อ่านดังนี้ครับ
ฟังลำโพงมาหลากรุ่นหลายยี่ห้อแล้วยังไม่เข้าหู ไม่ลองเล่นระบบลำโพงฮอร์นดูล่ะ… คำแนะนำที่อาจจะฟังดูแปลกๆไปสักหน่อย หลังจากทดลองฟังลำโพงคลาสสิค Altec Lansing A7-500W-1 Magnificents สำหรับรุ่น Magnificent เป็นลำโพง Altec ลงตู้แบบเฟอร์นิเจอร์ ย่อส่วนจาก A7 “Voice of The Theater” ใช้ฮอร์น 500Hz