จาก: JBL Professional, audioheritage.org
เล่าภาษาไทยโดย: AnalogLism
การเสียชีวิตของ Jim Lansing ทำให้ดูราวกับว่าเป็นจุดจบของ JBL เนื่องจากในช่วงนั้นบริษัทกำลังติดหล่มของภาระหนี้สิน, การดำเนินกิจการโดยไม่เกิดผลกำไร และผู้ที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่เป็นหน้าตาของบริษัทก็ลี้หนีหายไปสิ้น ทว่าจุดนี้กลับเป็นจัดเปลี่ยนผันของ JBL ที่ก้าวไปสู่ยุครุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมลำโพง หนึ่งในผู้ที่พลิกผันที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุด — William H. Thomas
ในช่วงที่ Lansing Sound Incorporated กำลังเริ่มฟอร์มบริษัทในปี 1946 Thomas ก็ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในองค์กร แต่เขาก็เป็นผู้สานสัมพันธ์ให้ Lansing Sound กับบริษัท Marquardt Aircraft ซึ่งเป็นบริษัทที่เขาเองก่อตั้งร่วมกับ Roy Marquardt ในปี 1945
หลังจากที่ขาย Marquardt ให้กับ General Tire และทาง General Tire ก็พยายามเขี่ย Lansing Sound ออก ทำให้ Thomas ต้องย้ายมาบริหารบริษัททำลำโพงในตำแหน่ง Vice President เพื่อป้องการไม่ให้ทุนที่ลงไปของเขาและ Roy Marquardt สูญหายไป Thomas กำลังเริ่มให้ความสนใจในธุรกิจการผลิตลำโพง และได้ลงหุ้นใน Lansing Sound ด้วยซึ่งไปๆมาๆก็มีหุ้นมากถึง 60% เข้าไปแล้ว ภายหลังการเสียชีวิตของ Jim Lansing ในวันที่ 24 กันยายน 1949 Thomas ก็มีสิทธิ์ในบริหาร JBL และพยายามหาข้อสรุปในเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งต้องผ่านระยะอีกหลายปีกว่าจะได้ข้อสรุปว่าครอบครัว Lansing ถืออยู่ 30% ซึ่งถูกซื้อไปในปี 1957 ด้วยมูลค่า $30,000 และอีก 10% ถือโดย Chester Noble ซึ่งก็ถูกขอซื้อในเวลาต่อมาไม่นาน ภายการการนำของ Thomas ในระยะเวลาประมาณสองทศวรรษได้นำพาบริษัท JBL ก้าวไปสู่ความเป็นสุดยอดอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้
JBL ภายใต้การบริหารที่แตกต่างกับ แนวการบริหารของ Jim Lansing ในอดีต, Thomas เป็นนักบริการแบบใช้เป้าหมายเป็นตัวขับเคลื่อน, มุ่งตรงไปยังไมล์สโตนที่ได้กำหนดไว้, มีการมอนิเตอร์ตรวจสวบประสิทธิภาพการทำงานเป็นระยะ เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าสามารถดำเนินงานได้ตรงวัตถุประสงค์ ภายหลังการจัดการแนวได้ทำให้ JBL ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างแน่วแน่มั่นคง—เพื่อให้มั่นใจในสถานะการของ JBL มั่นคงขึ้น เขาได้เพิ่มเงินลงทุนส่วนตัวลงไปอีก $10,000 ซึ่งไปเสริมกับอีก $10,000 ที่บริษัทประกันจ่ายให้สำหรับการเสียชีวิตของ Jim Lansing, ช่วยให้ Thomas ช่วยฉุดให้บริษัท JBL ขึ้นจากหล่มทางธุระกิจได้ อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงสูญเสียค่าใ้ช้จ่ายในการดำเินนการไปอีกพอสมควร Thomas ได้เขียนแผนฟื้นฟูในระยะเวลาสามปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเินินกิจการลงมารได้ 30% และเพิ่มยอดขายขึ้นมาเป็น 300% ผ่านการทำการตลาดอย่างดุเดือด และอัดฉีดไลน์การผลิต, Thomas สามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้ในปีที่กำหนด, ด้วยยอดขายประจำปีพุ่งจาก $60,000 ในปี 1950 กลายเป็น $200,000 ในปี 1952 ทำให้ผลการดำเนินการของบริษัทมีเสถียรถาพมากขึ้น ผลการประกอบการงดงาม นำพาให้ Thomas วางแผนต่ออีกในห้าปีต่อไปให้ได้ผลประกอบการมากขึ้นไปอีก
โปรเจ็คลำโพงตัวแรก:Hartsfield
เพือตอบรับกับแแนวนโยบายทั้งสามข้อของ Thomas ก็ต้องมีกรณีศึกษาที่สำแดงผลบรรลุทั้งสามข้อ และสร้างนิยามบทใหม่ให้กับตลาดลำโพง กรณีศึกษาที่กลายมาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของโปรเจ็คลำโพงของ JBL นั่นก็คือ– Hartsfield ในปี 1954.
แนวคิดสำหรับโครงการ Hartsfield มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการจากเครือข่ายจัดจำหน่ายลำโพงของ JBL ที่ต้องการลำโพงในแบบฮอร์นเข้ามุม (folded corner horn) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นที่มีตู้ลำโพงแบบนี้จัดจำหน่าย ต้นกำเนิดของตู้ลำโพงฮอร์นแบบเข้ามุมเริ่นจากงานออกแบบของ Paul Klipsch ในรุ่น Klipschorn, ที่เปิดตัวในปี 1949 ลำโพง Klipschorn ถือเป็นนวัตกรรมของลำโพงบ้าน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีลำโพงที่ผสมผสานลำโพงความไวสูงของระบบฮอร์นโหลดสำหรับ เบบส์ไดร์เวอร์ เสริมกับเสียงที่กระจายออกด้านหน้าลำโพง ซึ่งตู้เบสส์ฮอร์นที่ใช้ในบ้านตามปกติต้องมีขนาดความยาวแปดถึงสิบสองฟุตจึง จะได้ผลการตอบสนองความถี่ต่ำอย่างมีประสิืทธิภาพ จึงไม่มีำลำโพงฮอร์นตรงที่จะสร้างให้ได้ขนาดใหญ่ขนาดนั้น นวัตกรรมของ Klipsch ได้นำเอาคลื่นเสียงจากด้านหลังลำโพงมาเสริมด้านหน้าทำให้ขนาดลำโพงเล็กลง โดยมีปากฮอร์นที่เป็นทางออกของเสียงส่งคลื่นเสียงจากมุมห้อง ผนังของห้องก็จะทำหน้าที่เป็นฮอร์นสำหรับความถี่ต่ำไปด้วยในตัว ผลที่ได้ก็คือด้วยฮอร์นความยาวขนาดผนังของห้องนี้สามารถให้ความถี่ต่ำลงได้ ถึง 35 Hz
ลำโพง Klipschorn เป็นที่รู้จักแพร่หลายกันอย่างรวดเร็ว และมีบริษัทที่ผลิตลำโพงหลายรายที่ยื่นข้อเสนอ ในการซื้อสิทธิ์การผลิตลำโพงที่มีรูปแบบเดียวกันนี้ ส่งผลให้ตัวแทนจำหน่ายลำโพง JBL ต้องเกาะกระแสนี้ตามไปด้วย
Ray Pepe ได้แนะนำ Thomas ในการว่าจ้าง William Hartsfield ให้เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบลำโพงตัวใหม่ โดยตั้งชื่อลำโพงตัวใหม่ตามชื่อของ William Hartsfield ที่ผ่านมา Ray Pepe รู้จักกับ William Hartsfield เมื่อครั้งที่ Pepe อาศัยอยู่แถบชายฝั่งตะวันออก และทั้งคู่ก็อยู่สังกัดเดียวกันที่สาขาของ Audio Engineering Society (AES) ในช่วงที่ Pepe เข้ามาทำงานร่วมกับ JBL, William Hartsfield เป็นพนักงานสังกัดสำนักงานมาตรฐานใน Washington DC เขาได้ทำการพัฒนาลำโพงฮอร์นแบบเข้ามุมห้องสำหรับกลุ่มนักเล่นเครื่องเสียงทำ เอง Pepe พบว่าตู้ลำโพงแบบนี้แหละที่เหมาะจะนำมาพัฒนาต่อให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์ระบบลำโพง JBL
JBL กำลังเริ่มต้นพัฒนาสินค้าในขณะที่ Klipschorn ได้้นำหน้าไปไกลแล้วแม้จะเป็นที่รู้กับว่าไม่ได้ใช้ไดร์เวอร์ที่มีคุณภาพสูง มากนักในการสร้าง ลำโพง Klipschorn ใ้ช้คอมเพรสชันไดร์วเวอร์ขนาดเล็ก (ช่องคอ 1″) จุดตัดความถี่ 400 Hz ทำให้ส่งผลเสียกับเสียงมิดเรนจ์ย่านต่ำๆ ยิ่งไปกว่านั้นตัวตู้ลำโพงของ Klipschorn ก็ไม่ได้มีโครงสร้างแข็งแรงแน่นหนามากนัก ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเรโซแนนซ์ในความถี่ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในบ้าง ครั้ง ลำโพง Hartsfield ถูกสร้างมาให้เหนือกว่าข้อบกพร่องนี้ มีการเลือกใช้ส่วนประกอบในการสร้างลำโพงที่มีคุณภาพดีทีุ่สุดเท่าที่จะมีได้ ในยุคนั้น
ใช้เบสส์ไดร์เวอร์ของ JBL รุ่น 150-4C , คอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่น 375 และเน็ตเวิร์ค N500 ซึ่งคอมเพรสชันไดร์เวอร์ 375 มีขนาดใหญ่กว่าโดยมีขนาดไดอะแฟรม 4″ และช่องคอ 2″ ทำให้ผลการตอบสนองของเสียงราบเรียบลงไปได้ถึงจุดตัดที่ 500 Hz ตัวตู้สร้างให้มีความหนัก และแน่นหนา เพื่อป้องกันการเกิดเรโซแนนซ์ Bart Locanthi ได้พัฒนาเลนส์พิเศษด้านหน้าฮอร์นเพื่อให้มุมการกระจายเสียงกว้างขึ้น ผลจากการพัฒนานี้ทำให้ได้เลนส์รุ่น 537-509 ที่อยู่ใรแคตตาล็อกของ JBL ต่อไปอีกหลายสิบปี และใช้งานอย่างกว้างขวางในระบบลำโพงพิเศษ และมอนิเตอร์
ลำโพง Hartsfield ได้รับการตอบรับ และเป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก ภายหลังจากการเปิดตัวเข้าสูตลาด โดยได้รับการยกย่องลงในบทความถึงสองบทความในปี 1955 บทความแรกตีพิมพ์โดยวารสาร High Fidelity กล่าวไว้ว่า “แม้จะมีลำโพงที่คล้ายกันรุ่นหนึ่งของตระูล Klipsch แต่จากการประเมินพบว่าไม่ได้ยอดเยี่ยมดั่งเช่น—Lansing Hartsfield” บทความที่สองตีพิมพ์ลงในวารสารที่คนอ่านมากที่สุดในประเทศนั่นก็คือวารสาร —Life ที่ขนานนามลำโพง Hartsfield ว่า “ลำโพงที่เป็นที่สุดในความฝัน และดีที่สุดในตลาด”
อิทธิพลในความสำเร็จของลำโพง Hartsfield ส่งผลให้ JBL ไม่สามารถมองข้ามได้ เป็นที่ยอมรับของ Margaret Thomas, ภรรยาของ Thomas และพนักงานที่ทำงานกับ JBL มานาน การเกิดขึ้นของลำโพง Hartsfield และบทความในวารสาร Life ทำให้ JBL เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อยอดขายเฉลี่ยพุ่งขึ้นกว่า 50% ยาวนานถึงสามปี นั่นคือใช้เวลาเพียงสามปีก็บรรลุเป้าหมายจากแผนห้าปีของ Thomas
กลับสู่สังเวียนระบบเสียงโปรเฟรสชันแนล
ในช่วงต้นของบทความได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ที่สวนทางกันระหว่าง Bill Thomas ที่มุ่งเน้นไปหาลำโพงบ้าน ในขณะที่ Jim Lansing กลับอยากบุกตลาดระบบเสียงโปรฯ เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์เรามาดูรายละเอียดว่าในยุคของ Bill Thomas ถึงได้หาญกล้าไปชนกับยักษ์ใหญ่อย่าง Altec Lansing แบบหมัดต่อหมัด เหตุผลง่ายๆคือมีคนมาร่วมแบกรับความเสี่ยงนี้นั่นเอง Thomas เองก็มองเห็นโอกาสถึงความเป็นไปได้สองประการในปี 1953 ประการแรกมาจาก Westrex และประการที่สองจาก Ampex
Westrex จากเดิมที่เคยทำหน้าที่ในการส่งออกให้กับ Western Electric ก็ได้แยกออกมาเป็นบริษัทอิสระ และพบว่า Western Electric ได้ออกจากตลาดระบบเสียงโรงภาพยนตร์ไปแล้ว แต่ Westrex ต้องการกลับไปสู่ตลาดของระบบลำโพงโรงภาพยนตร์, แต่ไม่มีความสามารถในด้านการผลิตใดๆในมือเลย Dr. John Frayne, ที่เคยทำงานร่วมกับ Jim Lansing ก่อหน้านี้ได้มีโอกาสพบกับ Bill Thomas และ Bart Locanthi เพื่อเสวนากันในการกลับมาเป็นตำนานอีกครั้ง Dr. Frayne นำเอาคอมเพรสชันไดร์เวอร์ตัวอย่างของ Western Electric รุ่น 594A และตั้งคำถามง่ายๆว่า: “JBL สามารถสร้างไดร์เวอร์แบบนี้ให้เป็นแม่เหล็กถาวรได้หรือไม่?” คำตอบที่ได้เป็นที่มาของคอมเพรสชันไดร์เวอร์อันโด่งดังของ JBL นั่นคือรุ่น 375
.ไดร์เวอร์รุ่น 594A ได้หยุดผลิตหลังจากที่ Western Electric ถอนตัวออกจากตลาดลำโพงโรงภาพยนตร์ในปี 1938 ซึ่งแต่ก่อนนั้นไดร์วเวอร์รุ่นนี้เป็นหัวใจสำคัญของระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ ขนาดใหญ่ของ Western Electric เ็ป็นคอมเพรสไดร์เวอร์แบบฟิลด์คอยล์ขนาดใหญ่ใช้ไดอะแฟรมขนาด 4″ มีช่องคอขนาด 2″ และมีเฟสปลั๊กแบบสี่ช่อง เนื่องจากการหยุดการผลิตของ 594A ทำให้คอมเพรสชันไดร์เวอร์ขนาดเล็กว่าของ Altec รุ่น 288 กลายมาเป็นมาตรฐานของไดร์เวอร์ขนาดใหญ่ของระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ Westrex มีความเชื่อว่าถ้าทำไดร์เวอร์ 594A ให้เป็นแม่แหล็กถาวรได้ก็จะเป็นไดร์เวอร์ที่เหนือกว่า Altec 288
Bill Thomas และ Bart Locanthi เห็นด้วยในการรับหน้าที่ในการพัฒนาไดร์เวอร์ 375 ควบคู่กับการทำงานร่วมกันกับ Westrex ในการพัฒนาระบบลำโพงโรงภาพยนตร์ที่สมบูรณ์แบบ ในการพัฒนาเพิ่มเติมจากไดร์เวอร์ 375, JBL ได้พัฒนาฮอร์น/เลนส์ประกอบกับไดร์เวอร์รุ่นนี้ถึงสามรุ่น, ตู้แบสส์ฮอร์นสองรุ่น, และเบสส์ไดร์เวอร์ขนาด 15″ รุ่นใหม่ที่ออกแบบสำหรับใช้กับตู้ฮอร์นโหลด และครอสส์โอเวอร์เน็ตเวิร์คแบบรับกำลังสูง ทำให้ระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ชนกันแบบหมัดต่อหมัดกับระบบลำโพง A2 และ A5 Voice of The Theatre (VOTT) ของ Altec Lansing
ระบบลำโพงสองรุ่นแรกของ Westrex ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นที่รู้จักกันในรุ่น T501A และ T502A ทั้งสองรุ่นมีความแตกต่างกันที่จำนวนของไดร์เวอร์ความถี่สูง และรุ่นฮอร์น/เลนส์ที่ใช้ รุ่น T502A ออกมาล้อกับ Altec A2 ใช้ไดร์เวอร์ุรุ่น 375 สองตัวติดตั้งกับฮอร์น/เลนส์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ีนั่นคือรุ่น 537-500 ส่วนตู้เบสส์ฮอร์นใ้ช้ไดร์เวอร์ 15″ ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นั่นคือ 150-4 จำนวนสี่ตัว ซึ่งไดร์เวอร์รุ่นนี้พัฒนาจากวูฟเฟอร์รุ่นก่อนหน้าของ JBL โดยปรับปรุงให้โครงมีความลึกมากขั้น กรวยลำโพงมีมุมชันมากขึ้น ทำให้ไดร์เวอร์ุรุ่นใหม่นี้ิิติดตั้งได้แน่นหนากับฮอร์นโหลดได้แน่นหนาขึ้น
ระบบลำโพง T501A ออกแบบมาเพื่อชนกับ Altec A4 ใช้เบสส์ไดร์เวอร์รุ่น 150-4 สองตัว, คอมเพรสชันไดร์เวอร์ 375 ตัวเดียวร่วมกับฮอร์น/เลนส์ 537-500 และเน็ตเวิร์ค N500 เบสส์ฮอร์นสร้างให้ได้มาตรฐานเดียวกับตู้ของ VOTT ตู้ทั้งสองรุ่นไม่ได้ใช้ระบบเบสส์รีเฟล็กส์เพื่อเพิ่มความสามารถในการตอบ สนองความถี่ต่ำ เนื่องจากด้านหลังตู้ถูกซีลปิดไดร์เวอร์ และออกแบบให้ฮอร์นด้านหน้าีมีขนาดใหญ่แท่น ตู้เบสส์ของ Westrex ทั้งสองรุ่นใช้เบส์ฮอร์นโหลดแบบทางเดียวสำหรับเป็นฮอร์นโหลดให้กับเบสส์ไดร์ เวอร์ทั้งหมด ซึ่งต่างจากลำโพงในซีรีย์ VOTT รุ่นใหญ่ๆที่มีเบสส์ฮอร์นหลายๆชุด เบสส์ฮอร์นของ Westrex เป็นงานออกแบบโดย Bill Thomas ด้วยเพราะเขามีพื้นฐานจากระบบจำลองเสียงความเข้มสูงที่เคยทำที่บริษัท Kittle-Muffler มาเป็นแนวคิดในการออกแบบ
นอกจาก Westrex จะให้ทุนการวิจัยระบบนี้แล้ว พวกเขาก็ยังไม่ได้ผูกขาดในสิทธิการออกแบบนี้ JBL จึงสามารถทำการตลาดระบบลำโพง T501 และ T502 ในชื่อซีรีย์ 5000 และ 6000 ของระบบลำโพง “Jim Lansing Theatre Sound System.” แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าจำหน่ายไปกี่มากกี่น้อย เนื่องจากเอกสารที่บันทึกไว้สำหรับลำโพงซีรีย์นี้มีการผลิตเพียงหนึ่งปีเท่า นั้นเอง
อันที่จริงดูเหมือนว่า JBL ตามมาบำรุงรักษาระบบที่เคยได้ออกแบบไว้ ในการร่วมมือครั้งที่สองในระบบเสียงโปรฯ ร่วมกับ Ampex Corporation ในปี 1952, Ampex ตัดสินใจที่จะก้าวสู่ตลาดระบบเสียงโรงภาพยนต์ โดยเฉพาะหลังจากที่เ้้ขาไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบโรงภาพยนตร์ทั้งระบบร่วม กับ Todd-AO Corporation โดยเป็นระบบใหม่แบบไวด์-สกรีน, เครื่องฉายแบบมัลติ-แชนแนล โดย Ampex ได้เข้าไปพัฒนาระบบเสียงสำหรับโครงการ Todd-AO ภายใต้การนำของ Ross Snyder ซึ่ง Snyder ก็เป็นที่คุ้นเคยกับ Jim Lansing และ Bill Thomas ภายหลังที่ Thomas ทำหน้าที่คุมบังเหียน JBL เนื่องจาก Ampex เองไม่ได้มีประสบการณ์ในการออกแบบ พัฒนา และผลิตระบบลำโพงโปรฯเลย Snyder จึงเดินไปหา JBL เพื่ออาศัยความรอบรู้ของ JBL ในการพัฒนาระบบลำโพง
ต้นแบบระบบเสียง Todd-AO ประกอบไปด้วยระบบลำโพงอิสระ 10 ชุด Locanthi และ Thomas ได้ทำการออกแบบตู้ลำโพงใหม่สองแบบสำหรับระบบนี้ โดยตู้ลำโพงทั้งสองตัวมีขนาดที่แตกต่างกัน, เป็นแบบแบ็ค-โหลดฮอร์น ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นตู้ลำโพงหลักของ JBL ในกลุ่มลำโพงโปรฯต่อมาอีกกว่าสามสิบปี ตู้ใหญ่เป็นรุ่น C55 ใช้เบสส์ไดร์เวอร์ 15″ สองตัว และตู้เล็กเป็นรุ่น C43 ซึ่งใ้ช้เบสส์ไดร์เวอร์ 15″ ตัวเดียว ซึ่งทั้งสองรุ่นในภายหลัง JBL นำมาทำตลาดลำโพงโปรฯในรุ่น 4530 และ 4520 แต่คนส่วนมากจะรู้จักแต่ชื่อเล่นว่า “Scoops,” เนื่องจากรูปร่างของตู้ลำโพงเหมือนกับที่ตักน้ำตาลขนาดใหญ่ ตู้ทั้งสองรุ่นใช้ไดร์เวอร์เบสส์รุ่น 150-4 ตูุ้่รุ่นใหญ่จะใช้คอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่น 375 ประกอบกับฮอร์น/เลนส์รุ่น 537-500 ส่วนตู้รุ่นเล็กจะใช้ไดร์เวอร์ 175DLH ประกอบกับฮอร์น
ระบบ Todd-AO ได้เพิ่มระดับความสำเร็จมากขึ้นไปอีก, เพราะในยุคนั้นยังไม่มีระบบไหนถูกยอมรับว่าัมันเป็นระบบโรงภาพยนตร์ที่ สมบูรณ์แบบ แต่อย่างไรก็ตามความสำเร็จนี้ก็ส่งผลต่อกำลังการผลิตของ JBL ที่จะผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ เดิมทีบริษัทมุ่งเน้นไปที่ลำโพงบ้านแบบรายละเอียดการสร้างสูง แ่ต่ต้องการกำลังการผลิตต่ำ การเร่งเครื่องเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตลำโพงโปรฯให้เพียงพอกับ ความต้องการ กลายมาเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุน Thomas ต้องหาเิงินทุนเพิ่มเพื่อรองรับการปรับเพิ่มกำลังการผลิต ถ้าสำเร็จก็จะกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่อย่าง Altec Lansing ผลสุดท้าย Thomas ก็เข้าเป็นหุ้นส่วนกับ Ampex โดยสิทธิการออกแบบเป็นของ JBL ทั้งส่วนประกอบ และตู้ลำโพง ส่วนการผลิตบริษัทไหนจะผลิตก็ได้ ซึ่งระบบที่พัฒนาร่วมกับ Westrex ทั้งสองระบบก็ตกลงในเงื่อนไขที่คล้ายๆกัน สำหรับ Ampex ก็ใช้ในแบบของ JBL ซีรีย์ 6000 และ 5000 ถัดจากนั้นอีกสิบปี Ampex ก็ทำการผลิตไดร์เวอร์ 375, 150-4 และไดร์เวอร์อื่นๆ รวมถึงตู้ลำโพงด้วย โดยติดเลเบลว่า “Jim Lansing by Ampex.”
โปรเจ็คลำโพงตัวที่สอง: Paragon
หลังจากปฏิเสธการขอซื้อบริษัทจาก Ampex แล้ว Thomas ก็กลับมาพัฒนาสินค้าสำหรับตลาดที่เขาสนใจ เขารู้ดีที่สุดว่าการได้สวมมาลัยลอเรล(ใบของลอเรลใช้ประดับเป็นสัญลักษณ์แห่ง เกียรติยศ)ของ JBL ไม่ควรปล่อยให้พักช่วงนานเกินไป สิ่งที่มีความสำคัญมากทีุ่สุดต้องเริ่มทันทีที่กลับเข้ามาสู่ตลาดนั่นคือการ พัฒนาโครงการลำโพงตัวที่สองของ JBL นั่นคือ Paragon
ระบบลำโพง Paragon เป็นนวัตกรรมที่ผลักดันให้ JBL กลายเป็นผู้นำของระบบเครื่องเสียงในบ้าน ด้วยการออกแบบที่เป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุดของเทคโนโลยีการออกแบบระบบเสียง สเตอริโอที่ใหม่ที่สุด มันถูกพัฒนาโดยอาศัยแนวคิดการประยุกต์ใช้งานแผงโค้งเพื่อช่วงการกระจายเสียง ให้เวทีเสียงสเตริโอกว้างขึ้น ดังที่ผู้ออกแบบได้กล่าวไว้ดังนี้:
“วิธีการปกติจะให้ระบบลำโพงแยกสองตัว ตั้งห่างกันแปดฟุตโดยให้ผู้ฟังนั่งอยู่ที่เก้าอี้นั่งฟังในแนวแกนของการเซ็ตอัพนี้ ถ้าอยากให้ผู้ฟังหลายคนได้ฟังเสียงที่เป็นสเตริโอจริงๆ ก็ต้องเอาเก้าอี้มาต่อกันในแนวแกนตรงกลางระหว่างลำโพงเหมือนรางรถไฟ เพราะต้องฟังเสียงเฉพาะในแนวแกนสมมาตรระหว่างลำโพงทั้งสองข้างเท่านั้นจึงจะได้เวทีเสียงสเตริโอที่ชัดเจน ถ้าผู้ฟังเคลื่อนออกนอกแกนจะทำให้ได้ยินเสียงจากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมากกว่า อันมีผลมาจากความเข้มของเสียงลดลงตามระยะทางทำให้รู้สักว่าเสียงจากลำโพงที่อยู่ใกล้ตัวดังกว่าลำโพงอีกข้างหนึ่ง
ผลของเสียงแบบนี้สามารถก้าวข้ามได้โดยการยิงเสียงจากลำโพงแต่ละข้างผ่านผิว โค้ง ที่ทำหน้าที่เหมือนเลนส์นูนเพื่อทำให้เสียง และทิศทางมีความเข้มของเสียงใน ด้านตรงข้ามของไดร์เวอร์มากกว่าความเข้มของเสียงด้านไดร์เวอร์เอง ตัวสะท้อนเสียงที่นูนขึ้นมาจะลดเสียงที่พุ่งตรงในแนวแกน ทำให้ผู้ฟังเลื่อนตำแหน่งฟังไปมาได้โดยไม่สูญเสียความเป็นสเตริโอ”
ผู้พัฒนาระบบลำโพง Paragon คือ Richard Ranger เป็นวิศวกรไฟฟ้า และเป็นเจ้าของบริษัท Rangertone Corporation ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในกลุ่มระบบเสียงโรงภาพยนตร์ โดยเป็นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยี สำหรับการบันทึกเสียงในฟิลม์ และงานรีโปรดัคชัน Ranger ใช้อุปกรณ์ของ JBL รวมถึงระบบลำโพงของ JBL ในการทำงานของเขา ทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสององค์กรมี่ผลักดันให้เกิดโครงการลำโพง Paragon
ข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดที่แสดงให้เห็นว่า Ranger เป็นผู้เสนอให้กับทาง JBL ด้วยแนวคิดของเขา โดนเขาเป็นผู้เริ่มงานในการพัฒนาระบบเสียงโรงภาพยนตร์ที่ใช้แผ่นโค้งสำหรับ การกระจายเสียง ซึ่งส่งผลให้ Thomas กล่อม Ranger ให้นำแนวคิดนี้มาพัฒนาลำโพงบ้าน ในปี 1957, Ranger ก็ถูกจ้างโดย JBL เพื่อทำงานด้านวิศวกรรมในการพัฒนาระบบลำโพงนั่นก็คือลำโพง Paragon โดย Ranger เป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ปรึกษาในการพัฒนาต้นแบบ อีกคนหนึ่งในทีมคือ William Hartsfield รับหน้าที่ในการออกแบบเบสส์ฮอร์น มีคีย์แมนอีกคนหนึ่งของทีมที่ถือว่าหน้าใหม่สำหรับทีมที่ปรึกษาของ JBL นั่นคือ Arnold Wolf รับหน้าที่สำหรับการออกแบบอุตสาหกรรม
ในต้นเริ่มต้นการพัฒนาต้นแบบลำโพงใช้ผิวเป็นสีดำ Micarta มันเงา เว้นแต่แผ่นโค้งกระจายเสียงผนังตู้ก็ทื่อๆตรงๆ Arnold Wolf ต้องทำการปรับระดับเพื่อให้ผนังแต่ละด้านไม่ขนานกันเพื่อเสริมคุณสมบัติด้าน อะคูสติค ซึ่งถือเป็นงานที่ยากมากเนื่องจากเป็นแบบตู้ลำโพที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ ลำโพงทุักแบบในยุคนั้น หรืออีกนัยหนึ่งเรียกได้ว่าเรขาคณิตพื้นฐานที่ใ้ช้ในการออกแบบอุตสาหกรรมใช้ ไม่ได้กับการออกแบบ Paragon เพราะเต็มไปด้วยความซับซ้อนของแบบเรขาคณิต แผ่นโด้งด้านหน้าต้องเป็นทรงที่ตายตัวและถูกรวมเข้ากับตัวตู้ทั้งหมด การใช้ตัวตู้แบบฮอร์นโหลดสำหรับเบสส์ไดร์เวอร์ ยิ่งเพิ่มความซับซ้อนของแบบเรขาคณิตเข้าไปอีก อย่างไรก็ตามงานที่ถือว่ายากและท้าทายที่สุดของการออกแบบอุตสาหกรรมคือมิด เรนจ์ฮอร์น ที่ติดตั้งสำหรับยิงเสียงให้วิ่งผ่านผิวโค้ง แล้วมันจะรวมกันออกมาเป็นลำโพงหน้าตาเช่นไร?
การออกแบบของ Arnold Wolf ไม่เพียงตอบคำถามนี้ แต่กลับกลายเป็นหลักชัยของการออกแบบอุตสาหรกรรท เนื่องด้วยความล้ำของมันเหนือกว่าการออกแบบลำโพงใดๆเท่าที่เคยมีมาในอุตสาห กรรทลำโพง การสร้างตามแบบของเขา Wolf ต้องวาดแปลนตู้ และวาดภาพที่แสดงสัดส่วนที่มองเห็นทั้งหมดของตู้ลำโพง แต่ภาพก็อาจจะมองได้ไม่ชัดเจนนัก เขาจึงสร้างแบบจำลองที่ลดขนาดลงที่เขาลงมือทำเอง ในแบบจำลองได้แสดงถึงวิธีการรวมมิดเรนจ์ฮอร์นเข้าไปในระบบลำโพง โดยมีขารองรับฮอร์นเข้ากับตัวตู้ Wolf ได้ใช้แบบจำลองนี้แสดงให้ทีมผู้บริหาร JBL ในการตรวจสอบงานออกแบบของเขา เมื่อแรกเห็น Thomas พบว่างานออกแบบนี้ผ่านแน่นนอน และแทบจะอนุมัติให้ผลิตลำโพงตามแบบจำลองนี้ทันที แต่ก็มีการปรับปรุงเรื่องของรูปแบบให้ัดูดีขึ้นอีกนิดจะได้แบบจำลองสำหรับ ใช้สร้างจริงๆในปี 1957
การเปิดตลาดของลำโพง Paragon ใช้การแสดงให้เห็นตัวจริงอย่างใกล้ชิด และเปิดเปิดให้ฟังเป็นรอบๆ โดยจัดแสดงทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการกล่าวถึงตามสื่อต่างๆมาก ระบบลำโพง Paragon มีความล้ำสมัยเหนือกว่าำลำโพงใดๆในตลาดไฮไฟขณะนั้น และยังได้รับเชิญให้ไปแสดงที่งาน “Atomfair” International Exposition ในกรุง Brussels (1958) และที่พิพิทธภัณฑ์ Brooklyn Museum (1967)
หลังจากนั้นอีก 26 ปีต่อมา ลำโพง Paragon ได้ขึ้นแท่นว่าเป็นลำโพงระดับสูงสุดของลำโพง JBL ในทุกวันนี้แม้ว่าลำโพง Paragon จะไ่ม่มีการผลิตโดย JBL แ้ล้วก็ตาม แต่กลับเป็นที่ต้องการของนักสะสมอย่างมาก และราคาของลำโพงก็พุ่งทะยานไปกว่าราคาขายในอดีตอย่างมาก
กำเนิดไดร์เวอร์ซีรีย์ LE
ผลประกอบการของ JBL เป็นกอบเป็นกำมากขึ้นหลังจากความสำเร็จของลำโพง Paragon ตามมาด้วยลำโพงในแนวคิดของ Ranger ดังเช่น Metregon ทว่า ณ.ช่วงเวลานี้ได้เกิดเทคโนโลยีใหม่ที่กลายมาเป็นคู่แข่งในตลาดลำโพงบ้านของ JBL นั่นก็คือ–ลำโพงแบบอะคูสติคซัสเพนชัน
ในปี 1954, Edgar Villchur ได้ออกแบบตู้รวมถึงลำโพงเรียกว่าระบบอะคูสติคซัสเพนชัน ตู้ลำโพงที่ผลิตส่วนใหญ่ในยุคนั้นจะเป็นแบบเบสส์ีเฟล็กซ์ หรือฮอร์นโหลด ซึ่งลำโพงทั้งสองแบบจะมีขนาดใหญ่โต Villchur จึงได้ทำการออกแบบให้ไดร์เวอร์ของเขาสามารถติดตั้งในตู้ปิดขนาดเล็กได้ อากาศที่ถูกกักภายในตู้ลำโพงทำหน้าที่เหมือนกับสปริงเมื่อทำงานร่วมกับ ไดร์เวอร์ มันจะให้การตอบสนองเสียงเบสส์ได้ลึกแม้ตู้จะมีขนาดเล็ก แนวคิดนี้ครั้งหนึ่งไม่ได้รับการตอบรับในอดีต เนื่องจากเป็นระบบลำโพงที่มีความไวต่ำ เนื่องจ่ากพลังงานส่วนหนึ่งต้องสูญเสียไปในขณะที่กรวยลำโพงทำการอัดอากาศภาย ในตู้ แต่พอมาในช่วงหลังยุค 50 เพาเวอร์แอมป์มีกำลังสูงขึ้นมาก ทำให้ปัญหาเรื่องความไวของลำโพงหมดไป, ซึ่งเป็นผลให้เกิดการสร้างเงื่อนไขทางการตลาดที่ท้าทายสำหรับ JBL โดยต้องสร้างลำโพงแข่งกับ Villchur เจ้าของลำโพง Acoustic Research และคู่แข่งอื่นๆที่ผลิตลำโพงจนาดเล็ก และราคาไม่แพง ให้เสียงเบสส์ลงได้ลึกดังเช่นลำโพงใหญ่ๆของ JBL
ในปี 1959, Bill Thomas ก็อนุมัติให้พัฒนาไดร์เวอร์ และตู้ลำโพงซีรีย์ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มทางการตลาด JBL ได้เรียกชื่องานนี้ว่า “Low Efficiency Driver Project.” ซึ่งตัวอักษรนำสองคำแรกถูกนำมาใช้เป็นชื่อรุ่นของลำโพงที่ทำการพัฒนาขึ้นมา ใหม่นี้ แต่ชื่อลำโพงมันดูขัดแย้งกับแนวทางของ JBL ที่พัฒนาแต่ไดร์เวอร์ความไวสูงออกมาตั้งแต่อดีต ซึ่งภายหลังเลยเปลี่ยนชื่อเรียกไดร์เวอร์เหล่านี้ใหม่เพื่อให้สามารถทำการ ตลาดได้เหมาะสมกว่าชื่อเรียกเดิม จึงใช้ชือว่า “Linear Efficiency” สำหรับคำย่อของไดร์เวอร์ในซีรีย์ LE
ไดร์เวอร์ในซีรีย์ LE ถูกพััฒนาขึ้นภายใต้การนำของ Bart Locanthi ซึ่งยังคงเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคหลักๆของ JBL อย่างไรก็ตามงานพัฒนาจริงๆของไดร์เวอร์ซีรีย์นี้เป็นหน้าที่ของวิศวกรชื่อ ว่า Edmond May, เขาได้เข้ามาร่วมงานกับบริษัทในปี 1956 โดยเป็นผู้ออกแบบไดร์เวอร์ฟูลเรนจ์ขนาด 8″ รุ่น LE8 และไดร์เวอร์เบสส์ขนาด 10″ รุ่น LE10 ในช่วงนี้่ JBL ก็มีการพัฒนาทวีตเตอร์แบบกระจายเสียงตรงที่ออกแบบโดย Harold Newton เพื่อใ้ช้กับไดร์เวอร์ในซีรีย์นี้ใช้ชื่อรุ่นว่า LE30 ไดร์เวอร์เหล่านี้ใช้งานร่วมกับเน็ตเวิร์ค LX3 และประกอบลงตู้ลำโพงขนาดเล็กสามรุ่นคือ Minigon, Dale, และ Madison
จุดเด่นของไดร์เวอร์ LE8 และ LE10 คือใช้ขอบลำโพงแบบม้วนครึ่ง สร้างให้มีส่วนผสมของยางที่ JBL เรียกว่า Lansaloy ในการพัฒนาครั้งนี้ส่งนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในไดร์เวอร์รุ่นใหญ่กว่า ให้มีผลการตอบสนองที่เป็นเชิงเ้ส้นขึ้นจากความสามารถในการแดมป์ตัวของวัสดุ ทำของลำโพงตัวใหม่นี้ ดังนั้นในปี 1960, ไดร์เวอร์รุ่นใหญ่ในซีรีย์ LE ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในรุ่น LE15 เป็นไดร์เวอร์ขนาด 15″
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาไดร์เวอร์ซีรีย์นี้คือ ต้องการให้ไดร์เวอร์สามารถนำไปใช้งานในตู้ลำโพงแบบอะคูสติคซัสเพนชันที่มี อยู่แล้วในตลาด JBL พบว่าไดร์เวอร์ขนาดใหญ่เหมาะกับการใช้งานด้านความถี่ต่ำๆได้ดีกว่าไดร์เวอร์ ของคู่แข่ง ดังนั้นไดร์เวอร์รุ่นหลังอย่างเ่ช่น LE14A และ LE15A จึงสามารรถใช้งานได้ทั้งตู้แบบปิด แะตู้เปิด ในช่วงการพัฒนาไดร์เวอร์ซีรีย์ LE ก็คาดการณ์กันว่าจะได้ไดร์เวอร์ที่ที่มีความไวต่ำ แต่ก็กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะไดร์เวอร์ความถี่ต่ำขนาดใหญ่ของ JBL มีความไวถึง 100 dB ที่การป้อนอินพุต 1 watt วัดความดังที่ระยะ 1m, ไดร์เวอร์รุ่นรองๆลงมาก็มีความไวในช่วง 90 dB/W/m ซึ่งก็ยังสูงกว่าความไวของไดร์เวอร์ที่ใช้ในระบบลำโพงอะคูสคิคซัสเพนชันที่ มีความไวประมาณกลางๆ 80dB/W/m
โครงการไดร์เวอร์ซีรีย์ LE ยังมุ่งเน้นในการแข่งขันด้านราคาอีกด้วย แต่พอจัดลำดับราคาเทียบกับไดร์เวอร์ทั่วไปอันดับต้นๆก็ยังคงเป็นไดร์เวอร์ ของ JBL อยู่ดี ไดร์เวอร์ซีรีย์นี้ถือว่าเป็นผลงานของ Locanthi และ May โดยในปี 1960 Locanthi ก็เข้ามาเป็นพนักงานฟูลไทม์กับ JBL โดยรับตำแหน่ง Vice President of Engineering หลังจากที่เข้ามารับตำแหนางเขาก็ได้พัฒนาพื้นฐานการทำงานโดยใช้อะนาล็อก คอมพิวเตอร์ในการจำลองผลการตอบสนองของลำโพง ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ Thiele-Small เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับการออกแบบลำโพงในขณะนั้น Locanthi ได้ประยุกต์ใช้กระบวนการออกแบบนี้กับการพัฒนาไดร์เวอร์ใหม่ๆ ทำให้ไดร์เวอร์รุ่นใหม่ๆมีความแม่นยำทางเสียงอย่างที่ JBL ไม่เคยมีมาก่อน
May พบว่าโครงการนี้มีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดถึงการออกแบบไดร์เวอร์ระดับสเตท-ออ ฟ-ธิ-อาร์ต ซึ่งก็ได้เริ่มต้นจากไดร์เวอร์ของเขาคือ LE8 และ LE15 ไดร์เวอร์ัทั้งสองรุ่นใช้วอยซ์คอยล์แบบห้อยลง ด้วยแนวทางการจัดตำแหน่งแบบนี้ทำให้วอยซ์คอยล์มีช่วงสั้นกว่าช่วงแก๊ปแม่ เหล็ก ทำให้ได้รับเส้นแรงแม่เหล็กเต็มที่ตลอด แม้แนวคิดนี้ไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่ แต่ก็ช่วยแก้ปัญหาในช่วงที่กรวยลำโพงกระพือมากๆจนวอยซ์คอยล์หลุดออกมาจาก แก๊ปทำให้ได้รับฟลักซ์แม่เหล็กลดลงเป็นสาเหตุให้เกิดความเพี้ยน May ออกแบบให้ไดร์เวอร์เหล่านี้รับแรงกระพือได้มากกว่ารุ่นก่อนๆ แต่ยังคงรักษาตำแหน่งวอยซ์คอยล์ให้รับสนามแม่เหล็กได้อย่างคงที่ ทำให้ไดร์เวอร์มีความไวสูงอยู่ เขายังได้ออกแบบโครงสร้างลำโพงให้แม่เหล็กมีความแรงตลอดช่วงชักของแก๊ป ไม่ได้มีเฉพาะตรงบริเวณที่วอยซ์คอยล์อยู่ ทำให้ไดร์เวอร์มีความเป็นเชิงเส้นสูง และให้พลังเสียงได้มากกว่า–เป็นคุณสมบัติที่ไม่สามารถหาได้จากไดร์เวอร์ของ คู่แข่งรายอื่นๆ
ไดร์เวอร์รุ่นใหม่ๆทยอยผลิตออกมาจนเพียงพอที่จะสร้างลำโพงรุ่นใหม่ ในปี 1960 ก็ได้พัฒนาลำโพงขึ้นมาใหม่รุ่น Olympus ที่ใช้ชุดคิตไดร์เวอร์ S7 (ประกอบไปด้วยไดร์เวอรฺ์ LE15, LE85, LX5) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะกับการนำมาใช้งานกับตู้นี้ Bart Locanthi เป็นผู้ออกแบบระบบลำโพงนี้โดยมีเป้าประสงค์องประการ—ให้การตอบสนองทางแอมปลิ จูดราบเรียบ และตอบสนองด้านกำลังราบเรียบ ด้วยเงื่อนไขสองข้อนี้ถือเป็นแกนกลางในการพัฒนาลำโพง JBL ในทุกวันนี้
การตอบสนองทางแอมปลิจูดจะพิจารณาจากแนวแกนการตอบสนองความถี่ของลำโพง ที่มั่นใจได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านแอมปลิจูดของสัญญาณเสียงต่างกันน้อยที่ สุดตลอดย่านความถี่การทำงานของระบบ ผลรวมการตอบสนองด้านกำลังหมายถึง ผลรวมของการตอบสนองทั้งในแกน และนอกแกน นั่นคือเป็นผลรวมด้านกำลังอะคูสติค ลำโพงที่มีผลการตอบสนองด้านกำลังที่ราบเรียบหมายความว่า สามารถแผ่พลังงานอะคูสคิคได้เท่ากันในทุกความถี่ของแบนด์วิดธ์ของระบบ
องค์ประกอบแรกมีความสำคัญของความแม่นยำใ่นด้านการแยกความแตกต่างของเสียงเห รือ Timbral และเป็นเป้าหมายหลักของนักออกแบบลำโพง องค์ประกอบที่สองมีความสำคัญต่อการควบคุมสนามเสียงของลำโพง สำหรับการออกแบบลำโพงแล้ว ทั้งสององค์ประกอบมีความสัมพันธ์กัน ไดร์เวอร์ความถี่สูงส่วนใหญ่จะให้มีทิศทางของเสียงชัดเจน และมุมกระจายเสียงแคบ เพื่อให้ผลการตอบสนองราบเรียบของไดรเวอร์ Locanthi จึงออกแบบฮอร์น/เลนส์ LE85 เพื่อควบคุมการกระจายเสียงของความถี่สูงให้กว้างขึ้น เขายังได้ออกแบบเน็ตเวิร์ค LX5 ทีให้ผลการตอบสนองด้านกำลังราบเรียบให้กับไดร์เวอร์ความถี่สูงอีกด้วย เป็นผลให้ได้ระบบลำโพงตัวแรกที่มีการตอบสนองที่ราบเรียบทั้งด้านแอมปลิจูด และกำลังขับ
ชุดคิตไดร์เวอร์ S7 และตู้ลำโพง Olympus ถูกออกแบบโดย Locanthi ที่บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งในด้านประสิทธิภาพสูงสุด, ผลลัพธ์ที่ผลักดันให้ระบบอยู่ในระดับสเตท-ออฟ-ธิ-อาร์ต โดยใช้ไดร์เวอร์ซีรีย์ LE ทั้งหมด ต่อมาก็มีชุดคิตไดร์เวอร์ S8 ตามออกมาที่ใช้ไดร์เวอร์ 375 แืทน LE85 ไดร์เวอร์ุชุดนี้พัฒนาขึ้นมาโดยความต้องการของ Bill Thomas ที่จะตอกย้ำว่าไดร์เวอร์ความถี่สูงที่ดีที่สุดคือ 375 และได้บรรจุอยู่ในสายผลิตภัณฑ์ JBL ชุดคิต S8 เปิดตัวครั้งแรกเพื่อใช้เป็นลำโพงสองทาง แต่มีแบนด์วิดธ์ไม่เหมาะสมเหมือนกับ S7 จึงถูกปรับปรุงใหม่ให้เป็นระบบลำโพงสองทางโดยเพิ่มไดร์เวอร์หัวกระสุน (Ring Radiator) 075 และครอสส์โอเวอร์ N7000
กลับสู่ถนนสายโปรฯในยุค 1960s
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จมากนักในการกลับเข้าสู่ตลาดลำโพงโรงภาพยนตร์ใน ครั้งแรก JBL ก็ได้หวนกลับสู่ตลาดระบบเสียงโปรฯในยุค 1960s โดยการนำของ George Augspurger เข้าร่วมงานกับ JBL ในตำแหน่ง Technical Service Manager ในปี 1958 แม้โอกาสแรกในการเ้ข้าสู่ตลาดโปรฯเต็มไปด้วยภาพลวง แ่ต่ก็ได้สร้าพื้นฐานให้กับ JBL ในด้านผลิตภัณฑ์โปรฯ
ในปี 1960, Altec Lansing ได้ทำการปรับโครงสร้างตลาดของตนเองใหม่ ในอดีต Altec จะขึ้นอยู่กับผู้จัดจำหน่ายทั่วประเทศรายเดียวนั่นคือ Graybar ซึ่งทำหน้าที่เป็นจุดขายในตลาดระบบเสียงโปรฯ ในปีนี้ Altec ตัดสินใจสร้างเครือข่ายจัดจำหน่ายของตนขึ้นมา ทิ้งให้ Graybar ที่มีแต่รูโบ๋ในแคตตาล๊อกสินค้า ทำให้ Graybar ติดต่อกับทาง JBL เพื่อยื่นเงื่อนไขการร่วมงานกันในการพัฒนาสินค้าในไลน์โปรฯให้กับ Graybar ทาง JBL ก็ตอบรับจ้อเสนอและพัฒนาสินค้าขึ้นมาใหม่ซึ่งรวมถึง แอมปลิไฟเออร์, หม้อแปลง, และมิกเซอร์ หลายซีรีย์ และที่ขนาดไม่ได้ก็คือลำโพงในเวอร์ัชันโปรหลายรุ่น โดยปรับปรุงเวอร์ชันโปรมาจากไดร์เวอร์ำำของลำโพงบ้านที่มีอยู่ ซึ่งไดร์เวอร์ทั้งสองเวอร์ชันมีโครงสร้างกลไก และคุณสมบัติทางไฟฟ้าเหมือ่นกันทุกประการ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดำเนินไปได้ด้วยดี และ JBL ก็ได้ประชาสัมพันธ์ให้กับตลาดอุตสาหกรรมนี้โดยยังไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่เกิด ขึ้น เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดข้อตกลงที่ัชัดเจนระหว่าง Graybar และ ทำให้ไลน์สินค้าต้องพับการขายทั้งหมด
นัยที่สองที่ส่งสัญญาณของตลาดโปรฯก็ได้เริ่มขึ้น JBL ได้เริ่มก้าวสู่ตลาดลำโพงมอนิเตอร์ในปี 1962 เนื่องจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของ Altec Lansing ที่ปล่อยให้ JBL ก้าวเข้ามาสู่ตลาดนี้ และต่อมา JBL ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังเช่นตลาำดลำโพงโรงภาพยนตร์, Altec Lansing ก็เป็นผู้นำในธุระกิจลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์โดยมีสินค้าที่ถือเป็นลายเซ็นของ Atec นั่นก็คือไดร์เวอร์ดูเพล็กซ์ุรุ่น 604 ภายใต้ทีมบริหารใหม่ที่ Altec มีแนวคิดที่จะเพิ่มผลกำไรโดยการลดต้นทุนลง ทำให้มีการพัฒนาไดร์เวอร์ดูเพล็กซ์ขึ้นมาใหม่เีีรียกว่ารุ่น 605 ซึ่งใช้แม่เหล็กขนาดเล็กกว่า เพื่อทำตลาดในการเป็นไดร์เวอร์ราคาถูกแทนรุ่น 604 ทาง Altec เปิดตัว 605 ว่าเป็น “ไดร์เวอร์ใหม่ และผ่านการปรับปรุงแล้ว” ราคาขายปลีกเท่ากันกับ 604 และแจ้งว่า 604 จะหยุดผลิต ปรากฏว่าตลาดไม่ยอมรับไดร์เวอร์รุ่นใหม่ (ผู้แปล: ด้วยเหตุผลว่าให้เสียงได้ไม่เหมือน 604) ทำให้ยอดขายของ 605 ร่วงกราวเมื่อเทียบกับ 604 และลูกค้าของ Altec ก็มองหาลำโพงมอนิเตอร์อื่นเป็นทางเลือกใหม่แทน
หนึ่งในลูกค้าที่มองหามอนิเตอร์ทางเลือกใหม่นั่นคือ Capitol Records พนักงานของ Capitol Records ได้เริ่มติดต่อกับทาง JBL ในช่วงเวลานั้นทั้งสองบริษัทก็ได้เริ่มงานกันที่ Fletcher Drive หลังจากที่ Altec 605 ได้รับผลกระทบทางการตลาด หัวหน้าวิศวกรฝ่ายผลิตของ Capitol Record ติดต่อกับ Bart Locanthi ว่าทาง JBL สนใจที่จะพัฒนาสตูดิโอมอนิเตอร์หรือไ่ม่ ซึ่งทาง JBL ก็ตอบตกลง และ Locanthi ก็ตอบกลับด้วยการพัฒนาไดร์เวอร์สำหรับใช้งานด้านสตูดิโอมอนิเตอร์ในซีรีย์ D50 งานออกแบบมอนิเตอร์ใหม่ค่อนข้างจะมีข้อจำกัดในเรื่องของตู้ลำโพงใหม่นั่นคือ รุ่น C50SM เป็นตู้ขนาดหกลูกบากศ์ฟุต ทำผิวแบบอินดันเทรียลใช้ไดร์เวอร์คิต S7 หรือ S8 ซึ่งเดิมถูกพัฒนามาเพือใช้สำหรับลำโพงบ้านของ JBL ทาง Capitol ก็ประทับใจกับมอนิเตอร์ใหม่นี้มาก และกลายเป็นมาตรฐานสำหรับระบบมอนิเตอร์ของ Capital ที่ใช้ระบบลำโพงของ JBL กับสตูดิโอทุกแห่งของ Capital ลำโพงมอนิเตอร์รุ่นใหม่นี้ เริ่มต้นที่บริษัทแม่ของ Capital ตามมาด้วย EMI ที่อังกฤษ และทำให้ JBL กลายมาเป็นมาตรฐานของลำโพงมอนิเตอร์ของสตูดิอโอ EMI ทั่วโลก
Altec เริ่มจะรู้ตัว และเป็นกังวลกับการสูญเสียตลาดส่วนนี้ จึงได้พัฒนาไดร์เวอร์ 604 เวอร์ชัน “E” ออกมาในกลางยุคปี 60 มีชื่อทางการตลาดว่า “Super Duplex.” แต่ครั้งนี้ความเสียหายเกินเยียวยาแล้ว ทำให้ Altec ยังคงสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับ JBL ในธุรกิจลำโพงสตูดิโอต่อไป
นัยต่อมาสำหรับโอกาสทางตลาดโปรฯของ JBL ก็เกิดอีกครั้งในปี 1963 ในปีนี้ JBL เปิดตัวลำโพงสำหรับเครื่องดนตรีที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในซีรีย์ “F” JBL ได้สร้างประวัติยาวนานและต่อเนื่องในการจำหน่ายไดร์เวอร์ำสำหรับเครื่อง ดนตรี ลูกค้าหลักคือใช้กับแอมป์กีตาร์ โดยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อยุค 1940s, Les Paul เป็นผู้้คิดค้นกีตาร์ไฟฟ้า และมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับ Jim Lansing ทำให้ JBL เป็นตัวเลือกสำหรับลำโพงในการสร้างแอมป์กีตาร์ของเขา ดังเช่นความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันบกับ Fender Musical Instruments ทำให้ JBL ผลิต D130s และ D131s เพื่อใช้กับแอมป์เหล่านี้
ในปี 1968 มีพัฒนาการอยู่สองนัยในไลน์สินค้าลำโพงมอนิเตอร์ นัยประการแรกมอนิเตอร์รุ่น D50S7SM ก็ปรับเปลี่ยนไปเป็นรุ่น 4320 โดย Ed May ได้ทำการพัฒนาครอสส์โอเวอร์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กับระบบลำโพงนี้ โดนเลื่อนจุดตัดเป็น 800 Hz ทำให้สามารถรับกำลังขับได้ดีขึ้น และผลการตอบสนองความถี่ต่ำ และความถี่สูงเหมาะสมขึ้น จุดเด่นของการตอบสนองด้านกำลังขับที่ราบเรียบของชุดคิตไดร์เวอร์ S7 ถูกนำมาใช้กับตู้มอนิเตอร์ D50 และมอนิเตอร์ 4320 ก็ประสบความสำเร็จในทันทีที่ออกวางขาย และสร้างความแข็งแกร่งให้กับ JBL ประการที่สองคือการพัฒนาลำโพงมอนิเตอร์ที่ลือชื่อมากที่สุดของ JBL และภายหลังยังสร้างความตื่นตัวอย่างมากให้กับตลาดลำโพงบ้านนั่นก็คือ มอนิเตอร์ 4310
ลำโพงมอนิเตอร์ 4310 ออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะมีเป้าหมายเพือให้: ให้เสียงจำลองออกมาคล้ายกับ 604 แต่มีขนาดตู้เล็กกว่า มอนิเตอร์รุ่นนี้ได้ปูทางให้ JBL โลดแล่นบนธุระกิจลำโพงมอเตอร์, 4310 ไม่ได้ทดแทน 604 ในความเป็นมาตรฐาน สิ่งที่น่าสนใจของ 604 ไม่มีอื่นใดมากไปกว่าความแม่นยำ มันสามารถอัดเสียงมิดเรนจ์ได้ดัง และการตอบสนองความถี่สูงไม่มีการโรลล์ออฟ แถมยังเป็นที่ยอมรับของสตูดิโอในช่วงยุค 40 และ 50 ซึ่ง 604 ได้กลายเป็นมอนิเตอร์อ้างอิงสำหรับวิศกรสตูดิโอทุกคน เหนืออื่นใด 604 เป็นมอนิเตอร์ที่ให้ความแม่นยำทางเสียงมาก
นัยประการที่สองของสตูดิโอมอนิเตอร์ JBL ช่วงปลายปี ’60 ที่กลายเป็นตำนานของวงการ นั่นคือมอนิเตอร์แบบวางหิ้งรุ่น 4310 ซึ่งเป็นงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์ให้คุณภาพเสียงในแบบฉบับของ 604 แต่มีตัวตู้เล็กกว่ามาก ซึ่งนับจากนี้ไป JBL ได้เริ่มก้าวสู่ถนนแห่งลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์ แต่ก็ยังไม่สามารถเบียด 604 ให้ออกจากกมาตรฐานวงการได้ เนื่องจาก 604 ยังให้น้ำเสียงที่มีความแม่นยำมากกว่า โดยสามารถอัดเสียงย่านมิดเรนจ์ออกมาได้เต็มๆโดย ไม่ทำให้ความถี่สูงโรลล์ออฟ และมันยังครองห้องสตูดิโอมาัตั้งแต่ปี ’40 จนถึง ’50 และเป็นมอนิเตอร์อ้างอิงของวิศวกรสตูดิโอที่คุ้นเคยกับ 604 มากกว่า เรียกได้ว่าถ้าเปรียบมวยตัวต่อตัวความแม่นยำของ 604 ยังได้เปรียบหลายช่วงตัว
Bob Fine เจ้าของสตูดิโอชื่อดังในนิวยอร์ค เป็นผู้กำหนดแนวการออกแบบให้กับ 4310 เขาต้องการตู้ลำโพงที่มีขนาดเล็กลงเนื่องจากช่วงนั้นมีเครื่องบันทึกเทปแปด แทร็คเข้ามา Bob เป็นสตูดิโอแรกๆที่นำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้งาน ซึ่งต้องการติดตั้งมอนิเตอร์แยกแต่ละแทร็ค ทำให้ไม่สามารถติดตั้งมอนิเตอร์ 604 จำนวนแปดตัวลงในห้องคอนโทรลได้ และได้แจ้งความต้องการใช้มอนิเตอร์ขนาดกระทัดรัดไปทาง JBL โดยได้รับการตอบรับจากทาง JBL ในการพัฒนามอนิเตอร์ขนาดเล็กอย่างรุ่น 4310 ในเวลาอันสั้น และตรงกับความต้องการสำหรับประยุกต์ใช้งานในระบบสตูดิโอใหม่นี้พอดี
ช่วงปี ’60 จำนวนของสตูดิโออิสระขนาดเล็กเกิดขึ้นมากมาย มอนิเตอร์ 4310 เหมาะเจาะกับห้องควบคุมขนาดเล็กมาก ขนาดของ 4310 เล็กพอที่จะติดเข้ากับคอนโซลสำหรับการใช้งานเป็นมอนิเตอร์แบบเนียร์ฟีลด์ ซึ่งเป็นจุดเด่นมากประการหนึ่งเพราะมีผลกระทบจากอะคูสของห้องน้อยกว่า การฟังมอนิเตอร์ใกล้ๆแบบนี้วิศกรได้รับฟังเสียงตรงๆจากตัวมอนิเตอร์เลย แทนที่จะได้ฟังเสียงสะืืท้อนไปมาระหว่างผนังห้องและเพดาน ซึ่งเสียงที่สะท้อนไปมาทอนคุณภาพลำโพงลงไปมาก
ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือในระหว่างการพัฒนามอนิเตอร์ 4310 ให้ได้เสียงที่เป็นธรรมชาติตามลำโพงอ้างอิงในยุคนั้น Ed May ซึ่งเป็นวิศวกรของ JBL ได้นำเอาลำโพงสองทางของ JBL รุ่น L88 มาเพิ่มไดร์เวอร์ LE5 เพื่อเพิ่มเสียงช่วงการตอบสนองย่านมิดเรนจ์มากเหมือนกับ 604 ในการพัฒนา 4310 ก็เอา 604 มาทดสอบฟังเปรียบเทียบกันหมัดต่อหมัด ซึ่ง Ed May ก็ได้ถ่ายทอดเสียงในแบบ 604 มายัง 4310 ได้อย่างหมดจดแม้ผ่านการฟังในเชิงนามธรรม
ช่วงปลายปี ’60 JBL ก็พยายามบุกตลาดอีกคำรบหนึ่งเมื่อพยายามเจาะตลาดที่แข็งที่สุดของ Altec นั่นก็คือตลาดลำโพงโรงภาพยนตร์ ซึ่งก็เจาะไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับ 604 ระบบลำโพง Voice of the Theater (VOTT) กลายมาเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมนี้ แม้ว่าทุกคนจะทราบว่าเป็นระบบลำโพงที่ให้ความแม่นยำของเสียงยังไม่ดีนัก การตอบสนองของฮอร์นกับตู้เบสส์รีเฟล็กซ์ยังด้อยในด้านความถี่สูง แต่สถาบัน Academy of Motion Picture Arts and Sciences ก็ได้ออกใบรับรองว่า VOTT เป็นระบบลำโพงที่เป็นมาตรฐานของโรงภาพยนตร์ กลายเป็นมาตรฐานระบบลำโพงที่ไม่มีใครอยากจะต่อกรด้วย แต่ JBL หาญกล้า…
ในปี 1969 JBL ได้เริ่มท้าทายด้วย Cinetron System เป็นตู้ลำโพงที่ใช้ไดร์เวอร์เบสส์กระจายเสียงแนวตรง และมีฮอร์นความถี่สูง ซึ่งฮอร์นที่ว่านี้คือ 2397 “Smith” Horn เป็นฮอร์นแนวกว้างเน้นการตอบสนองย่านความถี่สูง หลังจากทุ่มเทพัฒนาอย่างหนัก JBL ขายและติดตั้ง Cinetron System ได้เพียงชุดเดียวเท่านั้น VOTT ยังคงความเป็นมาตรฐานที่ไม่มีใครก้าวข้ามได้ต่อไป…
สู่การทดลองในการสร้างรูปแบบใหม่…
ช่วงใกล้สิ้นสุดยุค 1960s จะพบลำโพงบ้านที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในซีรีย์ Aquarius เป็นลำโพงซีรีย์ที่พัฒนาให้แตกต่างจากลำโพงในท้องตลาดทั่วไป เปิดตัวในตลาดทันที่ที่พัฒนาเสร็จ แต่น่าแปลกที่ลำโพงซีรีย์นี้อยู่ในตลาดได้เพียงสองปีเท่านั้น นี่เป็นอีกหนึ่งของความเสี่ยง และความท้าท้ายในการผลักดันไปสู่ความเป็นสเตต-ออฟ-ธิ-อาร์ต
โครงการ Aquarius เริ่มต้นนปี 1968 โดยน Tom Jennings ที่เข้ามาร่วมงานกับ JBL ในตำแหน่งแทน Ray Pepe เป็นการมองตลาดไปข้างหน้า เขามองเห็นโอกาสที่จะปรับปรุงภาพลักษณ์ของ JBL โดยใช้สินค้าที่แตกต่างทั้งสไตล์ และเทคโนโลยี เขาออกแบบภาพลักษณ์ และการแนวคิดทางการตลาดอิงการเปลี่ยนยุคของดวงดาวที่เป็นวัฏหมุนรอบ ในช่วงนั้นเป็นช่วงเปลี่ยนสู่ “Age of Aquarius” เกิดรูปแบบสังคมแบบป๊อบทั่วทั้งอเมริกา กลายมาเป็นไอเดียสร้างลำโพงในซีรีย์ Aquarius
เทคโนโลยีใหม่ๆมาจาก Ed May ช่วงเวลานั้นเขาได้เป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Frazier-May โดยเขาได้พัฒนาระบบลำโพงแบบ slot loading เป็นแนวคิดในการใช้แผ่น และแค๊ปโหลดปิดด้านหน้าไดร์วเวอร์ลำโพงให้เหลือช่องอากาศประมาณ 1″ ที่จะปล่อยให้ไดร์เวอร์ดันคลื่นเสียงผ่าน ช่องอากาศนี้เป็นทั้งช่องมวลอากาศเข้า และออก โดยจะอยู่ข้างตู้ทำให้เสียงกระจายออกทั่วแนวแกนของตัวลำโพงไปสู่ผู้ฟัง May เคยลองกล่อมให้ JBL พัฒนาลำโพงโดยร่วมกับบริษัทของเขา โครงการ Aquarius ก็ได้เปิดโอกาสให้กับเขาอย่างที่ต้องการ และ Thomas ก็ได้อนุมัิติโครงการให้พัฒนาลำโพงครบทั้งซีรีย์ออกมา
ลำโพงซีรีย์ Aquarius มีด้วยกันห้ารุ่นประกอบไปด้วยรุ่น 1, 2, 2A, 3, และ 4 ทุกรุ่นใช้การออกแบบร่วมกันในแนวทางการสร้างตู้เบสส์แบบสล็อตโหลด และรูปแบบการจัดวางไดร์เวอร์ความถี่สูง เป้าหมายคือต้องการให้ลำโพงไม่มีข้อจำกัดในตำแหน่งการจัดวางลำโพง โดยสามารถกระจายสนามเสียงสเตริโอครอบคลุมตำแหน่งของผู้ฟังได้อย่างอิสระ ซึ่งให้ผลคล้ายๆกับระบบลำโพง Paragon
ลำโพงสามรุ่นแรก (1, 2 แบะ 2A) มีการออกแบบคล้ายๆกันคือเป็นลำโพงสามทาง มีไดร์เวอร์เบสส์ และมิดเรนจ์เป็นสล็อตโหลด ส่วนทวีตเตอร์เป็นแบบง่ายๆกระจายเสียงในแนวตรงสู่ผู้ฟัง รุ่น Aquarius 3 เป็นรุ่นสูงสุดในซีรีย์เป็นลำโพงสองทางใช้ไดร์เวอร์ LE14A และ LE85 พัฒนาให้มีฮอร์นเฉพาะที่ใช้กับ LE85 มีรูปร่างเหมือนกลีบดอกไม้เป็นแผ่นติดตั้งด้านหน้าของไดร์เวอร์ตรงช่องคอ ทำหน้าที่กระจายสนามเสียง ส่วนรุ่น Aquarius 4 เป็นลำโพงที่มีขนาดเล็กที่สุดของซีรีย์ เป็นตู้ที่เป็นแนวตรงใช้ไดร์เวอร์ LE8T ติดตั้งในแนวตั้งยิงเสียงเข้าโหลดแค็ป และสล็อตด้านบนของไดร์เวอร์ ด้านหลังยิงเสียงผ่านไดร์เวอร์ LE20 โดยมีสล็อตวงกลมทำหน้าที่เป็นโหลดสล็อตสำหรับกระจายเสียงรอบตัว
ลำโพง Aquarius รุ่น 1, 2, 2A, และ 4 เปิดตัวในปี 1970 ทุกรุ่นมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และวิศกรรมที่ส่งแรงกระเพื่อมในอุตสาหกรรมการออกแบบลำโพง แต่กลับไม่ส่งผลอะไรกับยอดขาย ลำโพง Aquarius 2 และ 2A ก็ถูกถอดถอนออกจากตลาดไป เนื่องจากการเร่งพัฒนาและผลิตลำโพงทำให้ราคาสูงมาก ความล้มเหลวของลำโพงหัวหอกในซีรีย์นี้ทำให้ Aquarius 3 ถูกยกเลิกการผลิตก่อนที่จะเริ่มต้นทำ ซึ่ง Aquarius 3 มีเพียงสี่คู่เท่านั้นที่ถูำกผลิตออกมาก่อนที่สายการผลิตจะถูกยกเลิก หลงเหลือเพียง Aquarius 1 และ 4 ที่หลุดรอดมาให้ผลิตต่อในปี 1971 รุ่น Aquarius 1 ถูกผลิตออกมาไม่มากนักเมื่อจำหน่นหมดก็ไม่มีการผลิตต่อ หลงเหลือเพียง Aquarius 4 ที่ดำเนินการผลิตต่อเนื่องไปอีกห้าปี
ลำโพง Aquarius 4 มีจุดเด่นตรงลำโพงเป็นทรงตั้งสููงใช้พื้นที่จัดวางน้อย จึงมีความยืดหยุ่นในการจัดวางลำโพงภายในบ้าน ใ่นช่วงต้นของยุค 70 ได้เกิดเทคโนโลยีที่อายุสั้นที่สุด แต่มีผลดีต่อลำโพง Aquarius 4 นั่นก็คือการมาของระบบเสียง Quaadraphonic ที่ต้องการใช้ลำโพงถึงสี่ตัวในการฟัง ทำให้ลำโพงที่ประหยัดเนื้อที่อย่าง Aquarius 4 ได้รับประโยชน์ไปด้วย ด้วยความนิยมนี้ก็มีกาีรพัฒนาต่อในช่วงปี 1975 นั่นคือลำโพงสามทาง L120 Aquarius Q แต่พอมากลางยุค 70 ระบบควอดราโฟนิคก็กลายเป็นมาตรฐานที่ล้าหลัง และเสื่อมหายไปจากตลาด ในปี 1977 ลำโพงในซีรีย์ Aquarius ก็หยุดผลิต