หลอด DHT (Direct Heat Triode) เบอร์ 112A เป็นหลอดที่ผมชอบน้ำเสียงเป็นการส่วนตัว เนื้อเสียง ไดนามิค รายละเอียด ความต่อเนื่องลื่นไหล โทนัลบาลานซ์ ไดนามิค อิมแพ็ค ครบเครื่องดีครับ สำหรับไลน์ปรีแอมป์ 112A ตัวนี้ผมขึ้นพร้อมกันสองตัว เลือกใช้ Line Output Transformer ของ Tango (อ่านแบบญี่ปุ่นว่า “ทังโกะ”) รุ่น NP-126 ซึ่งปัจจุบัน Tango เลิกผลิตไปแล้วทำให้ราคาหม้อแปลงรุ่นนี้เพิ่มสูงขึ้น 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม 112A DHT Line Preamp
เรื่องทั้งหมดโดย AnalogLism
Western Electric vs Japanese Vintage Hifi Style
11/06/2560 สมาชิกกลุ่มไปเยี่ยมห้องฟังคุณ Nott Tosapol ห้องแรกวางลำโพงไว้สองชุดคือ Western Electric 16A ใช้ไดร์เวอร์ฟีลด์คอลย์ WE 555 ไม่เสริมตู้เบสส์ หรือทวีตเตอร์ใดๆเลยใช้สำหรับการฟังโมโน ขับด้วยเพาเวอร์แอมป์ 101D P&C
อ่านเพิ่มเติม Western Electric vs Japanese Vintage Hifi Style
วินเทจมอนิเตอร์สารพัดนึก…RCA LC-1
ถ้ามีคนถามผมว่าลำโพงวินเทจยี่ห้อนี้รุ่นนี้เสียงดีมั้ย? ผมจะถามกลับทุกครั้งว่าใช้ฟังเพลงแบบไหน? คำตอบส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพลงแจ๊ส และเพลงร้อง ผมก็จะมีคำถามที่สองตามไปอีกว่าเป็นแจ๊สยุคไหน? เพราะลำโพงวินเทจจะให้เสียงออกมาสมบูรณ์แบบก็ต้องฟังเพลงในยุคของมัน อย่าง JBL Hartsfield ก็ต้องเป็นแจ๊สยุคเก่าเนื่องจากเบสส์ของลำโพง Hartsfield ลงได้ไม่ลึกเป็นลูกเหมือนกับลำโพง JBL รุ่นหลัง (แต่ถ้าจัด System Matching ลงตัวได้ Hartsfield จะสำแดงเดชได้สุดยอดครับ) หรืออย่าง JBL Monitor รุ่น 43xx พวกนี้ก็ไม่เหมาะกับแจ๊สยุคเก่าเนื่องจากให้เสียงกลางไม่ใหญ่ดิบแผดเหมือนลำโพง JBL รุ่นแรกๆทำให้อรรถรสการฟังเครื่องเป่าไม่สนุกเท่า เคยถามตัวเองเหมือนกันว่าแล้วมันมีมั้ยลำโพงวินเทจที่ฟังเพลงได้หลายยุคหลายสมัย???
เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 2 เพาเวอร์แอมป์
มาต่อกันกับเครื่องเสียงวินเทจที่เป็นเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งตัวเลือกมีเยอะมากหลายตัวเรียกได้ว่าหายไปจากตลาดประมูลต่างประเทศเกลี้ยง แต่ถ้าหาได้ก็เป็นเพาเวอร์แอมป์ที่น่าเล่น แม้จะไม่หวือหวาเหมือนกับตัวยอดนิยม แต่คุณค่าไม่ได้ลดลงตามกาลเวลาครับ เพาเวอร์แอมป์วินเทจที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ไม่ได้เรียงลำดับตามความนิยม มูลค่า หรือคุณภาพเสียง แต่กล่าวถึงตามลำดับที่นึกออก และยังคงมีวนเวียนในตลาดเครื่องเสียงวินเทจอยู่ครับ
อ่านเพิ่มเติม เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 2 เพาเวอร์แอมป์
DAC ESS Sabre32 with DHT I/V
DAC เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องเล่นซีดี หรือซีดีทรานสปอร์ตให้เป็นสัญญาณเสียงเพลง จะมีหัวใจหลักคือชิปไอซี DAC สำหรับทำหน้าที่แปลงดิจิตอลให้เป็นอนาลอก ซึ่งก็มีหลายแนวหลากสำนักทางให้เลือกใช้เบอร์ยอดนิยมได้แก่ NOS DAC, Wolfson, BB PCMxxx, ESS Sabre32 ซึ่งผมเลือกใช้เบอร์ ESS 9018 Sabre32 โดยใช้ชุดบอร์ดของ AckoDAC ในภาคดิจิตอล
เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 1 ปรีแอมป์
ข้อแตกต่างที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของเครื่องเสียงใหม่กับเครื่องเสียงวินเทจนั่นก็คือ มูลค่าของตัวเครื่องมีการแปรผันกับกาลเวลาแตกต่างกัน เครื่องเสียงใหม่มูลค่าของเครื่องจะแปรผกผันไปกับเวลาที่เพิ่มขึ้น เช่น ซื้อเครื่องใหม่ราคาหนึ่งแสนบาทฟังไปหนึ่งปี เบื่อเอาไปฝากขายราคาอาจจะเหลือแค่ครึ่งเดียว แต่เครื่องเสียงวินเทจหลายๆตัวกลับแปรฝันตามเวลาที่เพิ่มขึ้นเช่น ซื้อปรีแอมป์วินเทจราคาหนึ่งแสนบาท ฟังไปได้หนึ่งปีราคาเพิ่มขึ้นกลายเป็น 1.2 แสนบาท แต่ต้องเลือกยี่ห้อรุ่นที่นิยมเล่น และสะสมกัน หลายๆตัวยิ่งเก็บนานยิ่งเพิ่มมูลค่า ความจริงไม่ได้อยากจะชักชวนให้ท่านผู้อ่านแห่กันเข้ามาซื้อเก็บเครื่องเสียงวินเทจ จนทำให้ราคาเครื่องในปัจจุบันที่สูงอยู่แล้วจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก แต่อยากจะชักชวนนักเล่นบ้านเราเก็บเครื่องเสียงวินเทจที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในบ้านเรามากที่สุด หรือคิดว่าเป็นการลงทุนแบบฟุ่มเฟือย (Luxury Investment) อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะต่อให้บ้านเราไม่มีคนสะสม ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ก็ไล่กวาดเครื่องเสียงวินเทจเหล่านี้เข้ากรุสะสมเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว
อ่านเพิ่มเติม เครื่องเสียงวินเทจกับการลงทุน ตอนที่ 1 ปรีแอมป์
My way Vintage System
วินเทจสัญจรได้แวะเวียนไปเยี่ยมนักเล่นท่านหนึ่งที่มีแนวทางการเล่นในแบบฉบับที่มีความเป็นตัวตนชัดเจน ไม่ยึดแนวทางการเล่นของนักเล่นวินเทจกระแสหลัก เครื่องวินเทจที่ครอบครองก็ต่างไปจากวินเทจกระแสหลัก นักเล่นท่านนี้รู้จักผ่านทางเฟซบุคมาช่วงเวลานานพอสมควร แต่กลับเพิ่งรู้ว่าเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันในสาขาไฟฟ้าอุตสาหกรรม (IE) สจพ. (ปัจจุบันคือ มจพ.) ก็อาศัยความเป็นรุ่นพี่ขอบุกไปเยี่ยมกรุรุ่นน้องกันหน่อยครับ
Vintage Audio Experiment (8 ส.ค 2559)
ห้องโฮมเธียร์เตอร์หลังติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการรับชมภาพยนตร์ครบเรียบร้อยแล้ว บรรดาลำโพงของชุดโฮมเธียร์เตอร์ถูกติดตั้งบนผนังทั้งหมด จะมีวางพื้นก็เพียงสับวูฟเฟอร์ตัวเดียว อุปกรณ์ต้นทางเพาเวอร์แอมป์ทั้งหลายติดตั้งบนชั้นวางด้านหลังห้อง พบว่ายังพอมีที่จัดวางเครื่องเสียงวินเทจสำหรับใช้ในการฟังเพลงเพิ่มเติมได้อีก แต่อยากให้ชุดนี้สามารถเลือกเล่นได้หลากหลายจากเครื่องเสียงวินเทจที่สะสมไว้ เลยเพิ่มอุปกรณ์ขึ้นมาตัวหนึ่งนั่นคือ Pre-Speaker-Amp Selector JS-24 ทำให้สามารถเลือกเล่นเพาเวอร์แอมป์ได้ 4 ชุด ปรีแอมป์ 2 ชุด และลำโพง 2 ชุด ในชุดนี้วางลำโพงหลักเป็น JBL Hartsfield 9 ตู้แท้เวอร์ชันแรกวูฟเฟอร์ติดจากด้านบน และไดร์เวอร์ 375 สีเทาไดร์เวอร์ทั้งชุดเป็น รุ่น Big L ทั้งหมด ลำโพงรองแล้วแต่จะยกตัวไหนออกมาลองเล่น ในวันที่เซ็ตอัพได้ยกเอา RCA LC-1A ในตู้ RCA MI-11406 มาวางด้านหน้า เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของ Pre-Speaker-Amp Selector
Keep it Analog Meeting 2016 (18 ก.ย 2559)
“Keep it Analog “ เป็นชื่อกลุ่มนักเล่นบนเฟซบุคที่นิยมการฟังเพลงจากแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นอะนาล็อคเช่น แผ่นเสียง และเทปรีล เป็นกลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องจัดงานเพื่อให้สมาชิก และผู้สนใจได้เปิดหูเปิดตา รับข้อมูลของแนวทางการเล่นเครื่องเสียงของกลุ่มเป็นประจำ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 18 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา โดยกำหนดธีมของงานเป็น “USA Meet UK” โดยนำเอาลำโพงวินเทจฝั่งอเมริกามาชนกับฝั่งอังกฤษ พยายามจัดเครื่องเสียงให้ตรงกับธีมของงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
บนเส้นทางของ Vintage Hifi (21 ส.ค 2559)
ความทรงจำชัดเจนเหมือนเกิดขึ้นไม่นานสักเท่าไหร่ เมื่อนายแบงค์หนุ่มใหญ่ที่หอบหิ้วเครื่องเล่นเทป กับเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบอัตโนมัติมาให้ผมช่วยดูแล ในขณะนั้นคุณเบิ้น (ชื่อเล่นของนายแบงค์หนุ่มใหญ่ครับ) ยังไม่ได้สัมผัสถึงนิยามของเสียงในแบบ “Vintage Hifi” เลยถือโอกาสเชิญเข้ามาฟังลำโพงลูกผสม Karlson K-15 กับฮอร์น Altec 511B กับเครื่องเล่นแผ่นเสียง ในตอนนั้นเผอิญว่ามีแผ่นอัลบั้ม “จูบ”ของคุณพิทยา บุณยรัตพันธุ์ เสียงแรกจากแทร็คแรกหน้าแรกเหมือนมนต์สะกดให้คุณเบิ้นเริ่มก้าวแรกสู่การเล่นในแบบ Vintage Hifi และผมก็เห็นพัฒนาการการเล่นมาโดยตลอด ที่น่าสนใจคือ การเล่นแบบมีเสียงที่ต้องการอยู่ในใจแล้วทำให้สามารถเดินทางไปสู่จุดหมายได้รวดเร็วมาก