จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism
James B. Lansing (ผู้แปล: Jim หรือ James คนเดียวกันครับ) เคยลองไปสมัครงานบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ Nathaniel Baldwin Company ในตำแหน่งงานในโรงงานผลิตวิทยุ, หูฟัง และลำโพง ที่ Salt Lake City โดยมี Mr.Baldwin เป็นผู้สัมภาษณ์ แต่ก็ไม่ได้ถูกว่าจ้างให้ทำงานที่โรงงาน แต่เขาก็ได้ทำงานที่สถานีวิทยุท้องถิ่น และหลังจากนั้ันก็ไปทำงานที่ Felt Auto Parts Company ซึ่งได้เสริืมทักษะด้านเครื่องยนต์กลไกให้กับเขาเป็นอย่างดี ในช่วงที่ทำงานอยู่เขาก็ได้เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับการสร้างลำโพง โดยลองสร้างกรวยกระดาษขึ้นมาใหม่แล้วยึดกับโครงไดรเวอร์ของ Nathaniel Baldwin ลำโพงแบบกรวยในยุคนั้นเพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นลำโพงที่มีแนวโน้มว่าให้คุณภาพเสียงดีกว่าลำโพงฮอร์นแบบคอห่าน
ในฤดูใบไม้ร่วง 1925 เขาก็ได้พบกับ Glenna Peterson และออกเดดกันเป็นครั้งแรก ซึ่งเขาก็ได้รู้จักกับพี่ชายเขา Fred สายสัมพันธ์ของเขากับครอบครับ Peterson ได้พาให้ James รู้จักกับ Kenneth Decker ซึ่งครอบครับของเขาทำธุรกิจเกี่ยวกับอัญมณี James และ Kenneth ได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการก่อตั้งโรงงานผลิตลำโพงสำหรับเครื่องรับวิทยุ ต่อมา Jim ก็ลาออกจาก Felt Auto Parts และเช่าที่ทำงานในแถบดาวน์ทาวน์ที่ Salt Lake City โดยจ้าง Fred Peterson เป็นพนักงานบริษัท โดย Fred ทำหน้าที่ติดต่อลูกค้า, Decker ดำเนินธุรกรรมต่างๆ, James ออกแบบลำโพง, และทำงานอยู่ในตึกเดียวกัน ผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งก็เริ่มประสบความสำเร็จ–ซึ่งมากพอที่จะดึงดูดให้ Nathaniel Baldwin สนใจ โดน Mr. Baldwin ยินดีจ่ายเงินเพื่อเข้ามาเยี่ยมฐานการผลิต และยื่นข้อเสนอในการซื้อบริษัทของเขา ครั้งนี้เป็นฝ่าย James เป็นผู้ตอบปฏิเสธ
Lansing Manufacturing Company
ช่วงหลังปลายของยุค 1920 อุตสาหกรรมผลิตเครื่องรับวิทยุขยายตัวอย่างรวดเร็ว, ไปสู่ Los Angeles, California, ซึ่งกลายเป็นที่ๆมีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องมากที่สุดในฝั่งตะวันตก ของอเมริกา James และ Kenneth ก็เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจที่มากกว่าเดิมที่ Salt Lake City พวกเขาเลยย้ายมาทำธุรกิจที่ Los Angeles ในต้นปี 1927 โดยเซ้งที่ืำงานใหม่แถวๆ Santa Barbara Avenue ในช่วงนั้น James ได้เปลี่ยนชื่อตามกฏหมายว่า James Bullough Lansing และทำการจดทะเบียนบริษัท Lansing Manufacturing Company ที่ California ในวันที่ 9 มีนาคม 1927
ลำโพงแบบกรวยเริ่มเบียดให้ลำโพงฮอร์นแบบคอห่านหายไปจากตลาดจนหมดสิ้น ปกติลำโพงในยุคจะขายแยกจากเครื่องรับวิทยุ ซึ่งยังไม่มีการใส่ลำโพงภายในไว้ภายในเครื่องรับวิืทยุ สินค้าของ Lansing เหมาะสมกับความต้องการในช่วงเวลานี้มาก เป็นไดร์เวอร์แบบกรวยกระดาษขนาด 10″ ลงตู้ไม้ทีมีผ้าหุ่มด้านหน้าและด้านหลัง ในเดือนมิถุนายน 1928 บริษัท Lansing Manufacturing ได้ลงโฆษณาขายลำโพงรุ่น Lansing Deluxe ลงในวารสารเรดิโอ โดยแจ้งไว้ในโฆษณาว่า “ดีที่สุดจนน่าประหลาดใจ” ลำโพงแต่ละรุ่นของ Lansing มีราคาตั้งแต่ $20.00 ถึง $42.50 ในช่วงเวลานี้พวกเขาได้ย้ายที่บริษัทไปที่ 6626 McKinley Avenue, Los Angeles ที่ทำงานใหม่นี้พื้นที่มากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของบริษัท และอยู่ใกล้กับบริษัท Jackson Bell ผู้ผลิตเครื่องรับวิทยุรายใหญ่ ในปี 1928 ถือเป็นหลักไมล์แรกในชีวิตของ Lansing ต่อมาในเดือนพฤษจิกายนJames B. Lansing ก็ได้แต่งงานกับ Glenna Peterson ใน Los Angeles และย้ายไปอยู่บ้านเล็กๆในระแวกใกล้เคียงแถบโรงงาน McKinley
ลำโพงแบบขดลวดเคลี่อนที่เริ่มเป็นที่ชื่นชอบเหนือลำโพงแบบอื่นๆ เนื่องจากกรวยสามารถรับการสั่นสะเทือนได้มากกว่าแบบอื่นๆ การตอบสนองด้านเสียงเบสส์เป็นข้อจำกัดอย่างมากของลำโพงกรวย เนื่องจากกรวยลำโพงขณะนั้นเคลื่อนที่เข้าออกได้ไม่มาก เมื่อเจอเสียงเบสส์แรงๆกลไกก็จะกระแทกกันเกิดเป็นเสียงแป๊กๆ บริษัท Lansing Manufacturing จึงได้เริ่มพัฒนาลำโพงแบบขดลวดเคลื่อนที่คุณภาพดีขึ้นมา โดยใช้โครงสร้างแบบฟิลด์คอยล์ Company began producing fine-quality moving coil speakers ในยุคนั้นมีเพียงแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้นที่ใช้งานได้ เพราะยังไม่มีการพัฒนาให้วัสดุประเภทแม่เหล็กถาวรยังไม่มีความแรงของเส้นแรง แม่เหล็กเพียงพอ
พอมาถึงช่วงปี 1931 เศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก รายได้ของคนส่วนใหญ่หดหายทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยอย่างเครื่องรับวิทยุก็ตัว ปรับตัวใหม่ให้มีขนาดเล็กลงเรียกวิทยุแบบใหม่นี้ว่า Cathedral ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมอย่างมาก วิทยุแบบนี้ออกแบบให้มีลำโพงขนาดเล็กอยู่ในกล่องเดียวกันกับเครื่องรับวิทยุ เลย บริษัท Lansing Manufacturing ก็ได้พัฒนาลำโพงรุ่น 4″, 6″, และ 8″ และเริ่มต้นผลิตออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อป้อนให้กับโรงงานผลิตเครื่องรับวิทยุ ในต้นนี้บริษัทขยายตัวขึ้นมากมีพนักงานกว่า 40 คน รวมถึงพี่ชายของ James Lansing นั่นคือ Bill Martin และ George Martin ในปี 1933 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้กำแพงด้านหลังโรงงานถล่มลงมา และก็ได้ตัดสินใจย้ายบริษัทไปที่ใหม่ถัดไปไม่กี่บล๊อกมีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นคือ 6900 McKinley Avenue
The Shearer Project
ยุคต้นของช่วงปี 1930 ถืิอเป็นจุดสิ้่นสุดของหนังเงียบ โรงภาพยนต์ทั้งหมดเริ่มแข่งขันกันเรื่องจุดเด่นของระบบเสียง ในยุคนั้นฮอลลีวูดเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งอเมริกาที่ตั้งไม่ไกลจากบริษัท Lansing Manufacturing สักเท่าไหร่ขับรถเพียงห้านาทีก็ถึงแล้ว สตูดิโอชื่อดังอย่าว Metro Goldwyn Mayer Studios (หรือ MGM) กำลังเดินหน้าในการค้นหาเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการบันทึกเสียง และเล่นกลับ การปลุกเ้ร้าให้ภาพยนตร์มีเสียงเกิดขึ้นทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นอย่างรีบเร่ง ทำให้เครื่องมืออุปกรณ์ในยุคแรกๆออกแบบมาอย่างดิบๆลวกๆ หัวหน้าวิศวกรระบบเสียงของ MGM ชื่อ John Hilliard ตัดสินใจใช้ระบบแอมป์บันทึกเสียง ซึ่งใช้งานมาตั้งแต่ปี 1950 เป็นแอมป์ที่มีการเลื่อนเฟสมากถึง 1500 องศา เนื่องจากหม้อแปลงที่ใช้งานมีคุณภาพแย่มากๆ ทำให้เกิดความเพี้ยนอย่างมากของเสียงพูด เพื่อนของ Hilliard ชื่อว่า Dr. John Blackburn แนะนำให้เขารู้จักกับ James Lansing ผู้ซึ่งมอบหมายงานให้กับเขาทำงานร่วมกับวิศวกร Ercel Harrison เพื่อออกแบบปรับปรุงหม้อแปลงให้ดีขึ้น Harrison ประสบผลสำเร็จในการพัฒนา และได้ผลิตหม้อแปลงขึ้นมาใหม่โดยบริษัท Lansing Manufacturing หม้อแปลงใหม่นี้ลดการเกิดการเลื่อนเฟสของแอมป์บันทึกเสียงของ MGM ลงมาให้ต่ำกว่า 360 องศา
MGM ควบคุมเครือข่ายโรงภาพยนตร์ Loews ซึ่งดำเนินกิจการโรงภาพยนตร์กว่า 130 โรงทั่วอเมริกา ซึ่ง MGM ไม่ค่อยจะถูกอกถูกใจนักกับลำโพงที่ใช้ในโรงภาพยนตร์เหล่านี้ ลำโพงโดยส่วนมากจะเป็นระบบ “Wide Range” สร้างขึ้นโดย Western Electric ระบบลำโพงนี้มีมาตั้งแต่ปี 1933 เป็นระบบลำโพงสามทางออกแบบให้แยกไดร์เวอร์ความถี่ต่ำ, กลาง และความถี่สูง ลำโพงเีสียงกลางมีขนาดใหญ่มากเป็นฮอร์นโค้งคล้ายหอยทาก เรียกว่า “Snail Horn” ใช้ไดร์เวอร์เป็นคอมเพรสชันไดร์เวอร์ เป็นระบบที่ตกทอดมาจาก “Voice of Action” ของ Western Electric ที่เป็นระบบลำโพงทางเดียวใช้งานในปี 1927 ระบบลำโพง Wide Range เสริมฮอร์นหอยทากด้วยวูฟเฟอร์แบบกรวย ร่วมกับทวีตเตอร์แบบฮอร์น ติดตั้งลงแผ่นแบฟเฟิลเรียบๆในระดับเดียวกับเวทีจอภาพยนตร์ เป็นผลทำให้เกิดเสียงสะท้อนมาก ระบบลำโพงนี้มีข้อจำกัดในการสร้างเสียงให้มีความดังโดยให้มีความเพี้ยนต่ำ และปัญหาใหญ่มากเนื่องจากโรงภาพยนตร์ Loews theatres มีขนาดใหญ่จำนวนที่นั่งระหว่าง 2,000 ถึง 5,000 ที่นั่ง ต้องเปิดดังเสียงจะกระจายได้ทั่วถึง ผลคือที่ความดังขนาดนี้เสียงก็จะเต็มไปด้วยความพร่าเพี้ยน
วิศวกรจากแล็ป Bell Telephone ได้พัฒนาระบบลำโพงฮอร์นสองทางขึ้นมาใหม่ เป็นงานออกแบบระดับสเตต-ออฟ-ธิ-อาร์ตของระบบเสียงเท่าที่มีการทดลองกันในปี 1933 เรียกระบบลำโพงนี้ว่า “Fletcher Horn System” ตามชื่อของโปรเจ็คไดเร็คเตอร์ของห้องแล็ปเบลล์ Harvey Fletcher เป็นระบบลำโพงที่ให้พลังงานเสียงได้มาก, การตอบสนองความถี่กว้าง และความเพี้ยนต่ำ ภายหลังจากการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าระบบลำโพงนี้ก็พร้อมให้ MGM ทำการประเมิน ซึ่ง Hilliard พบว่าระบบลำโพงนี้ทำงานได้ยอดเยี่ยมมาก ขนาดความยาวที่ต่างกันถึงแปดฟุตระหว่างไดร์เวอร์ความถีู่สูง และความถี่ต่ำ และยังคงเกิดการก้องสะท้อนเสียงมากเช่นเดียวกับระบบ Wide Range เขาได้ทดลองเปลี่ยนตำแหน่งฮอร์นความถี่สูงให้ถอยหลังสัมพันธ์กับเบสส์ฮอร์น พบว่าอาการก้องสะท้อนหายไป พอเลื่อนฮอร์นมาด้านหน้าทีละนิดก็ยังไ่ม่เกิดปัญหาจนกระทั่งเหลืิอหนึ่งฟุต สุดท้ายก็พบว่าต้นเหตุปัญหามาจากการเหลื่อมของเวลาระหว่างไดร์เวอร์นี่เอง
John Hilliard ขอคำปรึกษากับ Douglas Shearer ซึ่งเป็นเจ้านายของเขาที่หน่วยงานระบบเสียงของ MGM เกี่ยวกับระบบ Fletcher Horn สำหรับติดตั้งในโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ MGM ก็แจ้งความประสงค์ไปที่ Electrical Research Products, Inc. เป็นสาขาของ Western Electric that a contract สำหรับปรับปรุงระบบทั้ง 150 โรงภาพยนตร์ให้รวดเร็วที่สุดหลังจากที่ต้นแบบได้ทำการทดสอบผ่านไปแล้ว ในช่วงปลายปี 1934 พบในรายงานความก้าวหน้าของคำขอปรับปรุงระบบ MGM ไม่ได้รับการสนองตอบใดๆจาก ERPI ทำให้ระบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งทาง Western Electric ก็ค่อนข้างพอใจที่ระบบ Wide Range ของเขายังคงติดตั้งอยู่เหมือนเดิม และไม่มีความต้องการใหม่ๆเกี่ยวกับระบบลำโพงโรงภาพยนตร์
Hilliard และ Shearer กลับมานั่งปรึกษากันใหม่ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ถ้าระบบใหม่จะอาศัยพื้นฐานการออกแบบของ Fletcher แต่ครั้งนี้พวกเขาต้องลงมือพัฒนากันเอง หัวหน้า MGM สตูดิโอ Louis B. Mayer อนุมัติโครงการนี้โดยตรงโดยใช้โรงภาพยนตร์ Loews Theatres ที่ใหญ่ที่สุดในการสอบครั้งนี้ Hilliard ทำหน้าที่รวบรวมทีมงานเพื่อพัฒนาระบบลำโพงนี้ โดยมี James Lansing ทำหน้าที่สร้างไดร์เวอร์ลำโพง, มี Dr.John Blackburn เป็นที่ปรึกษาในด้านการออกแบบของพวกเขา, Harry Kimball เป็นวิศวกรออกแบบครอสส์โอเวอร์เน็ตเวิร์ค, Robert Stephens ช่างเขียนแบบที่ MGM ถูกมอบหมายให้ออกแบบฮอร์นความถี่สูงแบบมัลติเซลล์ และดูแลงานสร้างที่ช็อปโลหะของ MGM เมื่อทาง RCA ทราบเรื่องเกี่ยวกับโครงการนี้ พวกเขาก็ส่งวิศวกรระดับหัวกระทิอย่าง Harry Olson และ John Volkmann มุ่งตรงมาแคลิฟอเนียเพื่อให้คำปรึกษา ทาง ERPI พบว่าตัวเองถูกเขี่ยให้ออกจากกลุ่มนักออกแบบ ก็เลยเสนอสัญญาว่จะให้ความร่วมมือทุกประการในโครงการนี้
ระบบใหม่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา Olson แนะนำว่าให้สร้างเบสส์ฮอร์นให้เป็นปากแบบตัว “W” สำหรับความถี่ต่ำลงไปได้ถึง 50 Hz ปากฮอร์นเป็นแบบเอ็กโปเนนเชียล หลังจากที่ลองต้นแบบกับไดร์เวอร์สองสามแบบพบว่า วูฟเฟอร์กรวยกระดาษขนาด 15″ แบบฟีลด์คอยล์ที่มีวอยซ์คอยล์ 2″ ให้ประสิทธิภาพดีที่สด หนึ่งในสี่นั้นก็คือวูฟเฟอร์ของ Lansing model 15XS ซึ่งถูกใ้ช้ในการประกอบเข้ากับระบบโดยใ้ช้ไดร์เวอร์สองตัวต่อตู้เบสส์ฮอร์นหนึ่งตัว
มีการสร้างต้นแบบคอมเพรสชันไดร์เวอร์สำหรับความถี่สูงสองสามแบบ ซึ่งสร้างโดย James Lansing ไดร์เวอร์ทั้งหมดอาศัยพื้นฐานมาจากไดร์เวอร์ของระบบลำโพง Fletcher System แต่มีขนาดไดอะแฟรม และช่องเสียงออกต่างกัน ไดร์วเวอร์ของ Fletcher ใช้ไดอะแฟรท 4″ และมีช่องเสียงออก 2″ ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และประสิทธิภาพต่อกำลังที่ป้อนต่ำมาก จึงลองสร้างไดร์เวอร์ขนาดไดอะแฟรม 2″ และช่องเสียงออก 1″ ผลสุดท้ายออกมาเป็นไดร์เวอร์ที่มีขนาดไดอะแฟรม 2.84″ มีเฟสปลั๊กสามส่วนติดตั้งตรงกลาง และมีช่องเสียงออก 1.5″ และกลายเป็นการถือกำเนิดของคอมเพรสชันไดร์เวอร์ของ Lansing รุ่น 284 มีการทดลองสร้างฮอร์นแบบ Multicellular ที่มีการกำหนดจำนวนเซลล์ต่างกันออกไปเพื่อใช้สำหรับความต้องการที่แตกต่าง กันของโรงภาพยนตร์ โดยมีฮอร์นที่สร้างขึ้นสำหรับการทดสอบดังนี้ 2×3, 2×4, 2×5, 2×6, 3×3, 3×4, และ 3×5 เซลล์
Douglas Shearer และ John Hilliard เป็นผู้ควบคุมการติดตั้งระบบลำโพงฮอร์นสองทางนับสิบชุดให้กับโรงภาพยนตร์ Loews ทั่วประเทศเพื่อให้ทันการฉายภาพยนตร์ “Romeo and Juliet,” ซึ่งนำแสดงโดยน้องสาวของ Douglas เองนั่นคือ Norma Shearer ระบบลำโพงนี้ประสบผลสำเร็จอย่างล้นหลาม และ MGM ก็ได้ทำสัญญากับ RCA และ ERPI เพื่อผลิตลำโพงระบบใหม่เพื่อป้อนให้กับโรงภาพยนตร์ Loews อีก 75 แห่ง ซึ่งงานก็ถูกส่งต่อมาให้กับบริษัท Lansing Manufacturing ซึ่งทำหน้าที่ผลิตไดร์เวอร์ลำโพงให้กับ RCA เพื่อนำไปใช้สร้างระบบลำโพง MGM ถูกเสนอให้รับรางวัล Academy Award ในปี 1936 สำหรับเทคโนโลยีระบบเสียงยอดเยี่ยมสำหรับระบบ Shearer Horn System
Lansing Manufacturing ในท้ายช่วงยุค 1930
การแจ้งเกิดของโครงการ Shearer Horn ได้แสดงให้เห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆสำหรับ James Lansing และบริษัทของเขา ซึ่งตัวเขาเองได้ซึมซับความรู้สึกพิเศษต่อพรหมลิขิคที่ดึงให้เขามาร่วมสร้าง ระบบลำโพงระดับสุดยอดสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และเป็นจุดที่น่าจะก้าวเดินต่อไป สายการผลิตเดิมสำหรับการผลิตลำโพงเดี่ยวๆสำหรับป้อนตลาดเครื่องรับวิทยุ เริ่มลดจำนวนลง และบริษัท Lansing Manufacturing ยังคงป้อนลำโพงให้กับลูกค้าที่นำไปผลิตเครื่องรับวิทยุอยู่ แต่กลับทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายลำโพงที่ผลิตโดยบริษัท Magnavox แทน ทรัพยากรการผลิตทั้งหมดของบริษัททุ่มลงไปที่การผลิตลำโพงสำหรับโรงภาพยนตร์ ในปี 1936 สายการผลิตของบริษัท Lansing Manufacturing เดินเครื่องเต็มกำลังสำหรับผลิตคอมเพรสชันไดรเวอร์, ฮอร์นแบบมัลติเซลลูลาร์, ไดร์เวอร์เบสส์, ตู้เบสส์ฮอร์น, ภาคจ่ายไฟสำหรับฟีลด์คอยล์ และเน็ตเวิร์คแบ่งความถี่ โบรชัวร์สำหรับ Lansing Shearer Horn ระบุข้อความดังนี้: “เรายืนยันอย่างไม่ลังเล, ไม่เกรงต่อตำโต้แย้้งใดๆ, ว่าระบบ Shearer Horn ที่ผลิตโดยบริษัท Lansing Manufacturing เป็นระบบเสียงที่ดีที่สุดที่คุณจะสัมผัสได้ในโรงภาพยนตร์ของคุณ”
หน่วยงาน ERPI ของ Western Electric ได้ทำการผลิตระบบลำโพงฮอร์นสองทางขึ้นมาใหม่ ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับ Shearer Horn มันถูกเรียกว่า “Diphonic” และเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์โรงภาพยนตร์ในไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ “Mirrophonic” พวกเขาระบุว่าคอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่น 284 ที่ผลิตโดย Lansing ว่าเหมือนกันกับคอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่นใหม่ของเขานั่นคือ 594A ซึ่งอันที่จริงแล้วทั้ง 284 และ 594A ต่างพัฒนาต่อจากคอมเพรสชันไดร์เวอร์ของระบบ Fletcher ซึ่งทาง Western Electric ได้แจ้งกับทาง Lansing ว่าเขาได้ละเมิดสิทธิบัตรเลขที่ #2,037,197 ของ Edward Wente ซึ่งระบุถึงไดร์เวอร์ของ Fletcher โดยเฉพาะจุดที่ Lansing มีการใช้เฟสปลั๊กแบบ concentric-slit
Dr. John Blackburn ตอนนี้ได้กลายเป็นพนักงานของบริษัท Lansing Manufacturing ได้ค้นคว้าออกแบบเฟสปลั๊กขึ้นมาใหม่เป็นแบบ radial-slit ที่ทำหน้าที่เดียวกันกับงานออกแบบ concentric-slit ของ Wente แต่ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรที่มีมาก่อนแล้ว โดย Dr. Blackburn ได้ขอจดสิทธิบัตรและได้รับเขที่สิทธิบัตร # 2,183,528 สำหรับงานออกแบบใหม่ของเขา คอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่นใหม่ของ Lansing ก็ถูกเปลี่ยนไปใช้เฟสปลั๊กแบบ radial-slit และเปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น 285
ระบบ Lansing Shearer Horn ก็ได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับระบบเสียงโรงภาพยนตร์ขึ้นแล้ว แต่ยังคงเป็นระบบลำโพงที่มีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับการนำไปใช้งานในการ มอนิเตอร์เสียงให้ห้องสตูดิโอตัดต่อ และสตูดิโอการจายเสียง เพื่อตอบรับกับความต้องการระบบที่มีขนาดเล็กลงโดยยังคงคุณภาพเสียงได้ระดับ เดียวกับกับระบบ Shearer จึงเป็นที่มาของระบบ Lansing Monitors สามรุ่นซึ่งได้เปิดตัวในปี 1936 ใช้คอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่น 285 ร่วมกับฮอร์นแบบมัลติเซลลูลาร์ลงความถี่ได้ถึง 500 Hz และใช้ไดร์เวอร์เบสส์ 15XS หนึ่งหรือสองตัวลงตู้เบสส์ฮอร์นแบบ W ที่ลดขนาดลงมา ระบบลำโพงนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับสตูดิโอในฮอลลีวูด และจำหน่ายให้กับกองทัพสหรัฐไปหลายตัว
ในปี 1937 บริษัท Lansing Manufacturing ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่กลายมาเป็นตัวหลัก นั่นคือระบบลำโพงมอนิเตอร์แบบสองทาง Lansing Iconic เพื่อสนองตอบต่อความต้องการใช้งานระบบลำโพงขนาดเล็ก และมีคุณภาพสูงกว่า Lansing Monitors ลำโพงมอนิเตอร์รุ่น Iconic เติมเต็มความต้องการที่สมบูรณ์แบบ Dr. Blackburn ได้พัฒนาคอมเพรสชันไดร์เวอร์รูปแบบใหม่มีขนาดเล็กลงเรียกว่ารุ่น 801 จุดเ่ด่นของมันคือใช้ไดอะแฟรม 1.75″ ใช้เฟสปลั๊กสองส่วนแบบ concentric-slit และช่องทางออกเสียงขนาด 1″ และใช้ร่วมกับฮอร์นแปดช่องความถี่ 800 Hz ขนาดกระทัดรัด ใช้ไดร์เวอร์เบสส์ตัวเดียวติดตั้งลงตู้เบสส์รีเฟล็กซ์ขนาด 6 ลูกบากศ์ฟุต ระบบลำโพงนี้สามารถให้พลังเสียงระดับสูงออกมาโดยมีความเพี้ยนต่ำมาก และครอบคลุมย่านความถี่จาก 40 Hz ถึง 10 kHz ในขนาดโดยรวมเล็กมาก ทำให้ระบบลำโพงนี้ประสบผลสำเร็จในทันทีที่ออกสู่ตลาด มีรุ่นที่ทำตู้ในแบบเฟอร์นิเจอร์เช่นกันโดยเรียกเป็นรุ่น Salon ผลิตออกมาสำหรับใช้งานคอมเมอร์เชียล และติดตั้งในบ้านซึ่งเน้นความสวยงามชวนมอง
ในช่วงปลายของยุค 1930 บริษัท Lansing Manufacturing พยายามพัฒนาตลาดลำโพงโรงภาพยนตร์อย่างหนัก ส่วนประกอกลำโพงถูกจัดจำหน่สยไปยัง International Projector Corporation ในอเมริกา และบริษัท Raycophone Company ในออสเตรเลีย ในช่วงนั้น Lansing Manufacturing ได้เริ่มต้นจำหน่ายแอมป์ และอุปกรณ์ิอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยการนำของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้นั่นคือ Ercel Harrison. ถึงอย่างไรก็ตามการเพิ่มช่องทางสินค้าใหม่ๆไม่ได้สร้างผลกำไนเพียงพอให้กับ บริษัท ในช่วงเวลานั้นเอง Dr. John Blackburn ก็ได้ลาออกจากบริษัท เพื่อไปรับงานใหม่ที่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ในการทำงานพัฒนาโครงการให้กับรัฐบาลอเมริกา ผลกระทับที่หนักที่สุดที่สั่นคลอนองค์กรอย่างหนักนั่นคือในวันที่ 10 ธันวาคม 1939 เมื่อ Kenneth Decker ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารการเงิน และเป็นหุ้นส่วนของ Lansing มาตั้งแต่วันก่อตั้งบริษัท ประสบอุบัติเหุตเครื่องบินตก
ในช่วงปลายของยุค 1930 บริษัท Lansing Manufacturing พยายามพัฒนาตลาดลำโพงโรงภาพยนตร์อย่างหนัก ส่วนประกอกลำโพงถูกจัดจำหน่สยไปยัง International Projector Corporation ในอเมริกา และบริษัท Raycophone Company ในออสเตรเลีย ในช่วงนั้น Lansing Manufacturing ได้เริ่มต้นจำหน่ายแอมป์ และอุปกรณ์ิอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยการนำของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้นั่นคือ Ercel Harrison. ถึงอย่างไรก็ตามการเพิ่มช่องทางสินค้าใหม่ๆไม่ได้สร้างผลกำไนเพียงพอให้กับ บริษัท ในช่วงเวลานั้นเอง Dr. John Blackburn ก็ได้ลาออกจากบริษัท เพื่อไปรับงานใหม่ที่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ในการทำงานพัฒนาโครงการให้กับรัฐบาลอเมริกา ผลกระทับที่หนักที่สุดที่สั่นคลอนองค์กรอย่างหนักนั่นคือในวันที่ 10 ธันวาคม 1939 เมื่อ Kenneth Decker ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารการเงิน และเป็นหุ้นส่วนของ Lansing มาตั้งแต่วันก่อตั้งบริษัท ประสบอุบัติเหุตเครื่องบินตก
Altec Lansing Corporation
บริษัทที่เจริญเติบโตภายใต้การควบคุมของเจ้าของคนใหม่ โดยยังคงบริษัท Altec Service Corporation ไว้เป็นบริษัทเสริม, มีฐานออฟฟิคอยู่ในนิวยอร์ค และทำหน้าที่คอยควบคุมช่างเทคนิคทำหน้าที่บำรุงรักษาระบบที่กระจายอยู่ทั่ว ประเทศ ในช่วงที่ Pearl Harbor โดนถล่มอย่างหนักเป็นเวลาสามวันส่งผลโดยตรงกับบริษัททีำดำเนินการผลิตทั้ง หมดต้องหยุดสนิทจนกว่าสงครามจะสงบ ทำให้ไม่มีสินค้าที่เป็นระบบเสียงที่ต้องส่งมอบให้กับรัฐบาล และบริษัทยังได้รับสัญญาใหม่ๆหลายชุดในการส่งมองหม้อแปลง และเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายรายการ ภายใต้เงื่อนไขผูกมัดนี้สายการผลิตสินค้าเกี่ยวกับสินค้าเครื่องเสียงของ Lansing ต้องเดินเครื่องต่อ โดยได้รับการติดป้ายแจ้งว่า “Loudspeakers by Lansing” ที่ตัวสินค้าทุกตัวที่ผลิตออกมาจากโรงงานที่ McKinley Avenue
ในปี 1941 Arthur Crawford ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบเสียง และเป็นลูกค้าของ Altec Lansing ได้เสนอแนะแนวคิดเกี่ยวกับลำโพงแบบใหม่ของบริษัท แนวคิดของเขาคือสร้างไดร์เวอร์ลำโพงสองทางแบบโคเอ็กเชียล ซึ่งติดตั้งไดร์เวอร์ความถี่สูงติดตั้งไว้ด้านหลังของไดร์เวอร์ทั้งชุด มีฮอร์นต่อจากไดร์เวอร์เสียงแหลมให้วิ่งผ่านจากโครงสร้างแม่เหล็กของ ไดร์เวอร์ความถี่ต่ำ โดยฮอร์นนี้ิติดตั้งไว้ตรงกลางด้านหน้าของกรวยลำโพงความถี่ต่ำ Crawford ได้รับแรงบันดาลใจนี้จากระบบสองทางขนาดใหญ่ที่เป็นโคเอ็กเชียลที่ผลิตโดย Western Electric และ RCA ในช่วงท้าย
ยุคปี 1930 ในเวลานั้นนับเป็นแนวคิดที่สุดยอดชาญฉลาดมาก เนื่องจากทำได้ชุดลำโพงมีขนาดเล็กลง ให้ระดับความดังเสียง และครอบคลุมแบนด์ิวิดธ์ได้ทั้งหมด มันยังเป็นแหล่งกำเนิดเสียงเพียงจุดเดียวอีกด้วย ทำให้เหมาะกับการใช้งานในการเป็นระบบมอนิเตอร์เสียงที่ต้องฟังระยะใกล้ๆ James Lansing ได้พัฒนาไดร์เวอร์ตัวนี้ขึ้นมา และสร้างต้นแบบขึ้นมาด้วย เขาได้ใช้ไดร์เวอร์ความถี่สูงรุ่น 801 จากระบบลำโพง Iconic ประกอบกับวูฟเฟอร์ขนาด 15″ จากชิ้นส่วนลำโพงที่มีอยู่สต๊อก และสร้างฮอร์นแปดช่องสำหรับความถี่ 1200 Hz แม่เหล็กของไดร์เวอร์ทั้งสองชุดใช้เป็นแบบฟีลด์คอยล์ ในปี 1943 ลำโพงแบบดูเพล็กซ์รุ่น 601 ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ใช้สำหรับตู้แบบเบสส์รีเฟล็กซ์เอนกประสงค์รุ่น 612 ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับตู้เบสส์ของ Lansing Iconic.
ในปี 1943 John Hilliard ที่เคยทำงานพัฒนาระบบเรดาร์ร่วมกับ Dr. Blackburn ที่ M.I.T. ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เขาถูกส่งมาทำงานที่ Altec Lansing ในลอสเองเจลิส ในโครงการระบบตรวจจับคลื่นแม่เหล็กของอากาศยาน เป็นการพัฒนาระบบให้กับรัฐบาลอเมริกา ในการสร้างระบบเรดาร์สำหรับเครื่องบินรบ ในการทำงานพัฒนาระบบนี้มีการใช้วัสดุแม่เหล็กที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ และวัสดุแม่เหล็กแบบใหม่นี้ก็ได้สร้างประโยชน์ให้กับการพัฒนาลำโพงของ Altec อย่างมหาศาล
ช่วงปี 1943 ยางเข้าสู่ปี 1944 Lansing และ Hilliard ร่วมงานกันในการออกแบบระบบลำโพงสำหรับโรงภาพยนตร์แบบใหม่ เนื่องจากตู้เบสส์ฮอร์นแบบ W ของระบบลำโพง Shearer มีจุดด้อยตรงประสิทธิภาพย่านมิดเรนจ์แย่มาก เนื่องจากความถี่สูงหายไปกับความยาวของปากฮอร์น ทำ้ให้มีผลต่อเสถียรภาพของเสียงสนทนาของนักแสดง อันเป็นจุดบกพร่องที่สำคัญมากสำหรับระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ Hilliard ได้ทำการออกแบบตู้ลำโพงใหม่ให้มีช่วงฮอร์นแบบเอ็กโปเนนเชียลด้านหน้ามีขนาด สั้นลง และด้านหลังเป็นตู้แบบเต็มใบ ซึ่งตัวตู้ทำหน้าที่เป็นเบสส์รีเฟล็กซ์, มีช่องด้านหน้าสำหรับส่งผ่านคลื่นเสียงต่ำกว่า 100 Hz ออกมา ตัวตู้ถูกออกแบบในการจัดการอย่างดีเยี่ยมในการจัดความถี่ต่ำ และความถี่สูงที่ใช้ระยะในการเดินทางของคลื่นเสียงต่างกันซึ่งเป็นเป้าหมาย หลักของการออกแบบตู้ลำโพงนี้
ด้วยการใช้ประโยชน์จากวัสดุแม่เหล็กชนิดใหม่ Alnico V ทำให้ Lansing สามารถพัฒนาแม่เหล็กถาวรขนาดใหญ่ขึ้นมา เพื่อใช้กับคอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่นใหญ่ของเขาเอง และยังมีเครื่องขึ้นรูปไดอะแฟรมที่ยอดเยี่ยมใช้ระบบไฮโดรลิคสำหรับขึ้นรูปได อะแฟรมอลูมิเนียมขึ้นมา ทำให้ผิวสัมผัสของไดอะแฟรมดีขึ้นมากช่วยให้ประสิทธิำภาพไดอะแฟรมดีขึ้น วอยซ์คอยล์ก็พันขึ้นจากลวดอลูมิเนียมสร้างขึ้นด้วยวิธีการใหม่ เนื่องจากแม่เหล็กถาวรไม่สามารถถอดออกมาจากไดร์เวอร์ Lansing จึงออกแบบให้ไดอะแฟรมสามารถถอดเปลี่ยนได้่ง่าย เป็นผลให้เกิดคอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่นใหม่ที่เรียกว่า Altec Lansing 288
Lansing ยังได้พัฒนาเบสส์ไดร์เวอร์ขนาด 15″ ที่ได้ปรับปรุงอย่างมากมายจากงานออกแบบเดิมของ ใช้ Alnico V เป็นแม่เหล็ก และวอยซ์คอยล์เพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจากสองนิ้วกลายเป็นสามนิ้ว และขึ้นขอบเป็นทองแดง ใช้เทคนิคการพัน และเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ทำให้ไดร์เวอร์ความถี่ต่ำเกิดขึ้นมาเรียกว่า Altec Lansing 515
ต้นแบบของระบบลำโพงใหม่ถูกสร้างขึ้นมา และทำการทดสอบในโรงภาพยนตร์ช่วงปลายปี 1944 เหมือนกับการทดสอบต้นแบบระบบลำโพง Shearer เมือสิบปีก่อน ระบบลำโพงที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และ Altec Lansing ได้เริ่มต้นสร้างระบบลำโพงใหม่นี้ในสเกลใหญ่ทีสุด และเรียกฉายานามระบบลำโพงใหม่นี้ว่า “Voice of the Theater,” และได้เริ่มติดตั้งในช่วงต้นปี 1945
แม่เหล็กถาวรนี้ถูกนำไปใช้กับลำโพงระบบ Duplex ด้วยเช่นกัน คอมเพรสชันไดร์เวอร์ 801 จาก Iconic ก็ถูกเปลี่ยนเป็นแม่เหล็กถาวร Alnico V และเปลี่ยนเป็นไดอะแฟรมแบบเปลี่ยนได้ง่าย เมื่อนำคอมเพรสชันไดร์เวอร์นี้ประกอบกับวูฟเฟอร์ 515 กลายมาเป็นไดร์เวอร์ลำโพง Duplex รุ่น 604 ส่วนไดร์เวอร์ Duplex รุ่น 601 ที่เป็นฟีลด์คอยล์ก็หยุดการผลิต ไดร์เวอร์ความถี่สูงที่พัฒนาต่อมาคือรุ่น 802 ถูกออกแบบมาสำหรับโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงต้นปี 1947
James Lansing มุ่งมั่นทำงานมาตลอดในช่วงเวลาห้าปีที่เขาอยู่ที่ Altec Lansing แต่เขากลับไม่มีความสุขกับหน้าที่ของตนเองในบริษัทนี้ แม้่ว่าจะมีชื่อตำแหน่งว่า Vice President แต่เขากลับไ่่ม่อนุญาตให้กำหนดทิศทางใดๆให้กับบริษัทได้เลย และภายหลังครบกำหนดช่วงสัญญาผูกขาดเรื่องการห้ามเปิดบริษัทแข่งขันเป็นเวลา ห้าปียุติลง(ในปี 1946) เขาก็ก้าวออกจาก Altec Lansing ในทันทีที่หมดสัญญา
การก่อตั้ง Lansing Sound Incorporated
ก่อนที่ James Lansing จะก้าวออกจาก Altec Lansing เขาได้ซื้อไร่อะโวกาโด และไร่ส้มใน San Marcos, California เขามีความสนใจในการทำไร่ผลไม้มานานแล้ว ในช่วงที่เขาทำงานอยู่ที่ Altec Lansing ก็ได้บอกกับพรรคพวกว่าเริ่มอิ่มตัวกับธุระกิจลำโพงแล้ว และอยากจะทำไร่ทำฟาร๋มบ้าง Lansing รู้สึกพึงพอใจมากกับผลผลิตอะโวกาโดสามปอนด์แรกจากไร่ของเขา แต่ปัญหาคือเขาพบว่ามันยากที่จะขายผลอะโวกาโดแม้เพียงปอนด์เดียว
พอผ่านไปสักระยะเวลาหนึ่งเครืองจักรสำหรับทำงานโลหะก็เริ่มโผล่ในโรงนา มันดูราวกับว่าธุระกิจลำโพงมันฝังเข้าไปในสายเลือดของ Lansing ซะแล้ว และเขาก็ไม่อาจหนีความจริงนี้ได้ ต่อมาไม่นานนักโรงนาแห่งนี้ก็กลายมาเป็นเวิร์คชอปที่มีเครื่องมือความแม่นยำสูง โดยสมบูรณ์
James Lansing นั่งไล่รายชื่อเพื่อนเก่าที่คิดว่าจะชวนมาตั้งบริษัทใหม่ และแล้ว Lansing Sound Incorporated ก็ถูกจดทะเบียนที่คาลิฟอร์เนียในวันที่ 1 ตุลาคม 1946 โดยมีผู้ถือหุ้นดังนี้ James B. Lansing, Chauncy Snow, และ Chester L. Noble โดยได้ตั้งสำนักงานขายอยู่ที่510 South Spring Street, Los Angeles, ซึ่งเป็นที่อยู่ทางธุระกิจของ Chester Noble ที่ตั้งโรงงานอยู่ที่ San Marcos, California ในไร่ของเขานั่นเอง
สินค้าตัวแรกของ Lansing Sound เป็นไดร์เวอร์ลำโพงขนาด 15″ “สำหรับใช้งานทั่วไป” ชื่อรุ่นว่า D-101 มีโครงสร้างแข็งแรงคล้ายกับวูฟเฟอร์ 515 ซึ่ง Lansing ได้ทำการออกแบบไว้ก่อนที่จะออกจาก Altec Lansing ความแตกต่างคือ D-101 ใช้ขอบวอยซ์คอยล์ขนาด 3″ ทำจากอลูมีเนียมแทนที่จะใช้ทองแดง และมีอลูมิเนียมฟอยล์ที่กลางโดมเพื่อเสริมการตอบสนองความถี่สูงของไดร์เวอร์ ทำให้ D-101 สามารถทำงานเป็นไดร์เวอร์แบบฟูลเรนจ์ แทนที่จะเป็นไดร์เวอร์ความถี่ต่ำสำหรับระบบสองทางเหมือนกับ 515 โดย Lansing ได้แต่งหน้าตา D-101 ด้วยติดเลเบลกระดาษกลมๆเล็กๆที่มีคำว่า “Iconic” พาดตรงกลาง
ต่อมาผู้บริหารของ Altec Lansing พบว่า James Lansing ตอนนี้ได้กลายเป็นคู่แข่งรายใหม่ พวกเขาไม่พึงพอใจนักเกี่ยวกับการใช้ชื่อ “Lansing” ในการตั้งชื่อบริษัทใหม่ แถมยังใช้คำว่่า “Iconic” ซึ่งทั้งสองคำต่างเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเป็น Altec Lansing พวกเขาเลยทำการติดต่อกับ James Lansing เพื่อที่จะให้ยุติการใช้ชื่อสินค้าเดียวกัน ซึ่งเขาก็ยินดีที่จะเลิกใช้คำว่า “Iconic” และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ของเขาเป็น “James B. Lansing Sound, Incorporated.” ทำให้ Altec Lansing รู้สึกพึงพอใจที่ James Lansing ใช้ชื่อเต็มของเขาเป็นชื่อบริษัท ช่วยให้เกิดความแตกต่างระหว่างชื่อของทั้งสองบริษัทในสายตาสาธารณะชน
เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่น่าเชื่อของ James Lansing เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 1946 ถึงต้นปี 1947 นอกจากการสร้างไดร์เวอร์ D-101 แล้วเขาก็ได้ผลิต D-130 ต่อโดยใช้รูปแบบบางลงแต่ก็เป็นไดร์เวอร์ขนาด 15″ เป็นลำโพงประสิทธิภาพสูง สำหรับใช้งานในระบบเสียง PA และใช้งานกับเครื่องดนตรี จุดเด่นของ D-130 คือใช้ขอบวอยซ์คอยล์เป็นอลูมิเนียมขนาด4″ เป็นครั้งแรกในลำโพงขนาด 15″ สร้างให้มีโครงสร้างแน่นหนาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอุตสาหกรรมนี้ D-130 ยังคงใ้ช้อลูมิเนียมฟอยล์ตรงกลางโดมเพื่อเพิ่มการตอบสนองความถี่สูง ส่วนรุ่น D-130A ผลิตออกมาสำหรับการใช้งานเฉพาะความถี่ต่ำอย่างเดียว โดยปรับมาจากรุ่น D-130 โดยรุ่น D-130A ใช้ขอบวอยซ์คอยล์เป็นทองแดง และโดมตรงกลางเป็นกระดาษ รุ่น D-131 ก็เป็นรุ่นที่ปรับปรุงจาก D-130 ทุกอย่างเหมือนกับรุ่น D-130 ยกเว้นว่ากราวยและโครงไดร์เวอร์มีขนาด 12″ ไดร์เวอร์แบบกรวยทุกรุ่นใช้แม่เหล็กที่สร้างจากวัสดุ Alnico V
Lansing ยังได้เริ่มผลิตคอมเพรสชันไดร์เวอร์ความถี่สูงรุ่น D-175 ที่ดูคล้ายกันกับ Altec Lansing 802 ซึ่งย้อนกลับไปหาต้นแบบของไดร์เวอร์ Lansing 801 ในปี 1937 รุ่น D-175 มีจุดเด่นคือใ้ช้ไดอะแฟรมขนาด 1.75″ แบบปั๊มขึ้นรูป ช่องออกเสียงขนาด 1″ และใช้แม่เหล็กเป็น Alnico V ใช้ร่วมกับปากฮอร์นแบบมันติดเซลลูลาร์รุ่น H-1000 ระบบลำโพงแบบสองทางก็ได้เปิดตัวขึ้นมาโดยประกอบไปด้วยไดร์เวอร์ D-175, H-1000, D-130A และมีเน็ตเวิร์คจุดตัด 1200 Hz., 18 dB/octave รุ่น N1000 ชุดไดร์เวอร์และเน็ตเวิร์คนี้ติดตั้งลงตู้แบบเอนกประสงค์รูปแบบง่ายๆ และเรียกลำโพงสำเร็จรูปนี้ว่ารุ่น D-1000 โดยการทำงานแล้วมันเหมือนกับ Lansing Iconic และเหมาะสำหรับการใช้งานในบ้าน และห้องประชุมขนาดเล็ก
เพื่อนในรายชื่อของ James Lansing อีกคนหนึ่งคือ Norman Neeley เป็นผู้ทำการตลาดให้กับบริษัท ได้นำเสนอสินค้าของบริษัท และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย Neeley ได้เน้นจุดจายว่าเป็น “Jim Lansing Signature Speaker” เนื่องจากชื่อของ Lansing เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในอุตสาหกรรมลำโพง สินค้าทุกตัวของบริษัทจะมีเลเบลนี้ติดอยู่
ในต้นปี 1947 โรงนาที่ San Marcos เล็กไปถนัดเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตของการดำเนินการ James Lansing ได้คุยกับเพื่อนของเขา William H. Thomas ซึ่งตอนนี้เป็นหุ้นส่วน และผู้จัดการทั่วไปของบริษัทตั้งใหม่ชื่อ Marquardt Aviation ใน Venice, California การพบกันครั้งนี้ก็ได้หารือกับ Roy Marquardt (ผู้ก่อตั้งร่วม และเป็นประธานบริษัท Maruqart Aviation), William Thomas และ James Lansing ได้ข้อสรุปในการหารือร่วมกันว่าจะให้สถานที่ทำงานกับ Lansing ขนาด 20×20 ฟุตใน Marquardt และใช้สาธารณูปโภคของ Marguart ได้ทั้งหมด โดยแลกกับสิบเปอร์เซนต์ของรายได้สุทธิ
James Lansing ได้ย้ายฐานการผลิตมาอยู่ที่ Marquardt ณ. 4221 Lincoln Boulevard, Venice, California ในช่วงเวลานี้ Lansing มีพนักงานสามคน John Edwards ทำงานธุระกรรมในออฟฟิค และจัดจำหน่ายสินค้าให้กับตัวแทนในพื้นที่ Howard Weiser เคยทำงานด้วยมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท Lansing Manufacturing ทำงานการผลิตที่เ้น้นความแม่นกับในการรีดลวด และพันวอยซ์คอยล์ Bud Fawcett ทำงานหลายอย่างรวมถึงประกอบลำโพง John Edwards ทบทวนความทรงจำว่า “Jim เหรอแน่นอนว่าเขาทำงานทุกอย่าง รวมถึงลงมืสร้างตู้ลำโพงด้วย” ในระหว่างนี้ไดร์วเวอร์รุ่น D-208 ถูกเพิ่มเข้ามาในสายการผลิต เป็นไดร์เวอร์ขนาดแปดนิ้ว วอยซ์คอยล์ขนาด 2″ และคล้ายๆกับรุ่น D-130 และ D-131
James Lansing ได้ผ่านช่วงเวลาที่วิกฤตในช่วงที่บริษัท Marquardt Aircraft Company เจริญเิติบโตอย่างรวดเร็ว และย้ายโรงงานไปที่ 7801 Hayvenhurst Avenue, Van Nuys, California ในช่วงท้ายปี 1948 Lansing ก็ต้องย้ายที่ฐานการผลิตตามไปด้วย ในช่วงเวลานี้ยอดหนี้สินที่ค้างกับทาง Marquardt ก็เพิ่มขึ้นเป็น $15,000 และดูเหมือนว่า Lansing ควรจะขายบริษัทของเขาให้กับ Marquardt และทำงานเป็นพนังงานคนหนึ่งของบริษทเทานั้น แต่ Lansing ก็ไม่ยอมขายให้กับ Chester Noble และ Chauncy Snow ซึ่งเป็นตัวแทนในการต่อรองของ Marquardt ทำให้การเจรจาต่อรองยุติลง Roy Marquardt เองก็ยังคลางแคลงใจกับความสำเร็จในระยะยาวของ Lansing
ในปี 1949 บริษัท Marquardt Aircraft ก็ได้ถูกซื้อกิจการไปโดยบริษัท General Tire and Rubber ทำให้พวกเขาละความสนใจไปจาก James B. Lansing Sound และสัดส่วนการลงทุนของบริษัท Marquardt ทำให้ต้องแปรสัดส่วนการลงทุนให้กลายเป็นหุ้นส่วนของบุคคลไปนั่นคือ Roy Marquardt และ Bill Thomas การเข้ามาของ General Tire ทำให้ James B. Lansing Sound ต้องย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่ใหม่นั่นคือ 2439 Fletcher Drive, Los Angeles, California ซึ่งทาง General Tire เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนย้ายบริษัทของ Lansing ไปยังโรงงานใหม่ นับเป็นการย้ายครั้งที่สี่ในเวลาเพียงสามปี
ในฤดูร้อนปี 1949 William Thomas และ Roy Marquardt เห็นพ้องกันกว่า Thomas ควรจะออกจาก Marquardt Aircraft และไปทำงานกับ James B. Lansing Sound เพื่อเป็นการป้องกัน และพัฒนาเงินลงทุนของทั้งคู่ที่ลงไปกับบริษัทของ Lansing ในช่วงเวลานี้สัดส่วนหุ้นของ James Lansing ลดลงมาเหลือ 30% สายการผลิตลำโพงสามารถดำเนินงานต่อไปได้ี่ที่โรงงานใหม่ โดยมีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นนั่นคือพี่ชายของ Lansing George Martin ซึ่งเคยทำงานด้วยกันเมื่อครั้งทำบริษัท Lansing Manufacturing
ดูราวกับว่าหนังซีรีย์ยาวตอนสุดท้ายในกิจการ James B. Lansing Sound ที่ดำเนินโดย Jim Lansing ยังไม่จบแบบมีความสุข ตัวเขาเองก็เหนื่อยล้าจากการสร้างความสำเร็จให้กับบริษัืืืท มันต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับเมื่อครั้งเขาก่อตั้งบริษัท Lansing Manufacturing Company เมื่อหลายปีก่อน ธุระกิจเิริ่มดิ่งลงเหวลึกไปเรื่อยๆจนถึงฤดูใบไม้ร่วงปี 1949 James Lansing ทำงานในวันปกติที่ Los Angeles และกลับไปที่ไร่ของเขาที่ San Marcos ในวันสุดสัปดาห์ เขาเริ่มห่างเหินจากการไปเยี่ยมพี่ชายของเขา Bill Martin ซึ่งปกติจะแวะทานพายกับกาแฟก่อนเดินทางไกล ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน เป็นครั้งสุดท้ายที่เขาแวะไปเยี่ยมพี่ชายของเขาเป็นครั้งสุดท้าย และในเย็นวันนั้นเขาก็มุ่งหน้าไปที่ไร่ใน San Marcos และจบชีวิตตัวเองลง เป็นตอนจบที่ไม่สวยงามนักในยุคของ James Lansing ผู้ที่ผ่านความท้าทาย และมีพลังขับเคลื่อนต่อพัฒนาการของระบบลำโพงตลอด 24 ปี