ตามรอยหลอดจิ๋วจอมพลัง EL84

หลอดเพาเวอร์เพนโทด EL84 เป็นผู้นำทั้งในแอมป์กีตาร์ และเครื่องเสียงไฮไฟคลาสสิคหลายๆรุ่น หลอด EL84 เริ่มจากการพัฒนาซีรีย์หลอดเพนโทดเอาต์พุตสำหรับงานออดิโอ สำหรับใช้งานในภาคขยายไฮไฟกำลังต่ำ เครื่องบันทึกเทป และเครื่องรับวิทยุที่ใช้ไฟ AC สิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมคือสกรีนกริดสามารถรับแรงดันสูงได้ เหมือนเพลท (ที่ 300V) ใช้งานแพร่หลายทั้งวิทยุราคาถูกๆไปจนถึงเครื่องเสียงไฮไฟราคาแพงๆ


EL84 มีต้นกำเนิดจาก Philips BV ใน Eindhoven เป็นโรงงานผลิตที่มีกำลังผลิตสูง มีหน่วยวิจัยและพัฒนาที่มีศักยภาพ หลอดที่พัฒนาจากโรงงานหลอดแห่งนี้สามารถรวบรวมหนังสือได้เป็นเล่ม โดยเราไม่รู้ชื่อเสียงเรียงนามวิศวกรแม้แต่คนเดียว หลอด 9 ขายอดนิยมพัฒนามาจากหลอดแบบ Rimlock ที่ใช้งานกันหลายประเทศที่ Philips สามารถเข้าไปถึง
เรื่องราวต่างๆได้เริ่มต้นขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ท่ามกลางซากปรักหักพังในตอนเหนือของยุโรป ผู้คนจำนวนมากต้องดำเนินชีวิตของตนต่อไป และพวกเขาได้เริ่มต้นซื้อหาวิทยุอีกครา เป็นผลให้มีหลอดถูกพัฒนาขึ้นอย่างมากมายในช่วงปี 1946-1950 มากกว่าทุกช่วงเวลาในประวัติศาสตร์การพัฒนาหลอด
โรงงานผลิตหลอดได้รับทราบถึงการพัฒนาหลอดฐานแก้วรุ่นใหม่จากอเมริกา ถูกพัฒนาขึ้นโดย RCA ในช่่วง 1939-1941 และเป็นจุดเริ่มต้นให้กับหลอดขนาดเล็ก (Miniature Type) ในปี 1947 ก็มีหลอดเพนโืืืทด Z77 จาก MOV ในอังกฤษออกสู่ท้องตลาด เป็นหลอดแบบ B7G ซึ่งเหมือนกับหลอดอเมริกา

ในขณะที่ Mullard, Mazda, Philips (Mullard เป็นเจ้าของ) และ Telefunken ร่วมกันพัฒนาหลอดซีรีย์ Rimlock ออกมา ซึ่งคล้ายกับหลอดเล็ก 9 ขาทั่วไป ต่างกันตรงที่ Rimlock มี 8 ขา บางหลอดจะมีวงแหวนเหล็กที่ฐาน สามารถใช้กับซ็อกเก็ต Rimlock แบบบิดล็อค เป็นหลอดที่ดูคล้ายกับหลอด Locktal ขนาดเล็ก แต่ไม่มีขาเหล็กตรงกลาง หลอดแบบ Rimlock มี Mullard/Philips เป็นแกนหลักในการพัฒนา หลอด UL41 เป็นหลอดเพนโทดเอาต์พุตเบอร์แรกที่ใช้ขาหลอดแบบนี้

หลอด UL41 เป็นกลุ่มหลอดที่ไส้หลอดกินกระแส 100mA ใช้งานในวิทยุไฟ AC-DC และโทรทัศน์ มีคุณสมบัติเหมือนกับ EL41 ยกเว้นแรงดันไส้หลอดแทนที่จะเป็น 6.3V กลับใช้แรงดันสูงถึง 45V หลอด EL41 ถูกพัฒนาต่อมาเป็น EL81 ซึ่งเริ่มใช้ขาหลอดแบบ 9 ขาเหมือนกับหลอดอเมริกา หลอด EL81 มีหน้าที่ต่างออกไปนั่นคือมันถูกใช้เป็นหลอดในภาคกวาดภาพแนวนอน (Horizontal-sweep) ของโทรทัศน์ เป็นหลอดที่มีเพลทแคป และค่าทรานคอนดัคแตนซ์ต่ำกว่า UL/EL41

จาก EL81 พัฒนาต่อมาเป็น EL82 เป็นหลอดที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับเป็นหลอดเอาต์พุตสำหรับงานออดิโอ จาก EL82 พัฒนาต่อมาเป็น EL83 ที่เกือบเหมือนกัน แต่เพิ่มส่วนการชีลด์ภายใน เพื่อใช้งานในการขยายสัญญานวิดีโอ และเนื่องจาก EL82 เริ่มเป็นที่ต้องการในช่วง 1952 แต่หลอดเอาต์พุตควรมีสกรีนกริดที่สามารถต่อใช้งานเป็น หรือต่อเป็นอัลตร้าลิเนอร์ในแบบ Hafler-Keroes หลอดส่วนใหญ่ยังมีแรงดันสกรีนกริดสูงสุดอยู่ที่ 250V อยู่ ในช่วงนั้น Philips มีหลอดเพนโทดที่สกรีนกริดทนแรงดันได้สูงเท่ากับแรงดันเพลทอยู่แล้วเบอร์ หนึ่งนั่นก็คือ BA9 ที่พัฒนาในช่วงปี 1950 และแรงกระตุ้นจา่กความต้องการหลอดไฮไฟ ทำให้ Philips พัฒนาหลอด EL84 ออกมาอย่างเป็นทางการ (ส่วนหลอด EL86 ที่ออกมาภายหลังจะเหมือนกับ EL82 แต่มีเพลททนกำลังได้มากกว่า แน่นอนว่า EL86 ก็ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้งานในโหมดอัลตร้าลิเนียร์เพราะแรงดันกรีนกริดต่ำนั่น เอง)

เชื่อกันว่าหลอด EL84 ปรากฏขึ้นครั้งแรกในหนังสือข้อมูลหลอดของ Philips ในปี 1953 เป็นการจุดประกายใหม่ของแอมป์หลอดไฮไฟขนาดเล็ก ราคาไม่สูง สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้ ช่วงปี 1955 ทาง Mazda ได้พัฒนา 6P12 ที่เหมือนกับ EL84 ในช่วงนั้นแอมป์ของอเมริกาที่มีกำลังขับราวๆ 10 วัตต์มักจะใช้หลอดบีมเพาเวอร์ 6V6 ซึ่งมีค่าทรานสคอนดัคแตนซ์ต่ำ ต้องมีภาคไดร์วเวอร์เพิ่มอีกหนึ่งภาค ทำให้ EL84 บดขยี้หลอด 6V6 ออกจากตลาดภายในระยะเวลาเพียงสองปีั ด้วยข้อเด่นในเรื่องขนาดที่เล็กกว่า 6V6 ใช้ซ็อกเก็ตที่เล็กกว่าถูกกว่า และมีค่าทรานสคอนดัคแตนซ์สูงกว่า แอมป์หลอดพุชพูลที่ใช้หลอด EL84 ก็จะมีวงจรที่ง่ายกว่า นั่นคือมีัเพียงภาคขยายแรงดันเป็นหลอดเพนโทด แยกเฟสด้วยไตรโอดอีกชุดก็เพียงพอแล้ว ทำให้วงจรไดร์วหลอด EL84 แบบนี้กลายเป็นมาตรฐานไปอย่างรวดเร็ว อย่างวงจรที่ใช้หลอด 7199 หรือหลอดไตรโอด-เพนโทดอื่นๆหลอดเดียวไดร์วหลอด EL84 สองหลอดแบบพุชพูล เข้าหม้อแปลงเอา่ตพุต 8000 โอห์ม ไบอัสคาโธดด้วยตัวต้านทาน 130 โอห์ม ก็ให้กำลังขับที่ 11W ได้สบายๆ

การประยุกต์ใช้หลอด EL84 ในอังกฤษมักจะเป็นวงจร หรือชุดคิตเช่น GEC 912 (ปี 1952) และ Mullard 5-10 ที่ถูกใช้ในแอมป์ไฮไฟ และวิทยุมากมาก เช่น แอมป์หลอดพุชพูลของ Redford. Leak ใช้หลอด EL84 ในรุ่น TL12+ ที่ออกมาช่วงกลางปี 50 แอมป์ของอเมริกาที่ใช้หลอด EL84 เป็นเครื่องแรกคาดว่าน่าจะเป็น Fisher CA-40 ในปี 1955 ใช้หลอด EL84 จำนวนสี่หลอด กำลังขับ 40W เป็นอินทีเกรทแอมป์หลอดโมโน ที่ออกแบบมาสวยดูดีมาก และใช้งานได้ง่าย เป็นแอมป์หลอดหนึ่งเดียวที่มีรูปแบบการแสดงผลการปรับโทนคอนโทรล โดยแสดงผลเป็นเส้นกราฟเส้นสีเขียวบนพลาสติคอ่อน เมื่อปรับลูกบิดทุ้มแหลม รูปกราฟก็จะเปลี่ยนแปลงตาม

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

จำนวนเครื่องไฮไฟที่ใช้หลอด EL84 ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในช่วงปี 1955-1965 รวมถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Dynaco ST-35 และ SCA-35, EICO HF81, Fisher SA-100 และ X-202A, Scott ซีรีย์ 222 299A และ 299B, แอมป์หลายๆรุ่นของ Bogen, Eico, Fisher, Heathkit, Pilot, Sherwood, Lafayette และอีกมากมายนับกันไม่หวาดไม่ไหว ส่วนมากจะเป็นอินทีเกรทแอมป์มีทั้งโมโน และสเตอริโอ กำลังขับตั้งแต่ 8 – 25 วัตต์ ส่วนมากจะใช้ EL84 สองหลอด

เนื่องจากทิศทางตลาดของแอมป์ในอเมริกาเริ่มขยับไปทางหลอด EL84 โรงงานผลิตหลอดใหญ่ๆอย่าง Sylvania ก็ได้พัฒนาหลอด EL84 เวอร์ชันอเมริกาขึ้นมาใหม่ในปี 1956 นั่นก็คือ 6BQ5 โรงงานผลิตหลอดในอเมริการหลายโรงก็ผลิตหลอด 6BQ5 ของตนออกมา หรือบางโรงก็นำเข้าหลอด EL84 จากยุโรปมารีแบรนด์เป็นของตน ซึ่งส่วนมากจะเป็นหลอดที่พัฒนาขึ้นมาจากหลอด UL41 แต่มี 9 ขา และอิงตามมาตรฐาน EIA

อัตรากำลังมีนัยทางธุรกิจของอุปกรณ์ออดิโอมากในช่วงหลังปี 1950 นักออกแบบแอมป์ต้องการหลอดที่ให้กำลังสูงขึ้น และราคาถูก จากหลอดแบบเดียวกันทำให้เกิดความสับสนขึ้นกับตลาดหลอด EL84 ได้พอสมควร เนื่องจากความต้องการนี้ส่งผลให้ RCA และ GE พัฒนาหลอด 7189 ขึ้นมาในปี 1958 แทนที่จะเป็นเพนโทดเหมือต้นแบบ 6BQ5 กลับสร้างหลอดบีมเตตโทรดขึ้นมาแทน ซึ่งหลอด 7189 สามารถใช้งานแทน 6BQ5/EL84 ได้โดยตรง แต่มีอัตรากำลัง และทนแรงดันได้สูงกว่า ตามมาด้วยการพัฒนาหลอด 7189A ในปี 1960 ที่ทนแรงดันได้สูงถึง 440V ดังนั้นแอมป์ที่ช่วงหลังที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้หลอดเบอร์นี้อย่า Scott 299B ก็ใช้แรงดันสูงมาก ทำให้ไม่เหมาะที่จะเอาหลอด EL84 ดีๆไปเสี่ยงใช้งานแทน 7189 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ได้เกิดหลอดพรีเมียมอย่าง E84L ออกแบบมาสำหรับระบบสื่อสาร โดยรู้จักกันในอเมริกาว่าเบอร์ 7320

เนื่องจากหลอดบีมเพาเวอร์จะเกิดความร้อนที่สกรีนกริดน้อยกว่าเพนโทด บางโรงงานจึงนำเอามาตีเลเบลใหม่เป็นเบอร์ 6BQ5 หรือ EL84 ทำให้เราจะพบหลอด EL84 ที่เป็นหลอดบีมเตตโทรดจากหลอด NOS ได้บ่อยๆ ซึ่งสังเกตุได้ยากมาก เพราะหลอด EL84 ส่วนมากจะสร้างให้เพลทเรียบไม่มีรูให้ส่องดูโครงสร้างภายในได้ อย่างหลอด GE ที่ได้รับความนิยมมากในปี 1973 ยังตีพิมพ์ในคู่มือหลอดไว้เลยว่าหลอด 6BQ5 เป็นหลอดบีมเพาเวอร์ และ 7189/A เป็นบีมเพนโทด ด้วยเหตุนี้เองทำให้ยากแก่การจำแนกหลอด EL84 NOS ค่อนข้างมาก
หลอด EL84 ที่ผลิตใหม่ในปัจจุบัน ได้้แก่ Shuguang EL84 ยังไม่ทนทาน และมีเสถียรภาพมากนัก, หลอดรัสเซียจาก Reflector Saratov, หลอดสโลวาเกียจาก Teslovak (JJ), หลอดเซอร์เบียจาก Ei (หยุดผลิตไปแล้ว) และหลอดที่คล้ายกับ EL84 ของ Svetlana นั่นคือ SV83 ที่คล้ายกับหลอด EL82 หรือ EL83 มากกว่า
การประยุกต์ใช้หลอด EL84 ในยุคหลังกลับมีไม่มากนัก พบในแอมป์ไฮเอ็นด์น้อยมาก หรือแอมป์กีตาร์อย่าง Tigris ของ Mesa Engineering เรียกว่าแอมป์ไฮไฟแทบจะไม่พบเห็นว่าใช้ EL84 แต่กลับจะไปพบในแอมป์กีตาร์มากกว่