วันอาทิตย์ที่ 24 ก.ค 2559 ที่ผ่านมามีงานสังสรรค์เฉพาะกิจของกลุ่มนักเล่นเครื่องเสียงดีไอวาย และวินเทจ ร่วมกันจัดงาน “DIY vs Vintage : เสือหนุ่มขยุ้มสิงห์เฒ่า” ที่โรงแรมเดอะ ภัทรา พระรามเก้า ผมมีโอกาสร่วมจัดงานขนข้าวของไปร่วมงานหลายรายการ แม้ช่วงวันจัดงานตัวผมเองจะอยู่บางช่วง แต่อยากเก็บมาเล่าให้อ่านกันครับ งานนี้เป็นการจัดงานโดยกลุ่ม thaidiyaudio.net และพี่ท่านหนึ่งซึ่งในกลุ่มวินเทจเรียกติดปากว่า “ป๋า oldies” เห็นพ้องกันว่าอยากจัดงานสังสรรค์ร่วมกันระหว่างกลุ่ม แต่เพื่อให้เกิดสีสันของงานที่น่าสนใจ เลยคิดธีมการจัดงานเป็นแนว “DIY vs Vintage” ปลุกเร้ากระแสกันในโลกโซเชียลกันครึกโครม แหย่กันไปแหย่กันมา แล้วค่อยมาเฉลยกันวันจัดงานว่าต้องการให้นักเล่นเครื่องเสียงทั้งสองแนวทางมีโอกาศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
เรื่องทั้งหมดโดย AnalogLism
Altec A5 & Jazz Mono (13 มี.ค 2559)
วินเทจสัญจรเที่ยวนี้บุกไปพัทยาไปเยี่ยมห้องฟังของคุณหมอท่านหนึ่ง เป็นนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจที่มาถึงเสียงที่ต้องการในช่วงเวลาไม่นานนัก เท่าที่จำได้ว่าคุณหมอเริ่มต้นจากการเดินหาเครื่องเสียงสำหรับมาฟังเพลงตามห้างร้านทั่วๆไป มีทั้งซื้อมาทดลองเล่นก็ยังได้เสียงไม่ถูกใจเสียที จนกระทั่งวันหนึ่งกลุ่มก๊วนนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจมีนัดกันที่โรงเตี๊ยมตาสว่าง ซึ่งเป็นบ้านของนักเล่นท่านหนึ่งที่นำเอาเครื่องเสียงวินเทจนอกกระแสมาเล่น ทำให้เหล่าสมาชิกได้เปิดหูเปิดตากับเครื่องเสียงวินเทจนอกกระแสมากมาย เลยเชิญชวนคุณหมอท่านนี้ไปเข้ามาฟังด้วยกัน หลังจากฟังเสียงจากเครื่องเสียงวินเทจแล้วก็พบคำตอบของแนวเสียงที่ค้นหา วิ่งตามเก็บเครื่องเล่นวินเทจหลายต่อหลายชิ้นโดยมีลำโพงตัวแรกที่เป็นตัวเริ่มต้นระบบนั่นก็คือ Altec A5 Voice of the Theatre
ตำนานมอนิเตอร์ฝั่ง UK (1 พ.ค 2559)
วินเทจสัญจรตอนนี้พาไปเยี่ยมชมห้องฟังของดีเจนักคิดนักเขียนนักแต่งเพลง ฯลฯ ท่านหนึ่งที่ชื่นชอบลำโพงฟากฝั่งอังกฤษเป็นพิเศษ เนื่องเพราะในห้องเดียวมีทั้ง Tannoy Westminster และ Buckingham Monitor อยู่ในห้องเดียวกัน!!! จุดเด่นของลำโพงมอนิเตอร์ค่าย Tannoy ที่เราท่านนึกออกในทันทีคือ เป็นนวัตกรรมลำโพงที่มีไดร์เวอร์ดอกเดียว มีทวีตเตอร์อยู่ตรงกลางวูฟเฟอร์ ให้เสียงได้ถูกต้องแม่นยำจากแหล่งกำเนิดเสียงเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเรียกว่าลำโพงแบบ “Dual Concentric” เป็นไดร์เวอร์ที่แตกต่างไปจากดอกลำโพงอื่นๆในอุตสาหกรรมการผลิตลำโพง เนื่องจากเป็นการสร้างให้ตรงกลางของวูฟเฟอร์จะมีทวีตเตอร์ทำงานร่วมกันในการสร้างเสียงเพลงออกมาแบบแกนกำเนิดเสียงเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้ผลิตลำโพงชั้นนำอย่างต่างก็ทราบถึงจุดเด่นของการวางไดร์เวอร์ในรูปแบบแกนร่วม หรือจัดวางให้วูฟเฟอร์ และทวีตเตอร์เป็นจุดกำเนิดเสียงจากจุดเดียวกัน แต่ก็ยังไม่มีผู้ผลิตรายได้ค้นพบทางออกของปัญหาทางวิศวกรรมอะคูสติคของไดร์ เวอร์แบบแกนร่วมได้สำเร็จ จนกระทั่ง Tannoy ได้สร้างลำโพงแบบ Dual Concentric ขึ้นมา
สานต่อตำนานลำโพง Western Electric (28 ก.ค 2558)
ติดค้างจากวินเทจสัญจรตอนที่ผ่านว่าจะเอาเรื่องราวเกี่ยวกับลำโพง GIP 5006 มาเล่าสู่กันฟังในตอนนี้ครับ ต้องย้อนรอยไปถึงประวัติลำโพงในสายวินเทจอเมริกา พบว่าคอมเพรสชันไดร์เวอร์แถวหน้าของทำเนียบอย่าง JBL 375, Altec 288 ต่างได้รับแนวทางในการพัฒนาไดร์เวอร์มาจาก “Western Electric” ชื่อ…ที่เปี่ยมมนต์ขลังสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ ซึ่ง GIP Laboratory ถือว่าเป็นสายตรงของการนำเอาเทคโนโลยีลำโพงวินเทจ Western Electric มาผลิตใหม่ จะมีทั้งไดร์เวอร์หลากหลายรุ่น ครอสส์โอเวอร์ และตู้ลำโพง ไปจนถึงระบบลำโพงที่พร้อมใช้งานทั้งในแบบของ Western Electric ดั้งเดิม และแบบผสมผสานขึ้นมาใหม่
อ่านเพิ่มเติม สานต่อตำนานลำโพง Western Electric (28 ก.ค 2558)
ส่งการบ้าน Garrard 301 (13 ก.พ 2559)
สืบเนื่องจากการที่สมาชิกในกลุ่มนักเล่นมักแวะเวียนกันไปฟังบ้านโน้นทีบ้านนี้ที จนกระทั่งมาถึงห้องที่เล่นซีสเต็มที่เป็นวินเทจในยุคพัฒนาคือใช้เทคโนโลยีวินเทจมาสร้างเป็นของใหม่นั่นก็คือลำโพง GIP 5005 ที่ผลิตไดร์เวอร์ตามสเปคของ Western Electric ดั้งเดิมเลย (ซีสเต็มนี้ไว้เล่าต่อในวินเทจสัญจรตอนหน้านะครับ) แต่ที่ไปสะดุดหูสะดุดตาสมาชิกท่านหนึ่งเข้าก็คือเทิร์นเทเบิลของ Shindo เผอิญว่ามีเทิร์นรุ่นเดียวกันนี้อยู่พอดี แต่ติดตั้งอาร์มสมัยใหม่เลยให้เสียงไม่ค่อยจะถูกใจในน้ำเสียงสักเท่าไหร่ ลองแอบกระซิบถามไถ่ราคา Shindo 301 ได้ความว่าปาเข้าไป 6 หลักปลายๆเกือบ 7 หลักเลยทีเดียว เลยเป็นทีมาของการนำเอา Garrard 301 ฝากกลับมาให้ผมทำการบ้านให้หน่อยครับว่าจะเข็นไปได้ถึงไหน
Tannoy Westminster Royal Mini Meeting (21 ม.ค 2559)
ลำโพงวินเทจฝั่งอังกฤษที่ครองใจนักเล่นมานานแสนนาน “Westminster Royal” เป็นระบบลำโพงที่ประสิทธิภาพสูงมากๆ และใช้แม่เหล็กหล่อโลหะผสม Alcomax 3 ไดร์เวอร์ความถี่สูงใช้ฮอร์นที่ยาวขึ้น เพื่อเพิ่มความยาวของทางเดินแม่เหล็ก ทำให้ลงตัวกับเสียงที่เกิดจากโหลดฮอร์นอะคูสติคบริเวณด้านหน้าตู้ ภายในตัวตู้มีโครงสร้างที่ซับซ้อน และสร้างมาเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถรีดประสิทธิภาพของไดร์เวอร์ Dual Concentric ออกมาได้มากที่สุด ตัวตู้ถูกสร้างขึ้นจากไม้อัดเบิร์ชเป็นโครงสร้างซับซ้อน และแข็งแรง ด้านหน้ามีฮอร์นโหลดทำหน้าที่เป็นปากฮอร์นสำหรับความถี่กลางต่ำ ตัวตู้ Westminster Royal จะมีความสูงกว่า Westminster HW ทั้งด้านบนและด้านล่างตู้เป็นไม้วอลนัตแท้ลายเดียวกับด้านหน้าตู้ Westminster Royal นับเป็นลำโพงในฝันของนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ ถ้าไม่อยากเสียเวลาควานหาตัว Original ก็ลองดูตัวปัจจุบัน Westminster Royal ที่ยังมีผลิตจำหน่ายอยู่ในซีรีย์ Prestige GR ซึ่งมีนักเล่นสองท่านใช้เล่นกับชุดวินเทจอยู่ เลยเป็นที่มาของ “ Tannoy Westminister Royal Mini Meeting” ในครั้งนี้
อ่านเพิ่มเติม Tannoy Westminster Royal Mini Meeting (21 ม.ค 2559)
แอบส่อง Electro-Voice Georgian (30 ธ.ค 2558)
หลายปีก่อนเคยเห็นลำโพงวินเทจอยู่คู่หนึ่งบนหน้าปกวารสารญี่ปุ่น Stereo Sound ฉบับพิเศษ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลำโพงวินเทจที่เข้าทำเนียบสุดยอดลำโพงวินเทจ ก็ยังนึกในใจว่าลำโพงคู่นี้สวย และดูแปลกมาก เป็นตู้ทรงสูงสีโอ๊คด้านล่างปิดทึบหมด มีทองเหลืองหล่อขึ้นรูปเหมือนกับ f Hole ของไวโอลิน ด้านบนกรุผ้าปิดทับด้วยทองเหลืองหล่อเป็นโครงตาข่ายห่างๆเหมือนเหล็กดัด พอศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ความว่าลำโพงคู่นี้คือ “Electro-Voice Georgian” นั่นเอง
เซ็ตอัพ Tannoy Westminster (19 ต.ค 2558)
ถ้าให้ลองตรองดูว่า “ลำโพงวินเทจในดวงใจ” สิบคู่นั้นมีอะไรบ้าง Tannoy Westminster Royal ก็คงเป็นหนึ่งในสิบนั้นอย่างมิพักต้องสงสัย ตัวตู้ผสมผสานระหว่างฮอร์นด้านหน้า และฮอร์นโหลดด้านหลัง ภายในมีความซับซ้อนมาก ใช้ไดร์เวอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Tannoy คือเป็น Dual Concentric ปัจจุบันลำโพง Tannoy Westminster GR ยังคงผลิตจำหน่ายอยู่ แต่ตัวไดร์เวอร์ได้รับการปรับปรุงให้สามารถรับกำลังขับได้สูงขึ้น และตอบสนองความถี่ได้ดีกว่ารุ่นก่อน ถ้าเป็น Westminister วินเทจความไวสูงจะไม่ค่อยจุกจิกกับการเลือกเพาเวอร์แอมป์มาเล่นมากนักจึงเครื่องเสียงมาขับได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ผลิตจำหน่ายในปัจจุบันค่อนข้างจะเลือกไปสักหน่อย เรียกได้ว่าเป็นไปได้ทั้ง “ขนม และยาขม” ถ้าหากเลือกชุดมาเล่นด้วยแมตช์หรือไม่?
เงาเสียงในตำนาน WE 91A
ถ้าให้นึกเบอร์หลอดซิงเกิลเอ็นด์ไตรโอดมาสักสามเบอร์ เบอร์ 300B คงเป็นเบอร์แรกที่นักเล่นมิใครต่อใครก็ต้องบอกออกมาเป็นแน่ แล้วเคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมหลอดเบอร์นี้จึงเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางนัก? ย้อนกลับไปราวๆปี ค.ศ. 1930 อเมริกันชนทั่วไปจะมีโอกาสฟังเสียงจากระบบเสียงที่ให้คุณภาพเสียงเต็มย่านจากเครื่องขยายเสียงหลอดในโรงภาพยนตร์เท่านั้น เพราะในยุคนั้นการฟังเพลงจะใช้แผ่นครั่งสปีด 78rpm เล่นผ่านฮอร์นปากแตรที่ขยายเสียงจากหัวเข็มในแบบอะคูสติคเสียงออกจะกระป๋องกระแป๋งมาก ยิ่งวิทยุกระจายเสียงในยุคนั้นคุณภาพเสียงไม่ต้องพูดถึง ดังสถานที่ใช้ฟังเพลงได้สมบูรณ์แบบที่สุดก็ต้องเป็นโรงภาพยนตร์
ชอบหลอดมีแสงครับ
นอกจากเรื่องเสียงหวานๆของแอมป์หลอดแล้ว เสน่ห์ของแสงส้มๆจางๆจากไส้หลอด 2A3, 300B หรือจะสว่างโร่แบบ 211, 845 ก็ดึงดูดใจให้เราชื่นชมกับเครื่องเสียงหลอด เรียกได้ว่าเสพทั้งเสียง และแสงเลยก็ว่าได้ เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับ ว่าหลอดมันมีแสงสีอื่นบ้างมั้ย? คำตอบคือ มีครับ มีแบบทั้งที่ตั้งใจให้เกิด และไม่ได้ตั้งใจให้มันเกิด