มาเล่นลำโพงฮอร์นกันเถอะ ตอนที่ 2

พอดีมีบทความหนึ่งที่เขียนโดย Jeff Markwart และ John Tucker นั่นก็คือบทความ ALTEC “Voice of The Theater” Speakers for Hi-Fi ในวารสาร Sound Practice ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับลำโพงฮอร์นได้อย่างออกอรรถรสเลยขอนำมาเล่าให้กับผู้อ่านดังนี้ครับ

ฟังลำโพงมาหลากรุ่นหลายยี่ห้อแล้วยังไม่เข้าหู ไม่ลองเล่นระบบลำโพงฮอร์นดูล่ะ… คำแนะนำที่อาจจะฟังดูแปลกๆไปสักหน่อย หลังจากทดลองฟังลำโพงคลาสสิค Altec Lansing A7-500W-1 Magnificents สำหรับรุ่น Magnificent เป็นลำโพง Altec ลงตู้แบบเฟอร์นิเจอร์ ย่อส่วนจาก A7 “Voice of The Theater” ใช้ฮอร์น 500Hz

ซึ่งลำโพงฮอร์น A7-500W-1 Magnificents ได้สร้างประสบการณ์ในการฟังประสบการณ์ในการฟังครั้งใหม่ ที่แตกต่างไปจากลำโพงปกติที่เคยฟัง ได้ประการณ์ในเชิงบวกในการฟังดังนี้
– เสียงยิ่งใหญ่ ไดนามิคเหลือเฟือ
– สปีดเสียงรวดเร็ว ควบคุมการตอบสนองอย่างเฉียบพลันของเสียงกลางได้ดีมาก
– ให้ความสมจริงสมจังของเสียงดนตรี
– เสียงกลางที่สะอาดชัดเจน
– เสียงเบสส์ที่เปิด เป็นธรรมชาติมาก
– ประสิทธิภาพสูง

ทำการต่อA7-500 ทั้งคู่เข้ากับแอมป์พุช-พูล 6B4-G ที่ Jeff Markwart สร้างขึ้น โดย John Tucker หยุดงานมาช่วยฟังลำโพง Altec ด้วยซึ่ง John ก็มีลำโพง Altec อยู่ที่บ้านเช่นกัน หลังจากทดลองฟังกันได้ช่วงเวลาหนึ่งผู้เขียนกับจอห์นก็ได้ข้อสรุปว่าเสียงของ A7 มีสไตล์เสียงบางอย่างที่ติดตัวมาดังนี้
– เสียงกลาง และแหลมมีความเพี้ยน ในช่วงการสวิงเสียงระดับแรงๆ
– เสียงแหลมมีการสั่นค้าง
– เวทีเสียง และอิมเมจยังด้อยอยู่
– ขาดหัวเบสส์สะอาดๆ
– ขาดเบสส์ลึกๆ
– ขาดสมดุลของเสียงเมื่อเทียบกับลำโพงที่ SPL ต่ำกว่า
– เจือสีสันจากครอสส์โอเวอร์
– ต้องการระบบเสียงที่ใช้งานที่มีระดับสัญญาณรบกวนต่ำมากๆ
พอจะสรุปแนวทางในการก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ และขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น จากการทดลองของผู้เขียน และจอห์นถึงแนวทางในการปรับปรุงลำโพงฮอร์น ข้อแนะนำบางประการอาจจะไม่เหมาะสมในแน่ของประสิทธิภาพเทียบกับราคา และข้อแนะนำบางประการก็สามารถปรับไปใช้กับระบบลำโพง Altec รุ่นอื่นๆได้ด้วย แต่ก็เป็นคำแนะนำที่ทำให้ลุล่วงถึงการรีดประิสิทธิภาพของ A7 ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในการใ้ช้งานแบบไฮไฟ, ฟูลเรนจ์, ภายในห้องฟังขนาดเล็ก, ที่ให้ความสงัด และสภาวะแวดล้อมที่ถูกควบคุม

 

เสียงรบกวนมากมาย!!
ลำโพง A7 มีประสิทธิภาพสูงมากๆ ปกติลำโพง A7 จะมีความไวประมาณ 105 dB SPL (1W/1M) คุณจะพบว่ามันจะรายงานระดับสัญญาณรบกวนของชุดเครื่องเสียงออกมาได้ทั้งหมด ระดับสัญญาณฮัมต้องอยู่ในระดับต่ำกว่า 1-2mV ถึงจะไม่ได้ยินเสียงฮัมออกจาำกลำโพงวูฟเฟอร์ คอมเพรสชันไดร์วเวอร์จะได้ยินเสียงเธอร์มัลนอยส์ถ้าอยู่ให้ห้องที่เงียบมากๆ (40-45 dBA) ขั้นตอนต่อจากนี้ไปเป็นวิธีลดสัญญาณรบกวนของระบบให้ต่ำที่สุด:
– ใช้แอมป์หลักในการขับลำโพง ที่มีระดับสัญญาณฮัมต่ำมากๆไม่เกิน 1-2mV โดยวัดภายใต้เงื่อนไขชอร์ตอินพุตลงกราวด์
– ต้องแน่ใจว่าไม่เกิดกราวด์ลูปขึ้นในระบบเสียง
– ตัดภาคขยายที่ไม่จำเป็นออกให้หมด
– ใช้ Step Attenuator
– สำหรับระบบ unbalanced หรือ RCA ปกติให้ใช้สายที่มีชีลด์
– อัพเกรดสายลำโพง, สายต่อครอสส์โอเวอร์ และสายต่อต่างๆ
– อัพเกรดสายต่อไปยังคอมเพรสชันไดร์เวอร์ และวูฟเฟอร์
– ทำความสะอาดขั้วต่อต่างๆ
ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยให้ได้ไดนามิคเรนจ์, ลดความเพี้ยนเชิงฮาร์โมนิค, เพิ่มรายละเอียดของเสียง และให้อิมเมจดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณทำเป็นประจำกับระบบเครื่องเสียงของคุณอยู่แล้ว หรือเปล่า!!

เอาด้านไหนขึ้นดี?
ระบบลำโพง A7 สามารถติดตั้งได้สองแบบคือแบบอินเวิร์ตหรือกลับหัวหงายพอร์ตรีเฟล็กซ์ขึ้นบน แล้วติดไดร์วเวอร์ความถี่สูงไว้ด้านในตู้ตรงพอร์ตรีเฟล็กซ์ (พบการติดตั้งแบบนี้ในลำโพง A7-W ดังรูปที่ 2) หรือแบบอัพไรต์ที่จัดวางไดร์วเวอร์ความถี่สูงไว้ด้านบนตู้ แล้ววางพอร์ตรีเฟล็กซ์ลงพื้น (ดังรูปที่ 1) ถ้าถอดไดร์วเวอร์ความถี่สูงออกจากพอร์ตรีเฟล็กซ์ ควรจะลดขนาดช่องของพอร์ตรีเฟล็กซ์ลงด้วยประมาณ 375-220 ตารางนิ้ว การติดตั้งแบบอัพไรต์จะให้การกระจายของเสียงเบสส์ได้ีดีกว่า และเบสส์จะกระชับกว่า ให้อิมเมจเสียง และผสมผสานเสียงกับฮอร์นได้ดีกว่า

ข้อควรระวัง: มุมเอียงขึ้นลง และเดินหน้าถอยหลัง
ลำโพงแต่ละตัวต้องการครอสส์โอเวอร์ที่มีการปรับเฟสของไดร์วเวอร์ความถี่ต่ำ และความถี่สูงให้ทำงานสอดคล้องกัน Altec แนะนำให้จัดวางไดร์วเวอร์ดังนี้ 1) ตำแหน่งวอยซ์คอยล์ของไดร์วเวอร์จะต้องตรงกันในแนวตั้ง หลังจากนั้นให้ 2) ปรับตำแหน่งมุมเอียงขึ้นลงของไดร์วเวอร์ความถี่สูง หรือฮอร์น (ให้ต่อกลับเฟสกับลำโพงวูฟเฟอร์) เพื่อให้ได้ผลการปรับที่ถูกต้องควรมีออดิโอแอนาไลเซอร์แบบเรียบไทม์ในการวัดลำโพง และป้อนสัญญาณพิงค์นอยส์ ปรับมุมเอียงของฮอร์นลงเพื่อได้ค่าที่จุดตัดดรอปลง 6-8 ดีบี หลังจากปรับได้ตำแหน่งถูกต้องแล้วค่อยต่อขั้วลำโพงกลับให้อินเฟสกับลำโพงวูฟเฟอร์เพื่อใช้งาน

การบุอะคูสติคภายในตู้ และการจูนอื่นๆ

ตู้เบสส์ส่วนมากจะมีพลังงานเสียงความถี่ต่ำที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นด้วย การปรับลดอาการเหล่านี้โดยใช้วัสดุต่างๆจึงมีความจำเป็น อารจะใช้วิธีการติดวีเนียร์ภายนอกตู้เพื่อลดอาการสั่นค้าง และใช้ไม้ยึดผนังด้านในตู้ขนาด 2×2 หรือ 2×4 ติดกาว หรือยึดสกรูที่ปลายไม้ แดมป์ภายในตู้ตรงบริเวณฮอร์นสั้นๆด้วยอีพ็อกซีย์, ดินน้ำมัน, โฟมฉนวน, หรือวัสดุอื่นๆที่เหมาะสม ตรงโค้งด้านในของฮอร์นอาจจะติดไม้ยึดค้ำขนาด 1×2 การยึดโครงสร้างตู้ให้มั่นคงแข็งแรงจะช่วยให้ลดความเพี้ยนของเสียงจากการสั่นค้างของตัวตู้ลงทำให้มิดเบสส์ และอัปเปอร์เบสส์ดีขึ้น

ให้ซีลภายในตู้จนแน่ใจว่าไม่มีอากาศรั่วตามรอยต่อของแผ่นไม้ อาการที่มักเจอกับตู้ลำโพงเก่าๆคือขอบไม้หดตัวทำให้เกิดช่องว่างที่รอยต่อของตัวตู้ โดยเฉพาะตรงบริเวณขอบของฮอร์นของตัวตู้

คอมเพรชันไดร์เวอร์….ตัวเลือกมากมาย

คอมเพรสชันไดร์เวอร์ที่นำมาประยุกต์ใ้ช้งานกับ A7 จะเป็นแบบช่องคอ 1″ ซึ่งจะประกอบไปด้วยรุ่น 802, 804, 806, 807, 808, 902, 908 และ 909 หรือ 1.4″ ประกอบไปด้วยรุ่น 288, 291 และ 299 แต่ละรุ่นก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปอีกทั้งรูปร่าง ประสิทธิภาพ ตามปีที่ผลิต

ข้อมูลประกอบโดยทั่วๆไป
– รุ่นเก่าก่อนปี 1980 จะเป็นแม่เหล็กอัลนิโก ถ้ารุ่นหลังๆจะเป็นแม่เหล็กเฟอร์ไรต์
– รุ่นเก่าๆก่อนปี 1977-1979 จะใช้เฟสปลั๊กเป็นโลหะ รุ่นหลังๆจะใช้เฟสปลั๊กเป็นพลาสติค “Tangerine” (รุ่นที่เฟสปลั๊กเป็นพลาสติค ให้ถอดมาดูด้วยว่าหลุดออกมาหรือยัง เพราะส่วนใหญ่กาวจะเสื่อมหมดแล้วครับ)
– รุ่นเก่าๆตะแกรงที่ช่องคอเป็นทองเหลือง มีประเก็นรองคอมเพรสชันไดร์เวอร์กับปากฮอร์น ส่วนรุ่นใหม่กว่าตะแกรงที่ช่องคอจะเป็นทองเหลือ หรือสแตนเลสส์ประกบด้วยเฟสปลั๊กและช่องคอ
– ไดร์เวอร์ช่องคอ 1″ รูยึดน็อตสามารถติดตั้งกับปากฮอร์นแบบเซคเตอรัล 511 หรือ 811 ได้โดยตรง และต้องมีอะแด็ปเตอร์ำสำหรับติดตั้งกับปากรุ่นที่ใหญ่กว่า 1″ อย่างเช่นปากแบบมัลติเซลล์ หรือแบบซีดี (constant directly) ที่ออกแบบสำหรับปากรุ่นช่องคอ 1.4″
– ไดร์เวอร์ช่องคอ 1.4″ จะติดตั้งกับปากรุ่นใหญ่ๆอย่างเช่นแบบมัลติเซลล์ หรือแบบซีดี ได้เลย

ชนิดของไดอะแฟรมที่ใช้ในคอมเพรสชันไดร์เวอร์ของ Altec มีดังนี้
1. อะลูมิเนียม (Aluminum): รับกำลังขับได้ต่ำ ให้การตอบสนองฉับไวที่สุด และผลการตอบสนองความถี่สูงดีที่สุด ใช้ในรุ่น 288, 802/902, 804/806
2. Pascalite: รับกำลังขับได้สูง ให้การตอบสนองฉับไว และผลการตอบสนองความถี่สูงรองลงมาจากแบบอะลูมเนียม ใช้ในรุ่น 288, 909
3. Symbiotik: รับกำลังขับได้สูง ให้การตอบสนองฉับไว และผลการตอบสนองความถี่สูงแย่ที่สุดในสามแบบนี้ ใช้ในรุ่น 291, 807, 808/908

วูฟเฟอร์สำหรับ A7 จะมีสองตระกูลด้วยกันคือรุ่นแม่เหล็กใหญ่อย่างตระกูล 515 และรุ่นความไวต่ำกว่าอย่างตระกูล 803/416 ในแต่ละตระกูลจะมีจุดต่างรายละเอียดเล็กๆน้อยๆอีกมากมายทั้งหน้าตา และประสิทธิภาพ สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้
– รุ่นเก่าๆ (ทั้ง 515, 803A) จะใช้กรวยที่มีน้ำหนักเบาเกิดเรโซแนนซ์ที่ความถี่ 40-45Hz และมีอิีมพีแดนซ์ 16-20 โอห์ม
– รุ่นหลังๆ (515B เป็นต้นมา, 803B/416A เป็นต้นมา) จะใช้กรวยที่มีน้ำหนักมากกว่าเกิดเรดซแนนซ์ที่ความถี่ 25Hz อิมพีแดนซ์มีทั้ง 8 และ 16 โอห์ม
– รุ่นแรกๆจะใช้แม่เหล็กอัลนิโก รุ่นหลังๆเป็นแม่เหล็กเฟอร์ไรต์

 

รายละเอียดที่เพิ่มรายละเอียดเสียง

ไม่ว่าคุณจะเลือกเล่นคอมเพรสชันไดร์เวอร์รุ่นไหนก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ต้องจัดการคือตาข่ายสำหรับป้องกันแมลง หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปด้านในคอมเพรสชันไดร์เวอร์ เนื่องจากสภาพการใช้งานจริงของไดร์เวอร์แบบนี้ค่อนข้างสมบุกสมบัน จึงมีตาข่ายสำหรับป้องกันแมลงเข้าไป ให้ลองนึกภาพถึงมุ้งลวดไม่ว่าตาข่ายนี้จะเบาบางแค่ไหนล้วนแต่มีผลกระทบต่อการมองผ่านมุ้งลวดเช่นเดียวกันกับตาข่ายกันแมลงนี้ ในรุ่นเก่าต้องถอดออกจากประเก็นรอง ถ้าเป็นรุ่นใหม่ก็ตัดเป็นรูปตัว X แล้วกรีดออกด้วยมีดแอคเซ็คโต เจ้าตาข่ายกันแมลงนี้มีผลต่อความเพี้ยนของเสียงกลางแหลม ในช่วงสวิงของสัญญาณเสียงแรงๆ ทำให้ขอบเสียงแหลมมนๆ เสียงกลางเจือสีสัน เกิดการกดของสัญญาณความถี่สูง และเฟสกับอิมเมจฟุ้งกระจาย ไดร์เวอร์ของ Altec ให้เสียงที่ดีขึ้นหลังจากที่เอาตาข่ายนี้ออก (ผมเองเคยมีประสบการณ์ฟังแล้วเสียงไม่เท่ากัน ลองส่องดูพบแมงมุมลอกคราบทิ้งไว้ตรงตาข่ายนี้ พอเอาซากแมงมุมออกเสียงเท่ากันเลย)

ไม่ว่าคอมเพรสชันไดร์เวอร์จะใหญ่หรือเล็กหากใช้ไดอะแฟรมเป็นอะลูมิเนียมจะใช้ฟังเพลงในบ้านได้ดีกว่า โดยไดอะแฟรมอะลูมิเนียมจะมีทั้งอิมพีแดนซ์ 8 และ 16 โอห์ม สำหรับไดร์เวอร์รุ่น 1″ และอิมพีแดนซ์ 8, 16, 24 และ 32 โอห์มสำหรับรุ่น 1.4″ จะำจำกัดก็เพียงการรับกำลังขับได้ต่ำกว่าแบบอื่นๆ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลมากนักหากนำไปใ้ช้งานในแบบไฮไฟ ยกเว้นว่าจะฟังด้วยความดังขนาดเขย่าขี้หู ก็ให้ใช้แบบ Pascalites

ไม่ว่าจะเล่นพาสซีพว์ หรือแอคทีพว์ครอสส์โอเวอร์ให้ใช้จุดตัดที่ 500Hz ตลอด และถ้าเป็นฮอร์นขนาดยาวขึ้นก็ใช้จุดตัดที่ต่ำลงให้ัสัมพันธ์กัน จะได้เสียงที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีเยี่ยม ไดร์เวอร์ขนาด 1″ สามารถใส่กับฮอร์นเซคเตอรัลขนาดใหญ่, มัลติเซลล์ หรือแบบซีดีได้โดยใ้ช้อะแด็ปเตอร์ของ Altec ฮอร์นที่มีความยาวจะมีการตอบสนองความถี่ได้ต่ำกว่าต้องเลื่อนจุดตัดของครอสส์โอเวอร์ให้ต่ำลงกว่าฮอร์น 500Hz รุ่นมาตรฐานอย่าง 511 ฮอร์นยาวๆได้แก่รุ่น 311 หรือ 329A รุ่น 329A ต่างจาก 311 ตรงที่เซคเตอรัลเป็นแท่งยึดแทนที่จะเป็นอลูมิเนียมหล่อชิ้นเีดียวกับฮอร์น

ครอสส์โอเวอร์ 500Hz ของ Altec ให้เสียงดียอดเยี่ยม ปกติจะเป็นแบบ 12db/octave, ขนาน L/C, ชนิดบัตเตอร์เวิร์ธ ออกแบบมาสำหรับอิมพีแดนซ์ 8 หรือ 16 โอห์ม มีเพียงไม่มีรุ่น (เช่น N500C และ E) ที่เซ็ตให้เป็น 12 โอห์ม ครอสส์โอเวอร์สต็อกเก่าแบบนี้ต้องนำมาเปลี่ยนตัวเก็บประจุ และสายภายในใหม่ จะช่วยให้เสียงดีขึ้นมากมาย เราได้ทำการวัดค่าตัวเก็บประจุของครอสส์โอเวอร์ Altec เก่าๆหลายตัวพบว่าค่าที่วัดได้ต่างไปจากค่าที่ระบุบนตัวถังมากพอสมควร

รีดประสิทธิภาพได้อีกโดยการเล่นไบแอมป์กับลำโพง A7 หากมีโอกาสทดลองฟังทั้งจากที่ใช้แอคทีพว์ครอสส์โอเวอร์แบบโซลิตสเตต และหลอด ที่ความชัน 12, 18 และ 24 db/octave ร่วมกับไบแอมป์พบว่าให้ประสิทธิภาพเหนือกว่า การเล่นจากแอมป์ตัวเดียวผ่านพาสซีพว์ครอสส์โอเวอร์มาก โดยส่วนตัวแล้ว Jeff จะชื่นชอบแอคทีพว์ครอสส์โอเวอร์แบบ Linkwitz/Riley ความชัน 24 db/octave

ถ้าคุณอยากได้เสียงที่มีรายละเอียดที่ความถี่สูงกว่า 10-12kHz เลือกใช้ไดร์เวอร์ขนาด 1″ จะเหมาะสมกว่าใช้ 1.4″ ไม่มีรายละเอียดตัดสินจากการทดสอบฟังในบทความนี้ ไดร์เวอร์ 802 ให้เสียงในแนว 288 แต่ออกจะคมชัดขึ้นขอบกว่า ในขณะที่พี่ใหญ่ 288 สุขุมนุ่มนวลกว่า ใช้อะแด็ปเตอร์ Altec 21216 ทำให้สามารถนำเอาไดร์เวอร์ 1″ ไปใช้กับปากฮอร์นที่ออกแบบมาสำหรับปาก 1.4″ ได้

เสียงกลางที่สะอาดชัดเจนมาจากการเลือกไดร์วเวอร์ที่มีเฟสปลั๊กเป็นโลหะ เฟสปลั๊กแบบ Tangerine จะโดดเด่นเรื่องความเพี้ยนของเสียงต่ำ ให้เสียงที่คงเส้นคงวาและรายละเอียดดนตรีชัดเจนกว่า

แนะนำให้ใช้วูฟเฟอร์รุ่น 416 กับระบบลำโพง A7 เพราะได้ภาพรวมของเสียงไปกันได้ดีกับการฟังแบบไฮไฟ วูฟเฟอร์ 515 จะให้เสียงเบสส์ได้มากกว่า

เบสส์ลึกๆหายไปไหน??
ไม่มีใครขโมยเบสส์ต่ำๆไปหรอกเพราะตู้ในแบบของ A7 ไม่สามารถสร้างเสียงเบสส์ลึำกๆออกมาได้ เนื่องจากตัวตู้มีเรโซแนนซ์ และปริมาตรไม่พอ ถ้าคุณอยากได้เสียงเบสส์ลึกๆโดยการพยายามเพิ่มปริมาตรตู้ (จริงๆใชฺ้วิธีการลดช่องพอร์ตลงจะง่ายกว่าการเพิ่มปริมาตรตู้) จะำทำให้อิมพีแดนซ์โดยรวมของลำโพงสูงขึ้น ทำให้ลดความราบเรียบของเสียงเบสส์ ลดประสิทธิภาพ และลดการตอบสนองที่ฉับไวอันเป็นอัตลักษณ์ที่สร้างชื่อให้กับลำโพง A7 ไป วิธีการที่เหมาะสมคือเลือกใช้ซับวูฟเฟอร์ที่เหมาะสมกับลำโพง A7 ซึ่งพบว่ายังไม่มี!

เรากลับให้ความสนใจต่อตู้ลำโพงในแบบ Karlson เป็นตู้ที่ Bill Fisher ได้เล่าเกร็ดเล็กๆให้ฟังว่าเป็นตู้ที่พัฒนาขึ้นมากลางปี 50 สามารถให้เสียงความถี่ต่ำออกมาได้ดีในขณะที่ปริมาตรตู้ไม่ใหญ่โตเกินไปนัก โดยเรื่องราวเกี่ยวกับตู้ Karlson เกิดขึ้นตอนที่เจอเรื่องประหลาดจากแรงสั่นสะเทือนที่ส่งคลื่นความถี่ต่ำมารบกวนเครื่องเล่นแผ่นเสียง พบว่ามันมาจากตู้ Karlson ของร้านซ่อมตู้เพลงที่อยู่ติดๆกันนี้เอง!

ตู้ลำโพง Karlson เป็นตู้แบบ Folded Pipe ไดร์วเวอร์เสียงเบสส์จะดันเสียงเบสส์วิ่งผ่านช่องที่ค่อยๆเรียวลง หรือเตเปอร์ โดยจะเป็นช่องเอียงแบบเอ็กโปเนนเชียลทั้งด้านหน้าสำหรับกระจายเสียง และด้านหลังสำหรับเบสส์รีเฟล็กซ์ เราได้ตู้แบบ Karlson มาหนึ่งคู่โดยจอห์นเป็นผู้สำแดงฝีมือช่างไม้ระดับมืออาชีพในตกแต่งผิวตู้ Karlson ให้ดูสวยงาม ในขณะที่ Jeff สาละวนอยู่กับการจูน, ทดสอบอิมพีแดนซ์ และการตอบสนองความถี่ของการออกแบบแบนด์พาสฟิลเตอร์

ตู้ลำโพง Karlson ที่เราทั้งคู่ได้ทำการปรับปรุงให้เป็น Karlson Enclosure 15″ มีคุณสมบัติดังนี้:
– ติดตั้งกับวูฟเฟอร์ Altec 416 หรือ 515 ที่กรวยมีีเรโซแนนซ์ที่ 25Hz
– เปลี่ยนรีเฟล็กซ์พอร์ตเป็นท่อ PVC ขนาด 30″ 90 องศา สองท่อ
– ตู้ลำโพงจูนให้ลงได้ถึง 30Hz
– ใช้แอคทีพว์แบนด์พาสฟิลเตอร์ ความถี่กลางที่ 30Hz โดยมีจุดคัตออฟ -3db ที่ 19Hz และ 45Hz ความชัน 12db/octave (ต้องการ 12-15 db/octave เพื่อยกระดับสัญญาณเสียงที่ 30Hz ให้ผสานลงตัวกับตู้ A7)
– ด้านในตู้บุพรมอัด

ตู้ลำโพงแบบ Karlson ถูกปรับให้สมดุลย์กับ A7 ทำให้เมื่อใช้งานในการฟังเพลง หรือชมภาพยนตร์สามารถได้ยินเสียงเบสส์ลึกๆได้ ตู้ Karlson ก็เหมือนกับ A7 คือขับง่ายไม่กินวัตต์ ใช้เพียง MC 40 ก็ฟังสบายแล้ว (ผมเองก็เล่นในแบบผสมผสานกันระหว่าง Horn Altec กับตู้เบสส์ Karlson K-15 ครับ)

 

บทส่งท้าย

ประสิทธิภาพได้เป็นผลลัพธ์จากการปรับปรุงให้ลำโพง VOT เล็กๆคู่นี้ให้เล่นในแบบไฮไฟได้อย่างน่าประทับใจ วิธีการที่เราแนะนำนี้สามารถใช้ในการปรับแต่งลำโพงที่ผลิตมานับพันคู่ตั้งแต่ปี 1947 หรือแม้กระทั่งกับระบบลำโพง A7-8G ถ้าคุณคิดว่าลำโพงที่คุณมีอยู่ยังไม่สามารถระเบิดไดนามิคเสียงออกมาเต็มๆ, อิมเมจเสียงทะลุผนังห้อง, เสียงกลางขาดเนื้อหนังมังสา, เสียงร้องมัวๆเพี้ยนๆ, ไม่หวาน, ไม่กระจายมวลเสียงออกมาเต็มเวทีละก็ ลองหาโอกาสฟังลำโพงฮอร์นดีๆสักครา